เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"
ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้
คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว
ปรับปรุงล่าสุด 06/09/2567
รูปแบบที่มีให้ Word และ PDF
ขนาด 22 ถึง 34 หน้า
ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ
กรอกแบบฟอร์มสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน หรือสัญญาว่าจ้างผลิตและตัดต่อวิดีโอ/รายการ (Production Agreement) คือ สัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ว่าจ้างผลิตและผู้รับจ้างผลิต โดยที่ผู้ว่าจ้างผลิตว่าจ้างให้ผู้รับจ้างผลิตสร้างสรรค์และผลิตสื่อ/ผลงานต่างๆ ตามขอบเขตที่ผู้ว่าจ้างผลิตกำหนด โดยที่ผู้ว่าจ้างผลิตตกลงจะชำระค่าจ้างเพื่อตอบแทนการผลิตนั้น
โดยที่ สื่อ/ผลงานที่ว่าจ้างผลิต เช่น
สัญญาบริการหรือสัญญาจ้างทำของอาจแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการได้ ดังต่อไปนี้
(1) สัญญาบริการหรือสัญญาจ้างทำของที่มีวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการทั่วไปซึ่งถูกร่างขึ้นและมีข้อสัญญาสำหรับการว่าจ้าง/ใช้บริการในเรื่องทั่วไป (เช่น สัญญาบริการทั่วไป)
(2) สัญญาบริการหรือสัญญาจ้างทำของที่มีวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการเฉพาะในแต่ละเรื่องซึ่งถูกร่างขึ้นและมีข้อสัญญาสำหรับการว่าจ้าง/ใช้บริการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง เช่น
ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้คู่สัญญาต้องจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานเป็นลายลักษณ์อักษร
อย่างไรก็ดี ในการดำเนินการผลิตสื่อ/ผลงานย่อมมีรายละเอียดและข้อตกลงสำคัญที่คู่สัญญาอาจจำเป็นต้องกำหนดและตกลงร่วมกัน (เช่น ขอบเขตการผลิตและสร้างสรรค์ ค่าตอบแทน ระยะเวลาการว่าจ้าง กำหนดการส่งมอบงาน ทรัพย์สินทางปัญญาในผลงานที่ผลิตขึ้นมาใหม่) เพื่อรักษาผลประโยชน์และความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย และเพื่อให้การผลิตสื่อ/ผลงานดำเนินไปตามความประสงค์ของคู่สัญญา คู่สัญญาจึงควรจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามโดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย
คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน ดังต่อไปนี้
ในการนำออกเผยแพร่หรือจำหน่ายสื่อ/ผลงานบางประเภท (เช่น ภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา ละคร/ซีรีส์) อาจจำเป็นต้องผ่านการตรวจพิจารณา กำหนดประเภทภาพยนต์/วิดิทัศน์ (Content Rating) และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ หรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามกฎหมาย แล้วแต่กรณี คู่สัญญาอาจมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหา (Content) ของสื่อ/ผลงานที่ว่าจ้างผลิต นอกเหนือจากเนื้อหาตามความต้องการของฝ่ายผู้ว่าจ้างผลิต (เช่น เจ้าของรายการ ผู้สร้างหนัง/ละคร) และ/หรือผู้กำกับ โดยสื่อ/ผลงานที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจถูกให้แก้ไข/ตัดทอน (Censored) หรืออาจไม่ได้รับอนุญาตเผยแพร่ (Banned)
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน ได้แก่
คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานเป็นลายลักษณ์อักษรและให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยาน (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาดังกล่าวให้เรียบร้อย
เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้
คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน (ถ้ามี) เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญา เช่น
ไม่จำเป็น คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน
อย่างไรก็ดี ในการนำออกเผยแพร่หรือจำหน่ายสื่อ/ผลงานบางประเภท (เช่น ภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา ละคร/ซีรีส์) อาจจำเป็นต้องผ่านการตรวจพิจารณา กำหนดประเภทภาพยนต์/วิดิทัศน์ (Content Rating) และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ หรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามกฎหมาย แล้วแต่กรณี คู่สัญญาอาจมีข้อพิจารณาเกี่ยวกับเนื้อหาของสื่อที่จะผลิตและเผยแพร่ และคู่สัญญาควรตกลงกันให้ชัดเจนไว้ในสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานว่าเป็นหน้าที่ของคู่สัญญาฝ่ายใดในการดำเนินการดังกล่าว
ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย
อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน (เช่น คู่สัญญา)
คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน ดังต่อไปนี้
ผู้ว่าจ้างผลิต (เช่น เจ้าของรายการ ผู้สร้างหนัง/ละคร) อาจเลือกใช้การจ้างผลิตสื่อ/ผลงานแทนการดำเนินการผลิตสื่อ/ผลงานด้วยตนเอง เนื่องจากในบางกรณี ผู้ว่าจ้างผลิตอาจยังขาดความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และชื่อเสียงในการผลิตสื่อ/ผลงานนั้นเองทำให้ต้องจ้างผู้รับจ้างผลิตที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในการผลิตสื่อ/ผลงานนั้น รวมถึงผู้รับจ้างผลิตมักมีเครื่องมือ อุปกรณ์ บุคลากร และสถานที่ใช้ที่เหมาะสมสำหรับการผลิตสื่อ/ผลงานนั้นโดยเฉพาะ (เช่น ทีมงานผู้ผลิต ผู้ประพันธ์ ผู้กำกับ เครื่องมืออุปกรณ์บันทึกภาพ/เสียงและตัดต่อ โรงถ่าย/ห้องอัด/Studio)
สื่อ/ผลงานที่ผลิตและสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อาจถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์/ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น
โดยทั่วไป กฎหมายกำหนดให้ผู้ว่าจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในสื่อ/ผลงาน ในกรณีการจ้างทำของหรือจ้างบริการ อย่างไรก็ดี คู่สัญญาย่อมสามารถตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ตามความต้องการของคู่สัญญา โดยกำหนดเป็นข้อตกลงไว้ในสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานมี ดังต่อไปนี้
คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ
ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร
คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป
ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้
สัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน - ตัวอย่างแบบฟอร์ม
ประเทศ: ประเทศไทย