สัญญาบริการ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาบริการ

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 04/10/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด13 ถึง 19 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 04/10/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 13 ถึง 19 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาบริการคืออะไร

สัญญาบริการ หรือสัญญาให้บริการ (Service Agreement) คือ สัญญาจ้างทำของชนิดหนึ่งที่ผู้ว่าจ้าง/ผู้รับบริการตกลงจะให้ค่าตอบแทนแก่ผู้รับจ้าง/ผู้ให้บริการ เพื่อตอบแทนงานที่ผู้รับจ้างได้ทำหรือผู้ให้บริการได้ให้บริการแก่ผู้ว่าจ้างหรือผู้รับบริการ โดยมีความมุ่งหวังที่ผลสำเร็จของงาน/การให้บริการเป็นสำคัญ

สัญญาบริการมีลักษณะใดบ้าง

สัญญาบริการอาจแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการได้ ดังต่อไปนี้

(1) สัญญาบริการทั่วไป ซึ่งเป็นสัญญาบริการที่มีวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการทั่วไปซึ่งถูกร่างขึ้นและมีข้อสัญญาสำหรับการว่าจ้าง/ใช้บริการในเรื่องทั่วไป เช่น สัญญาบริการฉบับนี้
(2) สัญญาบริการเฉพาะ ซึ่งเป็นสัญญาบริการที่มีวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการเฉพาะในแต่ละเรื่องซึ่งถูกร่างขึ้นและมีข้อสัญญาสำหรับการว่าจ้าง/ใช้บริการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง (เช่น สัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ สัญญาให้บริการพื้นที่จอดรถ/Car Park)

ควรเลือกใช้สัญญาบริการลักษณะใด

คู่สัญญาอาจเลือกใช้งานสัญญาบริการซึ่งถูกร่างขึ้นและมีข้อสัญญาสำหรับการว่าจ้าง/ใช้บริการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งสอดคล้องกับการว่าจ้าง/ใช้บริการระหว่างคู่สัญญา อย่างไรก็ดี หากไม่ปรากฏสัญญาบริการเฉพาะเรื่องดังกล่าว คู่สัญญาอาจเลือกใช้สัญญาบริการทั่วไปซึ่งมีข้อสัญญาสำหรับการว่าจ้าง/ใช้บริการที่ครอบคลุมในเรื่องทั่วไปโดยที่ไม่กำหนดเฉพาะเจาะจงเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

สัญญาบริการและสัญญาจ้างแรงงาน แตกต่างกัน อย่างไร

การจ้างทำของ (เช่น สัญญาบริการ) ในบางกรณีอาจมีความคล้ายคลึงกับการจ้างแรงงาน (เช่น สัญญาจ้างแรงงาน) คู่สัญญาอาจพิจารณาว่าในการว่าจ้าง/ใช้บริการตามสัญญาบริการฉบับนี้ คู่สัญญามีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างและผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างเป็นการจ้างทำงานในลักษณะใด โดยอาจพิจารณาได้จากข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • การมุ่งเน้นผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ การจ้างทำของจะมีความมุ่งหวังที่ผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ เช่น ผู้รับจ้างจะมีอิสระในการดำเนินงานที่จ้างให้สำเร็จลุล่วงตามลักษณะ แบบ คุณสมบัติ และมาตรฐานที่ผู้รับบริการกำหนด
  • อำนาจบังคับบัญชาของนายจ้าง ในการจ้างแรงงานนายจ้างจะมีอำนาจการบังคับบัญชาเด็ดขาดเหนือลูกจ้าง เช่น การมอบหมายงานอย่างอื่นให้ลูกจ้าง เปลี่ยนแปลงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของลูกจ้างได้ มีอำนาจตักเตือนลงโทษทางวินัย การกำหนดให้ลูกจ้างเข้าทำงานตามวันเวลาที่นายจ้างกำหนด
  • ประเภทบุคคลของลูกจ้าง ในการจ้างแรงงาน ลูกจ้างจะต้องเป็นบุคคลธรรมดา เท่านั้น ในขณะที่ในการจ้างทำของผู้รับจ้างอาจเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน) ก็ได้

ผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ


จำเป็นต้องทำสัญญาบริการ หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้คู่สัญญาต้องจัดทำสัญญาบริการเป็นลายลักษณ์อักษร

อย่างไรก็ดี ในการให้บริการย่อมมีรายละเอียดและข้อตกลงสำคัญที่คู่สัญญาอาจจำเป็นต้องกำหนดและตกลงร่วมกัน (เช่น ขอบเขตการให้บริการ มาตรฐานการให้บริการ ค่าตอบแทน ระยะเวลาการให้บริการ กำหนดการส่งมอบงาน การรับประกันผลงาน) เพื่อรักษาผลประโยชน์และความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย และเพื่อให้การให้บริการดำเนินไปตามความประสงค์ของคู่สัญญา คู่สัญญาจึงควรจัดทำสัญญาบริการเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาบริการ

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาบริการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • ขอบเขตการให้บริการ เช่น งานที่ให้บริการ สัมภาระ วัตถุดิบ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการให้บริการ มาตรฐานการให้บริการ สถานที่ให้บริการ บุคลากรที่ให้บริการ
  • ค่าตอบแทน เช่น อัตราค่าบริการ เงื่อนไข ระยะเวลา และวิธีการชำระค่าบริการ
  • ระยะเวลา เช่น ระยะเวลาการให้บริการ กำหนดการส่งมอบ/รับมอบงานแต่ละส่วน
  • ข้อตกลงอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น การรับประกันผลงาน การจ้างงานช่วง (Subcontract) ความรับผิดและข้อจำกัดความรับผิดความชำรุดบกพร่องของผลงาน ค่าปรับกรณีส่งมอบงานล่าช้า ค่าปรับกรณีชำระค่าบริการล่าช้า การจัดทำประกันภัย การเก็บรักษาความลับ

สัญญาบริการเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาบริการ ได้แก่

  • ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้าง (เช่น ผู้ที่รับจ้างทำงาน/ให้บริการ) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ให้บริการ (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ให้บริการมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการ (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายขาย) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาบริการและผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้าง
  • ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้าง (เช่น ผู้ที่ว่าจ้างให้ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างทำงานและให้บริการให้แก่ตน) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้รับบริการ (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้รับบริการมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา/จัดจ้างบริการ (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาบริการและผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้าง

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาบริการแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาบริการเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาบริการเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาบริการฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาบริการ (ถ้ามี)
  • คู่สัญญานำสัญญาบริการที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากสัญญาบริการและคู่ฉบับเป็นสัญญาจ้างทำของที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาบริการด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาบริการ (ถ้ามี) เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญา เช่น

  • ขอบเขตการให้บริการ (เช่น ตารางแบบ ประเภท ขั้นตอนการให้บริการ รายชื่อบุคลากร รายการสัมภาระ วัตถุดิบ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการให้บริการ)
  • เอกสารเกี่ยวกับค่าบริการ (เช่น ตารางอัตราและกำหนดการชำระค่าบริการ ใบเสนอราคา)
  • เอกสารเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการ (เช่น คู่มือการปฏิบัติงาน ข้อกำหนดการควบคุมคุณภาพ ดัชนีชี้วัดการให้บริการ)

สัญญาบริการจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

ไม่จำเป็น คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำสัญญาบริการ

สัญญาบริการจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาบริการจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาบริการตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาบริการ (เช่น คู่สัญญา)

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาบริการ

คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจัดทำสัญญาบริการ ดังต่อไปนี้

  • อากรแสตมป์ เนื่องจากสัญญาบริการและคู่ฉบับเป็นสัญญาจ้างทำของที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์ คู่สัญญาจึงมีหน้าที่นำสัญญาที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ในกรณีที่ไม่ชำระอากร ศาลจะไม่รับฟังสัญญาที่ไม่ได้ชำระอากรโดยสมบูรณ์เป็นพยานหลักฐาน อีกทั้ง ยังมีค่าปรับการไม่ชำระอากรแสตมป์ และอาจมีโทษทางอาญาอีกด้วย
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างอาจมีหน้าที่ต้องยื่นแบบและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนให้แก่กรมสรรพากรตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่ ในกรณีที่ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (เช่น ผู้ให้บริการเป็นกิจการขนาดย่อมที่มีฐานภาษีไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี บริการที่อยู่ภายใต้ภาษีธุรกิจเฉพาะ บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล บริการการศึกษาของสถานศึกษา บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์)

ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างสามารถห้ามไม่ให้ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างนำงานตามสัญญาบริการไปว่าจ้างช่วงต่อได้ หรือไม่

ในกรณีที่ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างถือตัวผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างเป็นสาระสำคัญของการให้บริการ (เช่น ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างตกลงว่าจ้างผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างเพราะว่าผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างมีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ มีทักษะและชื่อเสียงในการให้บริการดังกล่าวโดยเฉพาะ) ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างสามารถกำหนดห้ามไม่ให้ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างนำงานตามสัญญาบริการไปว่าจ้างช่วงต่อให้บุคคลอื่นทำ (Subcontract) ได้ โดยกำหนดเป็นข้อตกลงไว้ในสัญญาบริการ

ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างทำอย่างไรได้บ้างเมื่อผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างส่งมอบงาน/บริการล่าช้า

ในกรณีที่ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างส่งมอบงาน/บริการล่าช้า ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างอาจมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • ในกรณีที่กำหนดระยะเวลาการส่งมอบบริการไม่ใช่สาระสำคัญ (เช่น การส่งมอบงานล่าช้าเล็กน้อยและผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างยังต้องการรับมอบบริการนั้นอยู่) ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างอาจรับมอบงาน/บริการนั้นไว้ และอาจเรียกร้องความเสียหายจากความล่าช้า (ถ้ามี) ในขณะที่รับมอบงาน/บริการที่ล่าช้านั้น โดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรหรือบันทึกไว้ในเอกสารรับมอบบริการ ทั้งนี้ เนื่องจากหากผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างรับมอบบริการที่ล่าช้านั้นโดยไม่อิดเอื้อน ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างอาจไม่มีสิทธิเรียกร้องความเสียหายนั้นในภายหลัง
  • ในกรณีที่กำหนดระยะเวลาการส่งมอบบริการเป็นสาระสำคัญ (เช่น การจ้างบริการช่างภาพมาถ่ายรูปงานแต่งงานแต่ช่างภาพมาช้าถ่ายไม่ทันงานแต่ง การรับมอบบริการย่อมไม่เกิดประโยชน์ใดๆ แก่ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้าง) ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างย่อมสามารถอาจบอกเลิกสัญญาบริการได้ และอาจเรียกร้องความเสียหายจากการผิดสัญญานั้น (ถ้ามี)

ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากการให้บริการตามสัญญาบริการจะตกเป็นของใคร

ในบางกรณีผลสำเร็จของการให้บริการอาจถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์/ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น

  • การให้บริการออกแบบบ้าน ผลสำเร็จของงาน คือ แบบบ้าน (Plan) และภาพจำลอง 3 มิติ ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
  • การให้บริการแต่งและผลิตผลงานเพลง ผลสำเร็จของงาน คือ เพลงที่แต่งและผลิตขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

โดยทั่วไป กฎหมายกำหนดให้ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้นในกรณีการจ้างทำของหรือจ้างบริการ อย่างไรก็ดี คู่สัญญาย่อมสามารถตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ตามความต้องการของคู่สัญญา โดยกำหนดเป็นข้อตกลงไว้ในสัญญาบริการ

ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างจำเป็นต้องให้ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างทำสัญญาเก็บรักษาความลับด้วย หรือไม่

ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างอาจมีโอกาสได้เข้าถึง ได้รับทราบถึงข้อมูลทางธุรกิจ หรือข้อมูลสำคัญต่างๆ ของผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างในระหว่างการให้บริการตามสัญญาบริการ (เช่น สูตรอาหาร รายชื่อลูกค้า) ซึ่งหากมีการนำข้อมูลดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ หรือมีการเปิดเผยต่อคู่แข่งทางธุรกิจอาจทำให้ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างได้รับความเสียหายหรือเสียเปรียบทางธุรกิจได้ สัญญาบริการฉบับนี้จึงประกอบด้วยข้อตกลงการเก็บรักษาความลับซึ่งห้ามผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างเปิดเผยข้อมูลความลับของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งโดยทั่วไปอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาความลับอย่างยิ่ง คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดทำสัญญาเก็บรักษาความลับแยกต่างหากอีกฉบับเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ รายละเอียด และบทลงโทษเกี่ยวกับการเก็บรักษาความลับโดยเฉพาะด้วยก็ได้

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาบริการ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาบริการมี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม