การเลิกสัญญาเช่าล้วนมักเป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ของคู่สัญญา (เช่น ผู้ให้เช่าและผู้เช่า) ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้บอกเลิกสัญญา หรือฝ่ายผู้ถูกบอกเลิกสัญญาก็ตาม และไม่ว่าสิ่งปลูกสร้างที่เช่านั้นจะเป็นสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น
ทั้งนี้ เนื่องจากการเลิกสัญญาเช่าอาจก่อให้เกิดภาระหรือความเสียหายต่อคู่สัญญาไม่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง 2 ฝ่าย เช่น
การเลิกสัญญาเช่าอาจมีปัญหาและสาเหตุที่หลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี โดยอาจแบ่งพิจารณาในกรณีต่างๆ ได้ ดังต่อไปนี้
ในกรณีการเลิกสัญญาเช่าเกิดจากความผิดของผู้เช่า อาจเป็นกรณีที่ผู้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าและ/หรือในกฎหมาย เช่น
ในกรณีที่ผู้เช่าต้องการนำสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าไปใช้นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า หรือผู้เช่าต้องการดัดแปลงหรือต่อเติมสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่า ผู้เช่าอาจเจรจาตกลง และขออนุญาต/ความยินยอมจากผู้ให้เช่า โดยให้ผู้ให้เช่าอนุญาต/ให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรในหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
ในกรณีที่ผู้เช่าต้องการนำสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงต่อ ผู้เช่าอาจเจรจาตกลง และขออนุญาต/ความยินยอมจากผู้ให้เช่า โดยให้ผู้ให้เช่าอนุญาต/ให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรในหนังสือยินยอมให้เช่าช่วง
ในกรณีการเลิกสัญญาเช่าเกิดจากความผิดของผู้ให้เช่า อาจเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้ให้เช่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าและ/หรือในกฎหมาย เช่น
ในกรณีการเลิกสัญญาเช่าไม่ได้เกิดจากความผิดของคู่สัญญา ไม่ว่าผู้ให้เช่า หรือผู้เช่า อาจเป็นกรณีที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าและ/หรือในกฎหมาย เช่น
เมื่อคู่สัญญาทราบถึงข้อเท็จจริงอันเป็นสาเหตุที่ต้องการจะบอกเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาฝ่ายที่ต้องการจะบอกเลิกสัญญาควรตรวจสอบข้อเท็จจริง และสิทธิในการบอกเลิกสัญญาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่าดังกล่าว ว่าในการบอกเลิกสัญญาในกรณีปัญหาและสาเหตุนั้น มีหลักเกณฑ์ ขั้นตอน ระยะเวลา และเงื่อนไขในการใช้สิทธิเลิกสัญญา อย่างไร เช่น
ในกรณีที่ในสัญญาเช่ากำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายที่ไม่ได้ผิดสัญญาต้องมีการบอกกล่าวตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาให้แก้ไขก่อนระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้โอกาสคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง คู่สัญญาฝ่ายที่ไม่ได้ผิดสัญญาอาจจัดทำหนังสือเตือนชำระค่าเช่าล่าช้า หรือหนังสือบอกกล่าวการปฏิบัติผิดสัญญาเช่า แล้วแต่กรณีเพื่อเป็นการบอกกล่าวตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญา
เมื่อคู่สัญญาได้ตรวจสอบถึงสิทธิในการเลิกสัญญาตามสัญญาเช่าแล้ว รวมถึงดำเนินการต่างๆ ตามเงื่อนไขที่สัญญาเช่ากำหนดอันก่อให้เกิดสิทธิในการบอกเลิกสัญญาแล้ว (ถ้ามี) เช่น การส่งหนังสือเตือนชำระค่าเช่าล่าช้า หรือหนังสือบอกกล่าวการปฏิบัติผิดสัญญาเช่า คู่สัญญาอาจดำเนินการเลิกสัญญาได้ โดยอาจแบ่งได้เป็น 2 กรณี ดังต่อไปนี้
ในกรณีที่คู่สัญญามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เพียงฝ่ายเดียว เช่น
ในกรณีเช่นนี้ คู่สัญญาฝ่ายที่ต้องการจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า ควรส่งคำบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงเจตนาที่จะบอกเลิกสัญญาไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งรับทราบถึงการแสดงเจตนาดังกล่าวและเพื่อให้การบอกเลิกสัญญาเช่านั้นมีผลบังคับใช้
คู่สัญญาฝ่ายที่ต้องการจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าอาจจัดทำหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาซึ่งเป็นคำบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงเจตนาที่จะบอกเลิกสัญญาไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามวิธีการและที่อยู่ของคู่สัญญาในการส่งคำบอกกล่าวที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า
ในกรณีที่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย มีความเห็นและความตกลงร่วมกันที่จะเลิกสัญญาเช่า โดยที่ไม่มีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา หรือมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เพียงฝ่ายเดียว เช่น
ในกรณีเช่นนี้ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายควรจัดทำบันทึกข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรบันทึกข้อตกลงต่างๆ ที่คู่สัญญาได้เจรจาตกลงกันเกี่ยวกับการเลิกสัญญาเช่า เช่น วันที่ให้การเลิกสัญญาเช่ามีผล ค่าเสียหาย (ถ้ามี)
คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายอาจจัดทำบันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาซึ่งเป็นบันทึกข้อตกลงลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย และแนบเก็บไว้กับสัญญาเช่าที่คู่สัญญาตกลงกันที่จะเลิกเพื่อใช้ในการอ้างอิงในอนาคต
เมื่อคู่สัญญาได้บอกเลิกสัญญาหรือได้ตกลงร่วมกันเลิกสัญญาเช่าแล้ว คู่สัญญา โดยเฉพาะผู้ให้เช่า อาจมีข้อพิจารณาภายหลังจากการบอกเลิกสัญญาเช่ามีผลบังคับใช้แล้ว ดังต่อไปนี้
ในกรณีที่ผู้เช่าได้วางหลักประกันการเช่าเอาไว้เป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาเช่า หรือเพื่อเป็นประกันความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่า (เช่น เงินประกันความเสียหาย) ในกรณีที่มีความเสียหาย ผู้ให้เช่าอาจริบหรือหักหลักประกันดังกล่าวได้ตามหลักเกณฑ์ อัตรา และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า
อย่างไรก็ดี ในกรณีสัญญาเช่าเพื่อการอยู่อาศัย หากผู้ให้เช่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา และผู้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา การเรียกวางเงินประกันการเช่า รวมถึงการบังคับเอาหลักประกันดังกล่าวจะต้องเป็นไปตาม หรือไม่ต่ำกว่าที่ประกาศได้กำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองผู้เช่าที่มักถูกผู้ให้เช่าที่เป็นผู้ประกอบการเอาเปรียบ
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าจะบังคับหลักประกันการเช่า คู่สัญญาอาจอ้างอิงสภาพสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าตามบันทึกการตรวจรับสภาพสิ่งปลูกสร้างที่เช่าที่คู่สัญญาได้จัดทำร่วมกันในวันที่ผู้เช่ารับมอบสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าจากผู้ให้เช่ากับสภาพสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่า ณ วันที่ผู้เช่าส่งมอบสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าคืนแก่ผู้ให้เช่า ว่ามีความเสียหาย ชำรุดบกพร่องเพิ่มเติม หรือไม่ อย่างไร
ในกรณีที่ผู้เช่าผิดนัดชำระหนี้ต่างๆ เช่น ค้างชำระค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ผู้ให้เช่าอาจการเรียกเก็บดอกเบี้ยผิดนัด ค่าปรับ ค่าเสียหายได้ตามอัตราและเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาเช่า หรือตามกฎหมายในกรณีที่ไม่ได้มีการตกลงเอาไว้ในสัญญาเช่า
ในกรณีเช่นนี้ ผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ในกรณีที่ผู้เช่าผิดนัดชำระหนี้ ได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ผู้ให้เช่าทำอะไรได้บ้าง เมื่อผู้เช่าไม่ยอมจ่ายค่าเช่า? บนเว็บไซต์ของเรา
เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว ผู้เช่าย่อมต้องมีหน้าที่ย้ายออกจากสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้เช่ายังไม่ยอมย้ายออกจากสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าภายหลังจากพ้นระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวแล้ว ผู้ให้เช่าอาจพิจารณาดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ผู้เช่าย้ายออกจากสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่า เช่น ผู้ให้เช่าอาจจัดทำหนังสือแจ้งให้ย้ายออกจากสถานที่เช่าเพื่อบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ผู้เช่าให้ย้ายออกจากสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่า
ในกรณีเช่นนี้ ผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ผู้เช่าย้ายออกจากสิ่งปลูกสร้างและ/หรือทรัพย์สินที่เช่าได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: จะย้ายผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าต้องดำเนินการ อย่างไร บนเว็บไซต์ของเรา
การเลิกสัญญาเช่าล้วนมีสาเหตุ ปัญหา และความจำเป็นไม่ว่าจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งการเลิกสัญญาอาจเป็นหนทางสุดท้ายที่คู่สัญญาประสงค์จะให้เกิดขึ้น เนื่องจากเมื่อเลิกสัญญาแล้วย่อมจะต้องเกิดปัญหาอย่างอื่นเพิ่มเติมตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น ก่อนที่จะเลิกสัญญา คู่สัญญาจึงควรพยายามเจรจา พูดคุย ประนีประนอม ร่วมกันแก้ไขสาเหตุ ปัญหา และความจำเป็นดังกล่าวก่อน
อย่างไรก็ดี หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง 2 ฝ่าย พิจารณาและตัดสินใจดีแล้วว่าการเลิกสัญญาเช่าอาจเป็นทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ ของคู่สัญญา ผู้ให้เช่า และ/หรือผู้เช่าก็อาจเลิกสัญญาโดยอาจดำเนินการและพิจารณาตามข้อพิจารณาในคู่มือทางกฎหมายฉบับนี้เพื่อหลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังได้