เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"
ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้
คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว
ปรับปรุงล่าสุด 29/08/2567
รูปแบบที่มีให้ Word และ PDF
ขนาด 14 ถึง 22 หน้า
ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ
คะแนน 4.7 - 112 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์มสัญญาจ้างแรงงาน (Employment Agreement) หรือสัญญาจ้างพนักงาน คือ สัญญาที่ลูกจ้างตกลงทำงานให้กับนายจ้างและอยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของนายจ้าง และนายจ้างตกลงจะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนการที่ลูกจ้างทำงานนั้น
โดยที่ สัญญาจ้างแรงงานจะกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (เช่น ลักษณะการจ้างงาน ตำแหน่งงาน วันและเวลาทำงาน อัตราค่าจ้าง) ซึ่งลูกจ้างจะปฏิบัติงาน/ทำงานประจำที่สถานประกอบกิจการของนายจ้าง
สัญญาจ้างแรงงานอาจแบ่งประเภทตามลักษณะการจ้าง/รูปแบบการจ้างงานระหว่างนายจ้างและพนักงาน/ลูกจ้างได้ ดังต่อไปนี้
โดยผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาจ้างแรงงานฉบับนี้ในกรณีที่ลูกจ้างปฏิบัติงาน/ทำงานในลักษณะพนักงานประจำ (Permanent) หรือลักษณะพนักงานชั่วคราว (Temporary/Contracted) และลูกจ้างปฏิบัติงาน/ทำงานประจำที่สถานประกอบกิจการของนายจ้าง (เช่น สำนักงาน โรงงานของนายจ้าง) เท่านั้น
ในกรณีที่ลูกจ้างปฏิบัติงาน/ทำงานในลักษณะของพนักงานทำงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time) ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาจ้างพนักงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time) และในกรณีที่ลูกจ้างปฏิบัติงาน/ทำงานจากที่บ้านของลูกจ้าง หรือ ณ ที่อยู่อาศัยของลูกจ้าง ไม่ว่าการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ทั้งหมด หรือการสลับสับเปลี่ยนระหว่างการทำงานที่บ้านและสถานประกอบกิจการของนายจ้าง (เช่น สำนักงาน โรงงานของนายจ้าง) ตามวันและเวลาทำงานที่กำหนด (Hybrid) ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาจ้างแรงงานโดยการทำงานที่บ้าน (Work from Home)
การจ้างแรงงานตามสัญญาจ้างแรงงานในบางกรณีอาจมีความคล้ายคลึงกับการจ้างทำของ (เช่น สัญญาบริการทั่วไป สัญญาจ้างผลิต/ออกแบบสินค้า สัญญาว่าจ้างบริหารจัดการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน สัญญาจ้างพนักงานอิสระ/Freelance) คู่สัญญาอาจพิจารณาว่าในการจ้างแรงงานตามสัญญาจ้างแรงงานฉบับนี้มีความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเป็นการจ้างทำงานในลักษณะใด โดยอาจพิจารณาได้จากข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้
ผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ
ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้จำเป็นต้องทำสัญญาจ้างแรงงาน ข้อตกลงการจ้างแรงงานระหว่างคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ด้วยวาจาย่อมมีความสมบูรณ์ตามกฎหมาย
อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามในสัญญาทั้ง 2 ฝ่าย เนื่องจากการจัดทำสัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างคู่สัญญาที่ชัดเจนและครบถ้วน (เช่น ลักษณะการจ้าง ตำแหน่งงาน หน้าที่/ความรับผิดชอบ วันและเวลาทำงาน ค่าตอบแทน) ย่อมประเป็นประโยชน์แก่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย และจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดข้อโต้แย้ง/ข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาในอนาคต
เนื่องจากสัญญาจ้างแรงงานตกอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานที่มีหลักสำคัญอยู่ที่การคุ้มครองพนักงาน/ลูกจ้างซึ่งคู่สัญญาไม่สามารถตกลงให้แตกต่าง หรือยกเว้นข้อกฎหมายดังกล่าวอันทำให้พนักงาน/ลูกจ้างได้รับประโยชน์น้อยไปกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้
คู่สัญญาจึงไม่ควรระบุ/กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างที่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน โดยเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างที่ทำให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์น้อยไปกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น
คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการใดๆ ก่อนตามกฎหมายในการจัดทำสัญญาจ้างแรงงาน
อย่างไรก็ดี ก่อนการจัดทำสัญญาจ้างแรงงาน คู่สัญญาอาจมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาจ้างแรงงาน ได้แก่
ผู้เยาว์/เด็กอายุต่ำกว่า 15 (สิบห้า) ปี ไม่สามารถเข้าทำสัญญาจ้างแรงงานในฐานะลูกจ้างได้ เนื่องจากกฎหมายคุ้มครองแรงงงาน ห้ามนายจ้างว่าจ้างผู้เยาว์/เด็กอายุต่ำกว่า 15 (สิบห้า) ปี เป็นลูกจ้างหรือให้ทำงานให้กับตนเพื่อค่าตอบแทน หากนายจ้างฝ่าฝืน นายจ้างอาจมีโทษทางอาญา (เช่น ปรับ จำคุก)
ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้เยาว์/เด็ก (เช่น ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองให้ผู้เยาว์/เด็กกระทำการต่างๆ (เช่น การเข้าทำงานกับนายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือการเข้าทำนิติกรรมต่างๆ) ผู้ปกครองอาจจัดทำหนังสือยินยอมให้เด็กทำงานเพื่อแสดงความยินยอมให้ผู้เยาว์/เด็กนั้นทำงานกับนายจ้าง
นายจ้างย่อมสามารถกำหนดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงานได้ตามความต้องการการใช้แรงงานของนายจ้างและตามความยินยอมของลูกจ้าง เช่น
อย่างไรก็ดี นายจ้างอาจมีข้อพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน ดังต่อไปนี้
ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา ทำได้หรือไม่ และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้าง
คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย
เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาจ้างแรงงานเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้
คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจ้างแรงงานตามที่คู่สัญญาเห็นสมควร (ถ้ามี) เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันระหว่างคู่สัญญา เช่น
คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำสัญญาจ้างแรงงาน
อย่างไรก็ดี เมื่อนายจ้างรับพนักงาน/ลูกจ้างเข้าทำงาน นายจ้างอาจมีหน้าที่ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างและแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน/ลูกจ้างต่อสำนักงานประกันสังคมภายในระยะเวลาที่กำหนด และหน้าที่นำส่งเงินสมทบทั้งส่วนของนายจ้างและส่วนของลูกจ้างให้แก่สำนักงานประกันสังคมประจำทุกเดือน
ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาจ้างแรงงานจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย
อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาจ้างแรงงานตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาจ้างแรงงาน (เช่น คู่สัญญา)
เมื่อนายจ้างรับพนักงาน/ลูกจ้างเข้าทำงาน นายจ้างอาจมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาจ้างแรงงาน เช่น
ระยะเวลาทดลองงาน (Probation) คือ ช่วงระยะเวลาที่นายจ้างกำหนดใช้บังคับกับลูกจ้างที่เข้ามาทำงานใหม่กับนายจ้าง เพื่อเป็นช่วงเวลาที่นายจ้างประเมินการทำงานของลูกจ้างว่ามีความเหมาะสมกับตำแหน่งดังกล่าว หรือไม่ และมีการทำงาน/ปฏิบัติงานอย่างไร โดยภายในระยะเวลาดังกล่าวนายจ้างอาจเปลี่ยนแปลงหน้าที่งาน ตำแหน่งงาน หรือความรับผิดชอบของลูกจ้างได้ รวมถึงนายจ้างอาจเลิกจ้างลูกจ้างได้หากพิจารณาแล้วว่าลูกจ้างไม่มีความรู้ ความสามารถที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานดังกล่าว
โดยนายจ้างอาจกำหนดระยะเวลาการทดลองงานตามความเหมาะสม อย่างไรก็ดี ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่มีอายุงานตั้งแต่ 120 วัน นายจ้างอาจมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดหากการเลิกจ้างนั้นไม่เข้าข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยอื่นๆ ตามกฎหมาย (เช่น ข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยกรณีลูกจ้างกระทำความผิดร้ายแรง ข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยกรณีการจ้างงานเฉพาะคราว)
พนักงาน/ลูกจ้างอาจมีโอกาสได้เข้าถึง ได้รับทราบถึง ข้อมูลทางธุรกิจ หรือข้อมูลส่วนสำคัญต่างๆ ของนายจ้าง ในระหว่างที่พนักงาน/ลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้าง ซึ่งหากมีการนำข้อมูลดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ หรือมีการเปิดเผยต่อคู่แข่งทางธุรกิจอาจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือเสียเปรียบทางธุรกิจได้ สัญญาจ้างแรงงานฉบับนี้จึงประกอบด้วยข้อตกลงการเก็บรักษาความลับซึ่งห้ามลูกจ้างเปิดเผยข้อมูลความลับของนายจ้างโดยทั่วไปอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี ในกรณีที่นายจ้างให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาความลับอย่างยิ่ง คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดทำสัญญาเก็บรักษาความลับแยกต่างหากอีกฉบับเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ รายละเอียด และบทลงโทษเกี่ยวกับการเก็บรักษาความลับโดยเฉพาะด้วยก็ได้
พนักงาน/ลูกจ้างที่มีสัญชาติไทย/เป็นคนไทยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
อย่างไรก็ดี ในกรณีที่พนักงาน/ลูกจ้างเป็นคนต่างด้าว (เช่น ลูกจ้างไม่มีสัญชาติไทย/เป็นชาวต่างชาติ) ในกรณีเช่นนี้ ลูกจ้างจำเป็นจะต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) จึงจะสามารถทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย และในกรณีที่นายจ้างรับพนักงาน/ลูกจ้างที่เป็นคนต่างด้าวเข้าทำงาน โดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน นายจ้างและลูกจ้างอาจมีความผิดและโทษทางอาญา
คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาจ้างแรงงาน ดังต่อไปนี้
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาจ้างแรงงานมี ดังต่อไปนี้
คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ
ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร
คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป
ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้
คู่มือต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คุณ
สัญญาจ้างแรงงาน - ตัวอย่างแบบฟอร์ม - Word และ PDF
ประเทศ: ประเทศไทย