สัญญาจ้างพนักงานประเภทไม่เต็มเวลา Part-time กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาจ้างพนักงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time)

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 20/08/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด14 ถึง 21 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 20/08/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 14 ถึง 21 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาจ้างพนักงานทำงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time) หรือสัญญาจ้างพนักงานนอกเวลา (Part-time) คือ สัญญาที่มีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ นายจ้าง (เช่น บุคคลที่ว่าจ้างลูกจ้างให้ทำงานให้กับตน และจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง) ฝ่ายหนึ่ง และลูกจ้าง (เช่น บุคคล/พนักงานที่ทำงานให้กับนายจ้างเพื่อได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง) โดยที่ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายจัดทำสัญญาดังกล่าวขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแห่งการจ้าง และกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่คู่สัญญาได้เจรจาตกลงกันไว้ก่อนรับเข้าทำงาน (เช่น เงื่อนไขการจ้าง/การทำงาน ตำแหน่งงาน หน้าที่งาน ความรับผิดชอบงาน วันและเวลาทำงาน วันหยุด วันลา อัตราค่าจ้าง สวัสดิการ เงื่อนไขการเลิกจ้าง) ซึ่งลูกจ้างจะทำงาน/ปฏิบัติงานในลักษณะของพนักงานทำงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time)

โดยที่ การจ้างพนักงานทำงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time) หรือพนักงานนอกเวลา (Part-time) คือ การจ้างลูกจ้างทำงานในระยะสั้นมีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน วันและเวลาทำงานอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความสะดวกของลูกจ้างและ/หรือความต้องการของนายจ้าง โดยตกลงค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง ซึ่งการทำงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time) อาจเป็นประโยชน์แก่ทั้งลูกจ้างและนายจ้างในด้านต่างๆ เช่น

  • ลูกจ้างมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำงานเต็มเวลาได้ เช่น ลูกจ้างมีภาระทางครอบครัวต้องเลี้ยงดูบุตร/ผู้ป่วย ลูกจ้างทำงานประจำกับนายจ้างอื่นอยู่แล้วแต่ต้องการหารายได้พิเศษโดยการทำงานนอกเวลางานประจำของตน
  • ลูกจ้างใช้เวลาว่างหารายได้พิเศษ เช่น นักเรียน นิสิต และนักศึกษาที่ทำงานนอกเวลาเรียนหรือในระหว่างปิดเทอมเพื่อหารายได้พิเศษ
  • ลูกจ้างใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และสร้างคุณค่าให้ตนเอง เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่เกษียณอายุที่ต้องการหางาน/กิจกรรมทำยามว่างเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดขาดจากสังคม
  • นายจ้างมีความยืดหยุ่นในการบริการจัดการทรัพย์กรบุคคล/แรงงาน เช่น ร้านสะดวกซื้อที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ซึ่งต้องการพนักงานทำงานในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ร้านอาหารที่มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการมากในช่วงพักกลางวัน ร้านขายสินค้าขนาดใหญ่ที่ต้องมีการนับจำนวนสินค้าคงเหลือจำนวนมากในแต่ละเดือน

ในกรณีที่ ลูกจ้างปฏิบัติงาน/ทำงานในลักษณะของพนักงานทำงานประจำ (Full-time) หรือพนักงานสัญญาจ้างชั่วคราว (Contract) โดยที่ทำงานเต็มเวลาทำงานของสถานประกอบกิจการของนายจ้าง ในกรณีเช่นนี้ ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้ สัญญาจ้างแรงงานทั่วไป หรือสัญญาจ้างแรงงานโดยการทำงานที่บ้าน (Work from Home) บนเว็บไซต์ของเรา แล้วแต่กรณี


การนำไปใช้

ในการจัดทำสัญญาจ้างพนักงานทำงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time) ผู้จัดทำควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เช่น เงื่อนไขการจ้าง/การทำงาน ลักษณะการจ้าง ตำแหน่งงาน หน้าที่งาน ความรับผิดชอบงาน ระยะเวลาการจ้าง สถานที่ทำงาน การทดลองงาน วันและเวลาทำงาน วันหยุด วันลา อัตราค่าจ้างรายชั่วโมง หลักประกันการทำงาน สวัสดิการ การประเมินผลการทำงาน
  • ข้อตกลงอื่น เช่น การตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของงานที่ลูกจ้างผลิต/สร้างสรรค์ขึ้นในงานที่จ้าง การเก็บรักษาความลับ

เมื่อผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาครบถ้วนแล้ว ผู้จัดทำควรจัดทำสัญญาจ้างพนักงานทำงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time) เป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย โดย คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ และ

คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ

เนื่องจาก ตัวลูกจ้างเป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างแรงงาน ด้วยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ทำงาน ทักษะ ความชำนาญ ฝีมือที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานหรืองานที่มอบหมายแก่ลูกจ้างย่อมได้ผลสำเร็จของงานที่แตกต่างกันทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณ คู่สัญญาอาจนำเอกสารประวัติการทำงาน (Resume) ข้อมูลที่กรอกในใบสมัครงาน (Application) ของลูกจ้าง (ถ้ามี) มาแนบอ้างอิงไว้ท้ายสัญญาฉบับนี้ด้วยก็ได้ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ ล้วนเป็นข้อมูลที่นายจ้างใช้ในการตัดสินใจจ้างลูกจ้างคนดังกล่าว หากปรากฏในภายหลังว่าไม่เป็นไปตามข้อมูลที่ลูกจ้างได้แจ้งไว้ นายจ้างย่อมสามารถเลิกสัญญาได้ทันทีหากข้อมูลเท็จนั้นเป็นสาระสำคัญของการทำงานนั้นๆ

ข้อพิจารณา

ในกรณีการจ้างพนักงานทำงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time) ที่ลูกจ้างเป็นนักเรียน นิสิต และนักศึกษาที่ทำงานนอกเวลาเรียนเพื่อหารายได้พิเศษ นายจ้างอาจมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมตามข้อแนะนำเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง เงื่อนไขการจ้าง ลักษณะงาน ระยะเวลาการทำงาน การเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน และสถานที่ทำงาน ตาม ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างรายชั่วโมง สำหรับนักเรียน นิสิต และนักศึกษา

ในกรณีการจ้างพนักงานทำงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time) ที่ลูกจ้างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่ไม่ได้ทำงานประจำ นายจ้างอาจมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมตามข้อแนะนำเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง ลักษณะงาน และระยะเวลาการทำงาน ตาม ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขอความร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีงานทำ

การจ้างพนักงานทำงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time) ซึ่งเป็นการจ้างแรงงานอย่างหนึ่ง อาจมีความคล้ายคลึงกับการจ้างทำของ (เช่น สัญญาให้บริการทั่วไป สัญญาจ้างผลิต/ออกแบบสินค้า สัญญาว่าจ้างบริหารจัดการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน) ผู้ใช้งานอาจพิจารณาว่าในการจ้างแรงงานในลักษณะของพนักงานทำงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time) ตามสัญญาฉบับนี้ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเป็นการจ้างทำงานในลักษณะใด ในกรณีที่เป็นการจ้างแรงงานคู่สัญญาย่อมต้องพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของตน รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ตามกฎหมายแรงงานโดยเฉพาะ โดยมีหลักสำคัญอยู่ที่การคุ้มครองลูกจ้างซึ่งคู่สัญญาไม่สามารถตกลงให้แตกต่าง หรือยกเว้นข้อกฎหมายดังกล่าวอันทำให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์น้อยไปกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ (เช่น สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน) ทั้งนี้ เนื่องจากในอดีตการจ้างแรงงานส่วนใหญ่ ฝ่ายลูกจ้างมักตกอยู่ในสถานะที่มีอำนาจต่อรองน้อยกว่านายจ้างและมักเป็นฝ่ายที่ถูกเอาเปรียบ

โดย ผู้ใช้งานอาจมีข้อพิจารณาในการแยกความแตกต่างระหว่างการจ้างแรงงานและการจ้างทำของ ดังต่อไปนี้

(1) การมุ่งเน้นผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ

การจ้างทำของจะมีความมุ่งหวังที่ผลสำเร็จของงานนั้นเป็นสำคัญ เช่น ผู้รับจ้างจะมีอิสระในการดำเนินการงานที่จ้างให้สำเร็จลุล่วง ตามลักษณะ รูปแบบ คุณสมบัติ กรอบเวลา และมาตรฐานที่คู่สัญญากำหนดตกลงกันในขณะทำสัญญา และในการคิดคำนวณค่าตอบแทนมักใช้ผลสำเร็จของงานที่ตกลงกันเป็นตัวแปรในการพิจารณาค่าตอบแทนของผู้รับจ้าง

(2) อำนาจบังคับบัญชา

การจ้างแรงงาน นายจ้างจะมีอำนาจการบังคับบัญชาเด็ดขาดเหนือลูกจ้าง เช่น นายจ้างอาจมอบหมายงานอย่างอื่นให้ลูกจ้าง เปลี่ยนแปลงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของลูกจ้างได้ มีอำนาจตักเตือนลงโทษทางวินัย การกำหนดให้ลูกจ้างเข้าทำงานตามวันเวลาที่นายจ้างกำหนด

(3) ประเภทบุคคลของลูกจ้าง

การจ้างแรงงาน ลูกจ้างจะต้องเป็นบุคคลธรรมดา เท่านั้น ในขณะที่ในการจ้างทำของผู้รับจ้างอาจเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน) ก็ได้

ผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการจ้างแรงงานและการจ้างทำของได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ บนเว็บไซต์ของเรา

ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นคนต่างด้าว (เช่น ลูกจ้างไม่มีสัญชาติไทย/เป็นชาวต่างชาติ) ลูกจ้างจะต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) จึงจะสามารถทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกกฎหมาย ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว มิฉะนั้น นายจ้างและลูกจ้างอาจมีความผิดและโทษทางอาญา

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม