สัญญาเก็บรักษาความลับ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาเก็บรักษาความลับ

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 03/12/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด15 ถึง 23 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 03/12/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 15 ถึง 23 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาเก็บรักษาความลับคืออะไร

สัญญาเก็บรักษาความลับ หรือสัญญาห้ามเปิดเผยข้อมูลความลับ (Non-Disclosure Agreement) คือ สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้ง 2 ฝ่ายมีหน้าที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลความลับและห้ามเปิดเผยข้อมูลนั้น

เนื่องจากคู่สัญญาอาจได้รับการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (เช่น การเจรจาทางธุรกิจ การร่วมลงทุนธุรกิจ/กิจการกัน การตรวจสอบกิจการ การซื้อขายกิจการ การจ้างแรงงาน การรับจ้างให้บริการ หรือการให้คำปรึกษา) และหากข้อมูลนั้นถูกเปิดเผยออกไปอาจทำให้เกิดความเสียหาย หรือการเสียเปรียบทางธุรกิจได้ เช่น

  • ข้อมูลสำคัญทางการค้า/ทางธุรกิจ
  • รูปแบบ/แผนธุรกิจใหม่
  • รายชื่อและข้อมูลลูกค้า
  • สูตรและกรรมวิธีการผลิตสินค้า/อาหาร
  • การออกแบบทางวิศวกรรม
  • งานวิจัยนวัตกรรมใหม่

สัญญาเก็บรักษาความลับมีลักษณะใดบ้าง

สัญญาเก็บรักษาความลับอาจแบ่งตามผู้มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาความลับได้ 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • สัญญาเก็บรักษาความลับที่มีผู้มีหน้าที่ต้องรักษาความลับเพียงฝ่ายเดียว เช่น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้รับการเปิดเผยข้อมูลความลับที่สำคัญจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งและมีหน้าที่ต้องรักษาความลับ
  • สัญญาเก็บรักษาความลับที่มีผู้มีหน้าที่ต้องรักษาความลับทั้ง 2 ฝ่าย เช่น คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็ได้รับการเปิดเผยข้อมูลความลับที่สำคัญจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งและมีหน้าที่ต้องรักษาความลับที่ได้รับมาจากคู่สัญญาอีกฝ่าย โดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็มีสถานะเป็นทั้งผู้เปิดเผยข้อมูลและผู้รับข้อมูลในเวลาเดียวกัน


จำเป็นต้องทำสัญญาเก็บรักษาความลับ หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องทำสัญญาเก็บรักษาความลับระหว่างกัน ในกรณีที่การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลความลับ ผู้กระทำย่อมมีความรับผิดตามกฎหมาย

อย่างไรก็ดี เพื่อความชัดเจนของคู่สัญญา (เช่น ขอบเขตของข้อมูลความลับ) และเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เปิดเผยข้อมูล (เช่น การกำหนดค่าปรับ/ค่าเสียหาย แนวทางการป้องกันและแก้ไข) คู่สัญญาจึงควรจัดทำสัญญาเก็บรักษาความลับ

ไม่ควรระบุ/กำหนดข้อมูลลักษณะใดลงในสัญญาเก็บรักษาความลับ

คู่สัญญาไม่ควรรระบุ/กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเก็บรักษาข้อมูลความลับที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย หรือมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมายซึ่งทำให้สัญญาเก็บรักษาความลับเป็นโมฆะและไม่สามารถใช้บังคับได้ เช่น

  • กำหนดให้คู่สัญญาต้องปกปิดข้อมูลซึ่ง ณ ขณะทำสัญญา ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความลับ (เช่น เป็นข้อมูลที่รู้กันของบุคคลทั่วไปและสามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ)
  • กำหนดให้คู่สัญญาต้องปกปิดข้อมูลหลักฐานในการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดในคดีอาญา


สัญญาเก็บรักษาความลับเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาเก็บรักษาความลับ ได้แก่

  • ผู้เปิดเผยข้อมูล (เช่น คู่สัญญาฝ่ายที่เปิดเผยข้อมูลความลับของตนให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้เปิดเผยข้อมูล (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมาย (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาเก็บรักษาความลับในฐานะผู้เปิดเผยข้อมูล/เจ้าของข้อมูล
  • ผู้รับข้อมูล (เช่น คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับข้อมูลความลับจากอีกฝ่ายหนึ่งและมีหน้าที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลความลับนั้นไว้/ห้ามเปิดเผยข้อมูลนั้น) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้รับข้อมูล (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมาย (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาเก็บรักษาความลับในฐานะผู้รับข้อมูล

คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายอาจมีสถานะเป็นทั้งผู้เปิดเผยข้อมูลและผู้รับข้อมูลในเวลาเดียวกันก็ได้


ควรกำหนดระยะเวลาของสัญญาเก็บรักษาความลับ อย่างไร

คู่สัญญาย่อมสามารถกำหนดระยะเวลาของสัญญาเก็บรักษาความลับที่ผู้รับข้อมูลมีหน้าที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลความลับนั้นไว้/ห้ามเปิดเผยข้อมูลความลับนั้นได้ตามที่คู่สัญญาเห็นสมควร โดยอาจพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น

  • ระดับความสำคัญของข้อมูลความลับ
  • ระยะเวลาการดำเนินการร่วมกันระหว่างคู่สัญญาซึ่งจำเป็นต้องมีการเปิดเผยข้อมูลความลับให้แก่กัน

ในกรณีที่ข้อมูลความลับนั้นถือเป็นความลับทางการค้า (Trade Secret) ตามกฎหมาย ผู้รับข้อมูลมีหน้าที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลนั้นไปตลอดที่ข้อมูลนั้นเป็นความลับทางการค้า ไม่ว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาแล้วหรือไม่ก็ตาม


จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาเก็บรักษาความลับแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาเก็บรักษาความลับเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาเก็บรักษาความลับเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • อาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาเก็บรักษาความลับอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • ควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • อาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเก็บรักษาความลับ (ถ้ามี)


จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาเก็บรักษาความลับด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเก็บรักษาความลับ (ถ้ามี) เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันระหว่างคู่สัญญา เช่น

  • รายการ/รายละเอียดขอบเขตข้อมูลความลับ
  • มาตรการ/แนวปฏิบัติในการเก็บรักษาข้อมูล


สัญญาเก็บรักษาความลับจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำสัญญาเก็บรักษาความลับ


สัญญาเก็บรักษาความลับจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาเก็บรักษาความลับจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาเก็บรักษาความลับตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาเก็บรักษาความลับ (เช่น คู่สัญญา)


ทำไมต้องกำหนดขอบเขตของข้อมูลความลับให้ชัดเจน

การกำหนดขอบเขตของข้อมูลความลับให้ชัดเจนไว้ภายในสัญญาเก็บรักษาความลับย่อมเป็นประโยชน์แก่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย เช่น

  • คู่สัญญาทราบถึงขอบเขต บทบาท และหน้าที่ของตนอย่างชัดเจนว่าข้อมูลใดบ้างที่ต้องห้ามเปิดเผยตามสัญญาเก็บรักษาความลับ
  • ช่วยลดความเสี่ยงจากการเปิดเผย/เผยแพร่ข้อมูลความลับออกไปโดยไม่ตั้งใจของผู้รับข้อมูล และลดการเกิดความเสียหายต่อผู้เปิดเผยข้อมูล/เจ้าของข้อมูล
  • ลดปัญหาและหน้าที่ในการพิสูจน์ว่าข้อมูลความลับใดบ้างอยู่ภายใต้บังคับของสัญญาเก็บรักษาความลับ


จำเป็นต้องทำสัญญาการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการแข่งขันด้วย หรือไม่

เนื่องจากข้อมูลความลับอาจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจต่อไปได้และอาจทำให้คู่สัญญาผู้เปิดเผยข้อมูลเสียเปรียบในทางการค้าได้ สัญญาเก็บรักษาความลับฉบับนี้จึงประกอบไปด้วยข้อตกลงการห้ามผู้รับข้อมูลประกอบกิจการแข่งขันไว้ในเบื้องต้น อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจจัดทำสัญญาการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการแข่งขันแยกเป็นสัญญาอีกฉบับโดยเฉพาะ/โดยละเอียดด้วยก็ได้

ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ข้อสัญญาหรือข้อตกลงการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการ สามารถบังคับใช้ได้หรือไม่ อย่างไร ภายใต้กฎหมายไทย


ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาเก็บรักษาความลับ

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาเก็บรักษาความลับ ดังต่อไปนี้

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเก็บรักษาความลับ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาเก็บรักษาความลับมี ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม