สัญญาการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการแข่งขัน กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการแข่งขัน

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 17/09/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด9 ถึง 13 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 17/09/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 9 ถึง 13 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการแข่งขันคืออะไร

สัญญาการห้ามประกอบอาชีพ/ประกอบกิจการแข่งขัน หรือข้อตกลงการห้ามแข่งขัน/ค้าแข่ง (Non-Compete Agreement) คือ สัญญาหรือข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่กำหนดห้ามไม่ให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้ง 2 ฝ่ายไปทำงาน ประกอบอาชีพและ/หรือประกอบกิจการ รวมถึงไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการหรือธุรกิจที่มีลักษณะตามที่กำหนด (เช่น กิจการของคู่แข่ง) ภายในระยะเวลาและขอบเขตที่กำหนด

สัญญาห้ามแข่งขันมีลักษณะใดบ้าง

สัญญาห้ามแข่งขันอาจแบ่งตามผู้ถูกห้ามประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขันได้ 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • สัญญาห้ามแข่งขันที่มีคู่สัญญาผู้ถูกห้ามประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขันเพียงฝ่ายเดียว เช่น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งถูกห้ามประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขันคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
  • สัญญาห้ามแข่งขันที่มีคู่สัญญาผู้ถูกห้ามประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขันทั้ง 2 ฝ่าย เช่น คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็ถูกห้ามประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขันคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง

จำเป็นต้องทำสัญญาห้ามแข่งขัน หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้คู่สัญญาต้องจัดทำสัญญาห้ามแข่งขันระหว่างกัน

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจได้รับข้อมูลทางการค้าที่สำคัญ ได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ในระหว่างการทำงาน เจรจาต่อรอง การเปิดเผยข้อมูล การดำเนินโครงการร่วมกัน หรือการดำเนินการอื่นๆ ร่วมกันระหว่างคู่สัญญานั้น ซึ่งหากคู่สัญญาฝ่ายนั้นออกไปทำงานให้กับกิจการของคู่แข่งหรือออกไปเปิดกิจการแข่งขันแล้วอาจทำให้คู่สัญญาฝ่ายที่ให้ข้อมูลและให้การฝึกอบรมเกิดความเสียหายได้หรือเสียเปรียบทางการค้าได้ ในกรณีเช่นนี้ คู่สัญญาจึงอาจพิจารณาจัดทำสัญญาห้ามแข่งขันเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามในสัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันและรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจของคู่สัญญา

ไม่ควรระบุ/กำหนดข้อมูลลักษณะใดลงในสัญญาห้ามแข่งขัน

คู่สัญญาไม่ควรรระบุ/กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการห้ามประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม (เช่น การห้ามที่มากเกินไป ไม่เหมาะสมกับพฤติการณ์ในแต่ละกรณี) อันอาจทำให้สัญญาห้ามแข่งขันไม่สามารถบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย

โดย คู่สัญญาอาจพิจารณาปัจจัย ดังต่อไปนี้ ในการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการห้ามประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขัน

  • ขอบเขตงานและ/หรือกิจการที่ถูกห้าม
  • บริเวณ/พื้นที่ที่ถูกห้าม
  • ระยะเวลาการห้าม
  • ความจำเป็นในการป้องกันและรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจ
  • ค่าตอบแทนที่ผู้ถูกห้ามได้รับ
  • ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลสำคัญของผู้ถูกห้าม
  • ความสามารถในการประกอบอาชีพ/กิจการอื่นของผู้ถูกห้าม

ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ข้อสัญญาหรือข้อตกลงการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการ สามารถบังคับใช้ได้หรือไม่ อย่างไร ภายใต้กฎหมายไทย


สัญญาห้ามแข่งขันเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาห้ามแข่งขัน ได้แก่

  • ผู้จำกัด/ผู้ห้าม (เช่น คู่สัญญาฝ่ายห้ามคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขันกับตน) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้จำกัด (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้จำกัดมอบหมายให้รับผิดชอบ (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาห้ามแข่งขันในฐานะผู้จำกัด
  • ผู้ถูกจำกัด/ผู้ถูกห้าม (เช่น คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกห้ามประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขันและไม่สามารถประกอบอาชีพ/กิจการที่กำหนดได้) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ถูกจำกัด (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ถูกจำกัดมอบหมาย (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาห้ามแข่งขันในฐานะผู้ถูกจำกัด

คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายอาจมีสถานะเป็นทั้งผู้จำกัดและผู้ถูกจำกัดในเวลาเดียวกันก็ได้


ควรกำหนดระยะเวลาของสัญญาห้ามแข่งขัน อย่างไร

คู่สัญญาไม่ควรรระบุ/กำหนดระยะเวลาการห้ามประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม (เช่น การห้ามที่มากเกินไป ไม่เหมาะสมกับพฤติการณ์ในแต่ละกรณี) อันอาจทำให้สัญญาห้ามแข่งขันไม่สามารถบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย

เพื่อให้ข้อตกลงเกี่ยวกับการห้ามประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขันที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับพฤติการณ์ในแต่ละกรณี คู่สัญญาอาจพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ ในการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการห้ามประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขัน

  • ขอบเขตงานและ/หรือกิจการที่ถูกห้าม
  • บริเวณ/พื้นที่ที่ถูกห้าม
  • ระยะเวลาการห้าม
  • ความจำเป็นในการป้องกันและรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจ
  • ค่าตอบแทนที่ผู้ถูกห้ามได้รับ
  • ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลสำคัญของผู้ถูกห้าม
  • ความสามารถในการประกอบอาชีพ/กิจการอื่นของผู้ถูกห้าม

ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ข้อสัญญาหรือข้อตกลงการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการ สามารถบังคับใช้ได้หรือไม่ อย่างไร ภายใต้กฎหมายไทย


จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาห้ามแข่งขันแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการแข่งขันเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาดังกล่าวให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาห้ามแข่งขันเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาห้ามแข่งขันฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ

สัญญาห้ามแข่งขันจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

ไม่จำเป็น คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำสัญญาห้ามแข่งขัน

สัญญาห้ามแข่งขันจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาห้ามแข่งขันจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาห้ามแข่งขันตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาห้ามแข่งขัน (เช่น คู่สัญญา)

ทำไมจึงต้องมีการห้ามประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขัน

เนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายที่ถูกห้ามประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขันอาจได้รับข้อมูลทางการค้าที่สำคัญ ได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถจากคู่สัญญาฝ่ายที่ห้ามประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขัน ในระหว่างการทำงาน เจรจาต่อรอง การเปิดเผยข้อมูล การดำเนินโครงการร่วมกัน หรือการดำเนินการอื่นๆ ร่วมกันระหว่างคู่สัญญา (เช่น ข้อมูลสำคัญทางการค้า/ทางธุรกิจ รายชื่อและข้อมูลลูกค้า สูตรและกรรมวิธีการผลิตลับเฉพาะ สูตรอาหารและกรรมวิธีการในการปรุงอาหาร ผลงานการออกแบบทางวิศวกรรม ผลงานวิจัยนวัตกรรมใหม่) ซึ่งหากคู่สัญญาฝ่ายนั้นออกไปทำงานให้กับกิจการของคู่แข่งหรือออกไปเปิดกิจการแข่งขันแล้วอาจทำให้คู่สัญญาฝ่ายที่ให้ข้อมูลและให้การฝึกอบรมเกิดความเสียหายได้หรือเสียเปรียบทางการค้าได้ สัญญาห้ามแข่งขันจึงถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันและรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจของคู่สัญญาฝ่ายที่ห้ามประกอบอาชีพ/กิจการแข่งขัน เช่น

  • ป้องกันและคุ้มครองข้อมูลทางการค้า
  • ป้องกันส่วนแบ่งทางการตลาดของกิจการ
  • ป้องกันการซื้อตัวลูกจ้างหรือคู่สัญญาจากกิจการคู่แข่ง
  • บริหารจัดการใช้งบประมาณ ในบางกรณีนายจ้างต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพนักงาน/ลูกจ้างจนมีความรู้ความชำนาญพอที่จะปฏิบัติงานได้ซึ่งหากไม่มีข้อกำหนดห้ามประกอบอาชีพและ/หรือห้ามประกอบกิจการ พนักงาน/ลูกจ้างอาจเปลี่ยนงานหรือถูกซื้อตัวจากกิจการคู่แข่งได้โดยง่าย

อย่างไรก็ดี การจำกัดการประกอบอาชีพและ/หรือประกอบกิจการที่ไม่เป็นธรรม การห้ามประกอบอาชีพ/ประกอบกิจการที่มากเกินไปและไม่เหมาะสมกับพฤติการณ์ในแต่ละกรณี อาจไม่สามารถบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย (เช่น ประเภทกิจการที่ห้าม พื้นที่ที่ห้าม ระยะเวลาการห้าม ค่าตอบแทนที่ได้รับ ความสามารถในการประกอบอาชีพ/กิจการอื่นๆ ของผู้ถูกห้าม)

ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ข้อสัญญาหรือข้อตกลงการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการ สามารถบังคับใช้ได้หรือไม่ อย่างไร ภายใต้กฎหมายไทย


ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาห้ามแข่งขัน

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาห้ามแข่งขัน ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • คู่สัญญาฝ่ายถูกห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการแข่งขัน เช่น คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว หรือคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย
  • ขอบเขตการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือห้ามประกอบกิจการ เช่น ลักษณะ ประเภทงาน หรือกิจการที่ห้าม บริเวณพื้นที่ และระยะเวลา
  • ความจำเป็นและความสัมพันธ์ของคู่สัญญา เช่น การจ้างแรงงาน การเจรจาเปิดเผยข้อมูลสำคัญ/ความลับ การให้บริการ การซื้อขายกิจการ การซื้อหุ้นของบริษัท
  • สภาพบังคับของสัญญา เช่น ค่าปรับ ค่าเสียหายในกรณีที่คู่สัญญาปฏิบัติผิดสัญญา

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการแข่งขัน

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการแข่งขันมี ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม