หนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญา กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญา

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 12/10/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด1 ถึง 2 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 12/10/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 1 ถึง 2 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาคืออะไร

หนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญา หรือหนังสือเลิกสัญญา (Notice of Termination) คือ หนังสือซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงเจตนาไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งว่าตนมีความประสงค์ที่จะเลิกสัญญาฉบับใดฉบับหนึ่งที่ตนและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเป็นคู่สัญญาด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสัญญาลักษณะและ/หรือประเภทใด

โดย หนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาอาจนำไปใช้เพื่อบอกเลิกสัญญาในกรณี ดังต่อไปนี้

  • ในกรณีที่มีเหตุการณ์/เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาที่ให้คู่สัญญามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เช่น คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปฏิบัติผิดสัญญา ผิดนัดชำระหนี้ ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญา
  • ในสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ซึ่งกำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ไม่ว่าจะมีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปฏิบัติผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม

หนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญามีลักษณะใดบ้าง

โดยทั่วไป การบอกกล่าวเลิกสัญญาอาจแบ่งพิจารณาตามแหล่งที่มาของสิทธิในการบอกเลิกสัญญาได้เป็น 3 กรณี ได้แก่

  • สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาฉบับนั้นๆ เช่น เหตุการณ์/เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาที่ให้คู่สัญญามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โดยคู่สัญญาสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้จากสัญญาที่ต้องการจะบอกเลิก (เช่น ข้อสัญญาเกี่ยวกับการบอกเลิกและสิ้นสุดสัญญา)
  • สิทธิบอกเลิกสัญญาตามกฎหมายทั่วไป เช่น คู่สัญญาไม่ชำระหนี้/ปฏิบัติตามสัญญาภายในกำหนดระยะเวลา หรือคู่สัญญาไม่สามารถชำระหนี้/ปฏิบัติตามสัญญาได้อันเนื่องมาจากความผิดของคู่สัญญาฝ่ายนั้นเอง
  • สิทธิบอกเลิกสัญญาตามกฎหมายเฉพาะของสัญญาประเภทนั้น เช่น ในสัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัยที่เป็นสัญญาควบคุม ผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการเช่าได้ หรือในสัญญาค้ำประกันเพื่อกิจการต่อเนื่องโดยไม่มีจำกัดเวลา ผู้ค้ำประกันอาจบอกเลิกการค้ำประกันได้ ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายเฉพาะนั้นกำหนด โดยคู่สัญญาสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้จากกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสัญญานั้นๆ แล้วแต่กรณี

หนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาและบันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาแตกต่างกัน อย่างไร

หนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาและบันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาต่างก็เป็นหนังสือที่ถูกจัดทำขึ้นและมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สัญญาที่มีระหว่างคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายสิ้นสุดลงเหมือนกัน

อย่างไรก็ดี หนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาเป็นหนังสือที่ออกโดยคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวเพื่อบอกเลิกสัญญาฉบับนั้น (เช่น คู่สัญญาฝ่ายนั้นมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามกฎหมาย/ข้อตกลงในสัญญาเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาอีกฝ่าย) ในขณะที่บันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาเป็นหนังสือที่จัดทำร่วมกันระหว่างคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อตกลงร่วมกันให้เลิกสัญญาฉบับนั้น (เช่น คู่สัญญาเห็นสมควรร่วมกันว่าควรจะเลิกสัญญาฉบับนั้นๆ ข้อตกลงในสัญญากำหนดวิธีการเลิกสัญญาโดยการตกลงร่วมกันของคู่สัญญา/ความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย)

จำเป็นต้องทำหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญา หรือไม่

อาจจำเป็น คู่สัญญาที่มีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญาอาจจำเป็นต้องจัดทำหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาแจ้งคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณี ดังต่อไปนี้

  • ข้อตกลงในสัญญาฉบับที่ต้องการจะบอกเลิกนั้นๆ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ต้องจัดทำหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาแจ้งคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นหนังสือ โดยคู่สัญญาสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้จากสัญญาที่ต้องการจะบอกเลิก (เช่น ข้อสัญญาเกี่ยวกับการบอกเลิกและสิ้นสุดสัญญา)
  • กฎหมายเกี่ยวกับสัญญาฉบับที่ต้องการจะบอกเลิกนั้นๆ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขไว้โดยเฉพาะให้ต้องจัดทำหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาแจ้งคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นหนังสือ โดยคู่สัญญาสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้จากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัญญาที่ต้องการจะบอกเลิก

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญา

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญา ดังต่อไปนี้

  • สัญญาที่ต้องการบอกเลิก เช่น คู่สัญญา ชื่อสัญญา วันที่ทำสัญญา เลขที่อ้างอิงสัญญา (ถ้ามี)
  • สิทธิในการบอกเลิกสัญญา เช่น สาเหตุ ที่มา และเหตุการณ์ที่ทำให้คู่สัญญาต้องการจะบอกเลิกสัญญา ข้อสัญญา หรือข้อกฎหมายที่กำหนดสิทธิการบอกเลิกสัญญาในกรณีดังกล่าว
  • ผลของการเลิกสัญญา เช่น วันที่ให้สัญญามีผลสิ้นสุดลง หน้าที่ที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติเมื่อสัญญามีผลสิ้นสุดลง

เมื่อสัญญาได้เลิกหรือสิ้นสุดกันไปแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างก็ไม่มีสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาฉบับดังกล่าวนั้นอีกต่อไป อย่างไรก็ดี ในบางกรณี ด้วยสภาพและลักษณะเฉพาะของข้อสัญญา คู่สัญญาบางฝ่ายอาจยังมีหน้าที่บางอย่างที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาภายหลังจากที่สัญญาได้สิ้นสุดไปแล้ว เช่น การชดใช้ค่าเสียหาย การชดใช้คืนทรัพย์สินหรือเงิน การเก็บรักษาความลับ


จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญา

คู่สัญญาที่มีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญาควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าตนมีสิทธิบอกเลิกสัญญา หรือไม่ และมีหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย และเงื่อนไขในการบอกเลิกสัญญาอย่างไรในแต่ละกรณี (เช่น สามารถบอกเลิกสัญญาในกรณีใดบ้าง ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนหรือสามารถบอกเลิกได้ทันที ค่าปรับการบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด) โดยคู่สัญญาสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้จากสัญญาที่ต้องการจะบอกเลิก (เช่น ข้อสัญญาเกี่ยวกับการบอกเลิกและสิ้นสุดสัญญา) และ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัญญานั้นๆ

ในบางกรณีข้อสัญญาอาจกำหนดให้คู่สัญญาที่มีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญาต้องบอกกล่าวตักเตือนการกระทำผิดสัญญาให้คู่สัญญาอีกฝ่ายรับทราบและมีโอกาสปรับปรุงแก้ไขก่อนจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ในกรณีเช่นนี้คู่สัญญาที่มีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญาอาจจัดทำหนังสือบอกกล่าวการปฏิบัติผิดสัญญา หรือหนังสือบอกกล่าวการปฏิบัติผิดสัญญาเช่า แล้วแต่กรณี เพื่อบอกกล่าวตักเตือนการกระทำผิดสัญญาของคู่สัญญานั้นๆ ก่อนการจัดทำหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญา

หนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญา ได้แก่

  • คู่สัญญาที่มีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญา (เช่น คู่สัญญาฝ่ายที่บอกเลิกสัญญา) ตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่คู่สัญญามอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญา (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย ทนายความ) ซึ่งเป็นผู้จัดทำและลงนามในหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาในฐานะคู่สัญญาที่มีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญา เพื่อบอกเลิกสัญญานั้นๆ
  • คู่สัญญาอีกฝ่ายที่เป็นคู่สัญญา (เช่น คู่สัญญาฝ่ายที่ปฏิบัติผิดสัญญา) ซึ่งเป็นผู้ได้รับหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาและถูกบอกเลิกสัญญานั้นๆ

ควรกำหนดระยะเวลาของหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญา อย่างไร

คู่สัญญาที่มีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญาควรกำหนดวันที่ให้สัญญามีผลสิ้นสุด โดยสอดคล้องกับระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาในแต่ละกรณีและ/หรือแต่ละสาเหตุการบอกเลิกสัญญา เช่น

  • คู่สัญญาอาจมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที หรือ
  • คู่สัญญาอาจต้องบอกกล่าวให้คู่สัญญาอีกฝ่ายทราบล่วงหน้าก่อนการเลิกสัญญา (เช่น 15 วัน 30 วัน)

โดยคู่สัญญาสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้จากสัญญาที่ต้องการจะบอกเลิก (เช่น ข้อสัญญาเกี่ยวกับการบอกเลิกและสิ้นสุดสัญญา) และ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัญญานั้นๆ

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาแล้ว

เมื่อคู่สัญญาที่มีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญาจัดทำและลงนามในหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาที่มีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • อาจจัดทำสำเนาหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาไว้เพื่อการอ้างอิงในอนาคต
  • แนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบอกกล่าวเลิกสัญญา (ถ้ามี)
  • นำส่งหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามที่อยู่ วิธีการ และรูปแบบการส่งคำบอกกล่าวที่กำหนดไว้โดยเฉพาะไว้ในสัญญา (ถ้ามี) (เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์) ในกรณีที่ไม่มีการกำหนดวิธีการและรูปแบบการส่งคำบอกกล่าวเอาไว้ในสัญญาโดยเฉพาะ คู่สัญญาอาจนำส่งหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งด้วยตนเอง หรือไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังสำนักงานหรือภูมิลำเนาของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
  • จัดเก็บหลักฐานในการจัดส่งหรือนำส่งหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญานั้นไว้เป็นหลักฐาน (เช่น บันทึกระบบรายงานสถานะการจัดส่ง ใบรับ-ส่งเอกสาร)

เมื่อสัญญาฉบับดังกล่าวสิ้นลงแล้ว คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย อาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาดำเนินการตามรูปแบบ วิธี และเงื่อนไขอื่นๆ ในการเลิกสัญญา (ถ้ามี) ตามสัญญาที่ถูกบอกเลิกหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบอกเลิกสัญญาฉบับนั้นๆ โดยเฉพาะ (เช่น ต้องจดทะเบียนยกเลิก/ไถ่ถอนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
  • คู่สัญญาดำเนินการ/ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามสัญญาภายหลังจากที่สัญญาได้สิ้นสุดไปแล้ว (ถ้ามี) โดยทั่วไป เมื่อสัญญาได้เลิกหรือสิ้นสุดกันไปแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างก็ไม่มีสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา/บันทึกข้อตกลงฉบับดังกล่าวนั้นอีกต่อไป อย่างไรก็ดี ในบางกรณีคู่สัญญาบางฝ่ายอาจยังมีหน้าที่บางอย่างที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาภายหลังจากที่สัญญานั้นได้สิ้นสุดไปแล้ว (เช่น การชดใช้ค่าเสียหาย การชดใช้คืนทรัพย์สินหรือเงิน การส่งมอบทรัพย์สินคืน การเก็บรักษาความลับ) ซึ่งอาจเป็นสิทธิและหน้าที่คู่สัญญาตกลงกันตามสัญญาหรือเป็นสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายก็ได้

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาด้วย หรือไม่

คู่สัญญาที่มีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบอกกล่าวเลิกสัญญา (ถ้ามี) เช่น

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญา

ในบางกรณี สัญญาที่ต้องการจะบอกเลิกอาจกำหนดค่าใช้จ่ายให้คู่สัญญาที่มีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญาต้องรับผิดชอบในการบอกเลิกสัญญา (ถ้ามี) เช่น

  • ค่าธรรมการเลิกสัญญาก่อนกำหนด
  • ค่าปรับ/ค่าเสียหายกรณีการเลิกสัญญาก่อนกำหนด

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญา

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญามี ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม