เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"
ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้
คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว
ปรับปรุงล่าสุด 10/09/2567
รูปแบบที่มีให้ Word และ PDF
ขนาด 2 ถึง 3 หน้า
ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ
กรอกแบบฟอร์มหนังสือตอบรับเข้าทำงาน หรือหนังสือรับเข้าทำงาน (Employment/Job Offer Letter) คือ หนังสือที่ออกโดยผู้ที่จะเป็นนายจ้าง โดยออกให้แก่ผู้ที่มาสมัครเข้าทำงานกับตน เพื่อแสดงเจตนาว่านายจ้างมีความประสงค์จะรับผู้สมัครดังกล่าวเข้าทำงานเป็นพนักงาน/ลูกจ้างด้วยเงื่อนไขการจ้างงานที่ระบุไว้ในหนังสือรับเข้าทำงาน (เช่น ตำแหน่งงาน ค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์) เพื่อให้ผู้สมัครได้พิจารณาและตอบรับข้อเสนอดังกล่าว และเข้าเริ่มทำงานให้กับนายจ้าง
หนังสือรับเข้าทำงานอาจแบ่งตามลักษณะของคำเสนอ/ข้อเสนอได้ 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจัดทำหนังสือรับเข้าทำงานในการรับพนักงาน/ลูกจ้างเข้าทำงาน
อย่างไรก็ดี เพื่อรักษาผลประโยชน์และความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย และเพื่อแจ้งให้แก่ผู้สมัครทราบถึงข้อตกลงสำคัญเกี่ยวกับการจ้างงานที่ชัดเจนและครบถ้วน (เช่น ตำแหน่งงาน ค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ โบนัส ระยะเวลาการทำงาน สถานที่ทำงาน วันและเวลาทำงาน วันหยุดและวันลา และการทดลองงาน) นายจ้างอาจพิจารณาจัดทำหนังสือรับเข้าทำงานเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามโดยนายจ้าง
นายจ้างควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือรับเข้าทำงาน ดังต่อไปนี้
เนื่องจากการจ้างแรงงานตกอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานที่มีหลักสำคัญอยู่ที่การคุ้มครองพนักงาน/ลูกจ้างซึ่งคู่สัญญาไม่สามารถตกลงให้แตกต่าง หรือยกเว้นข้อกฎหมายดังกล่าวอันทำให้พนักงาน/ลูกจ้างได้รับประโยชน์น้อยไปกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ นายจ้างอาจจำเป็นต้องพิจารณากำหนดตกลงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ให้สอดคล้องตามกฎหมายแรงงานโดยเฉพาะ
นายจ้างจึงไม่ควรระบุ/กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างที่ขัดต่อกฎหมายแรงงานลงในหนังสือรับเข้าทำงาน โดยเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างที่ทำให้พนักงาน/ลูกจ้างได้รับประโยชน์น้อยไปกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น
นอกจากนี้ ในกรณีที่ได้มีการพูดคุยหรือตกลงกันเกี่ยวกับรายละเอียดการจ้างทางวาจาแล้ว (เช่น ในขณะสัมภาษณ์งาน) รายละเอียดการจ้างในหนังสือรับเข้าทำงานก็ควรจะสอดคล้องและเป็นไปตามรายละเอียดการจ้างที่ได้ตกลงกันทางวาจาด้วย เพื่อแสดงถึงความจริงใจและมารยาททางธุรกิจ หรือหากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการจ้าง นายจ้างก็ควรแจ้งสาเหตุและความจำเป็นให้ผู้สมัครทราบด้วย
คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการใดๆ ก่อนตามกฎหมายในการจัดทำหนังสือรับเข้าทำงาน
อย่างไรก็ดี ก่อนการจัดทำหนังสือรับเข้าทำงาน นายจ้างอาจตรวจสอบให้มั่นใจว่าผู้สมัครเป็นพนักงาน/ลูกจ้างมีคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถตรงตามที่นายจ้างต้องการ และสามารถปฏิบัติงานตามขอบเขตที่ได้รับมอบหมายได้ (เช่น การตรวจสอบประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา ประวัติอาชญากรรม) ทั้งนี้ เนื่องจากหนังสือรับเข้าทำงานถือเป็นคำเสนอตามกฎหมาย ในกรณีที่ผู้สมัครตอบรับข้อเสนอดังกล่าว นายจ้างย่อมมีหน้าที่ต้องผูกพันตามข้อเสนอที่ตนได้ระบุไว้ในหนังสือรับเข้าทำงานฉบับดังกล่าว
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือรับเข้าทำงาน ได้แก่
นายจ้าง (เช่น บุคคลที่ว่าจ้างลูกจ้างให้ทำงานให้กับตนและจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง) ตัวแทนผู้มีอำนาจของนายจ้าง (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่นายจ้างมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับพนักงาน/ลูกจ้างเข้าทำงาน (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล) เท่านั้น ที่ควรเป็นผู้ลงนามในหนังสือรับเข้าทำงาน
นอกจากนี้ เนื่องจากกฎหมายคุ้มครองแรงงงาน ห้ามนายจ้างว่าจ้างผู้เยาว์/เด็กอายุต่ำกว่า 15 (สิบห้า) ปี เป็นลูกจ้างหรือให้ทำงานให้กับตนเพื่อค่าตอบแทน หากนายจ้างฝ่าฝืน นายจ้างอาจมีโทษทางอาญา (เช่น ปรับ จำคุก) นายจ้างจึงไม่สามารถรับผู้สมัครซึ่งเป็นผู้เยาว์/เด็กอายุต่ำกว่า 15 (สิบห้า) ปี เข้าทำงานได้
ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นผู้เยาว์/เด็ก (เช่น ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองให้ผู้เยาว์/เด็กกระทำการต่างๆ (เช่น การเข้าทำงานกับนายจ้าง หรือการเข้าทำนิติกรรมต่างๆ) ผู้ปกครองอาจจัดทำหนังสือยินยอมให้เด็กทำงานเพื่อแสดงความยินยอมให้ผู้เยาว์/เด็กนั้นทำงานกับนายจ้าง
นายจ้างอาจกำหนดระยะเวลาตอบรับข้อเสนอตามที่นายจ้างเห็นสมควรไว้ในหนังสือรับเข้าทำงานด้วยก็ได้
ในกรณีที่ผู้สมัครไม่ตอบรับข้อเสนอภายในระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าว นายจ้างย่อมมีสิทธิเปลี่ยนแปลงและ/หรือยกเลิกข้อเสนอการรับเข้าทำงานและข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างงานที่เสนอไว้ในหนังสือรับเข้าทำงานได้
นายจ้างควรจัดทำหนังสือรับเข้าทำงานเป็นลายลักษณ์อักษร และให้นายจ้างหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของนายจ้างลงนามในหนังสือรับเข้าทำงานฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย
เมื่อจัดทำและลงนามในหนังสือรับเข้าทำงานเรียบร้อยแล้ว นายจ้างอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้
นายจ้างไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำหนังสือรับเข้าทำงาน
อย่างไรก็ดี เมื่อนายจ้างรับพนักงาน/ลูกจ้างเข้าทำงาน นายจ้างอาจมีหน้าที่ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างและแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน/ลูกจ้างต่อสำนักงานประกันสังคมภายในระยะเวลาที่กำหนด และหน้าที่นำส่งเงินสมทบทั้งส่วนของนายจ้างและส่วนของลูกจ้างให้แก่สำนักงานประกันสังคมประจำทุกเดือน
นายจ้างไม่มีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการจัดทำหนังสือรับเข้าทำงาน
อย่างไรก็ดี เมื่อนายจ้างรับพนักงาน/ลูกจ้างเข้าทำงาน นายจ้างอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียม เช่น
ระยะเวลาทดลองงาน (Probation) คือ ช่วงระยะเวลาที่นายจ้างกำหนดใช้บังคับกับพนักงาน/ลูกจ้างที่เข้ามาทำงานใหม่กับนายจ้าง เพื่อเป็นช่วงเวลาที่นายจ้างประเมินการทำงานของพนักงาน/ลูกจ้างว่ามีความเหมาะสมกับตำแหน่งดังกล่าว หรือไม่ และมีการทำงาน/ปฏิบัติงานอย่างไร โดยภายในระยะเวลาดังกล่าวนายจ้างอาจเปลี่ยนแปลงหน้าที่งาน ตำแหน่งงาน หรือความรับผิดชอบของพนักงาน/ลูกจ้างได้ รวมถึงนายจ้างอาจเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้างได้หากพิจารณาแล้วว่าพนักงาน/ลูกจ้างไม่มีความรู้ ความสามารถที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานดังกล่าว
โดยนายจ้างอาจกำหนดระยะเวลาการทดลองงานตามความเหมาะสม อย่างไรก็ดี ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้างที่มีอายุงานตั้งแต่ 120 วัน นายจ้างอาจมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดหากการเลิกจ้างนั้นไม่เข้าข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยอื่นๆ ตามกฎหมาย (เช่น ข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยกรณีลูกจ้างกระทำความผิดร้ายแรง ข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยกรณีการจ้างงานเฉพาะคราว)
พนักงาน/ลูกจ้างที่มีสัญชาติไทย/เป็นคนไทยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
อย่างไรก็ดี ในกรณีที่พนักงาน/ลูกจ้างเป็นคนต่างด้าว (เช่น ลูกจ้างไม่มีสัญชาติไทย/เป็นชาวต่างชาติ) ในกรณีเช่นนี้ พนักงาน/ลูกจ้างจำเป็นจะต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) จึงจะสามารถทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย และในกรณีที่นายจ้างรับพนักงาน/ลูกจ้างที่เป็นคนต่างด้าวเข้าทำงาน โดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน นายจ้างและลูกจ้างอาจมีความผิดและโทษทางอาญา
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือรับเข้าทำงานมี ดังต่อไปนี้
คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ
ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร
คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป
ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้
คู่มือต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คุณ
หนังสือรับเข้าทำงาน - ตัวอย่างแบบฟอร์ม - Word และ PDF
ประเทศ: ประเทศไทย