เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"
ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้
คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว
ปรับปรุงล่าสุด 05/11/2567
รูปแบบที่มีให้ Word และ PDF
ขนาด 15 ถึง 22 หน้า
ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ
คะแนน 4.6 - 215 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์มสัญญากู้ยืมเงิน (Loan Agreement) หรือสัญญากู้เงิน คือ สัญญาที่ผู้ให้กู้นำเงินมาให้กู้ยืมแก่ผู้กู้ โดยที่ผู้กู้ตกลงจะชำระดอกเบี้ยและใช้คืนเงินต้นให้แก่ผู้ให้กู้ตามกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน
จำเป็น เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับกันได้ในกรณีที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นในอนาคต (เช่น ผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้)
ดอกเบี้ย (Interest) คือ ค่าตอบแทนที่ผู้กู้ชำระให้แก่ผู้ให้กู้เพื่อเป็นค่าตอบแทนจากการให้กู้ยืมเงินซึ่งคู่สัญญาสามารถกำหนดอัตรา ระยะเวลาจ่าย และวิธีคำนวณได้ตามที่คู่สัญญาเห็นสมควร
ข้อสำคัญ: เมื่อคิดคำนวณเทียบเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Rate) จะต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี สำหรับการกู้ยืมเงินที่ผู้ให้กู้เป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (เช่น ธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์) ทั้งนี้ อัตราที่กฎหมายกำหนดดังกล่าวไม่รวมถึง เบี้ยปรับ (เช่น ดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัด)
ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงคิดดอกเบี้ยกันเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยที่เกินอัตราจะไม่สามารถใช้บังคับได้ และผู้ให้กู้ยังอาจมีความรับผิดทางอาญาอีกด้วย
คู่สัญญาไม่ควรรระบุ/กำหนดข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมายการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ผู้กู้เป็นสำคัญ เช่น
ในกรณีที่คู่สัญญาจัดทำสัญญากู้ยืมเงินที่มีลักษณะขัดต่อกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ผู้ให้กู้อาจมีความรับผิดทางอาญาตามกฎหมาย
คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการใดๆ ก่อนตามกฎหมายในการจัดทำสัญญากู้ยืมเงิน
อย่างไรก็ดี ก่อนการจัดทำสัญญากู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้อาจมีข้อพิจารณาเกี่ยวกับความเสี่ยงในการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้กู้ เช่น
ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ข้อควรพิจารณาสำหรับผู้ให้กู้ในการให้กู้ยืมเงิน
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญากู้ยืมเงิน ได้แก่
คู่สัญญาย่อมสามารถกำหนดระยะเวลาของสัญญากู้ยืมเงิน (เช่น ระยะเวลาการชำระคืนเงินต้น ระยะเวลาการชำระดอกเบี้ย) ได้ตามความต้องการ
อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจคำนึงถึงปัจจัยที่ต่างๆ เช่น
คู่สัญญาควรจัดทำสัญญากู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามให้เรียบร้อย
เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญากู้ยืมเงินเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้
เมื่อผู้กู้ได้ดำเนินการชำระเงินคืนให้แก่ผู้ให้กู้ตามสัญญากู้ยืมเงิน (เช่น การชำระคืนเงินต้น/ดอกเบี้ย) ผู้ให้กู้อาจดำเนินการออกเอกเอกสาร/หลักฐานการรับเงินให้แก่ผู้กู้ (เช่น ใบสำคัญรับเงิน)
คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญากู้ยืมเงิน เช่น
ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญากู้ยืมเงินจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย
อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญากู้ยืมเงินตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญากู้ยืมเงิน (เช่น คู่สัญญา)
อากรแสตมป์ คู่สัญญามีหน้าที่นำสัญญากู้ยืมเงินที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
คู่สัญญาสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยและวิธีคำนวณดอกเบี้ยได้ตามที่คู่สัญญาเห็นสมควร เช่น
(ก) อัตราก้าวหน้า (Progressive Rate) ตามขั้นบันไดของจำนวนเงินกู้ยืม (เช่น จำนวนเงินกู้ยืม 1-100,000 บาท ร้อยละ 3 ต่อปี ส่วนที่เกิน 100,001 บาทขั้นไปร้อยละ 5 ต่อปี)
(ข) อัตราล่วงหน้าตามระยะเวลาการกู้ยืมเงิน (เช่น เดือนที่ 1-3 ร้อยละ 3 ต่อปี เดือนที่ 4-6 ร้อยละ 5 ต่อปี เดือนที่ 6 เป็นต้นไป ร้อยละ 7.5 ต่อปี)
ไม่ว่าคู่สัญญาจะเลือกกำหนดตกลงอัตราดอกเบี้ยด้วยลักษณะและ/หรือวิธีการคำนวณอย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยและวิธีคำนวณนั้นเมื่อคิดคำนวณเทียบเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Rate) จะต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดสำหรับการกู้ยืมเงินที่ผู้ให้กู้เป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (เช่น ธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์) ทั้งนี้ อัตราที่กฎหมายกำหนดดังกล่าวไม่รวมถึง เบี้ยปรับ (เช่น ดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัด)
ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงคิดดอกเบี้ยกันเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยที่เกินอัตรานั้นจะไม่สามารถใช้บังคับได้ และผู้ให้กู้ยังอาจมีความรับผิดทางอาญาตามกฎหมายอีกด้วย
หลักประกันการชำระหนี้ คือ การทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์/สัญญาเสริม (เช่น การจำนำ/จำนอง การค้ำประกันโดยบุคคลภายนอก) อ้างอิงกับสัญญาประธาน/สัญญาหลัก (เช่น สัญญากู้ยืมเงิน) เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีที่คู่สัญญาปฏิบัติผิดสัญญาประธาน/สัญญาหลัก (เช่น ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนด) คู่สัญญาที่เป็นผู้รับหลักประกัน (เช่น ผู้ให้กู้/เจ้าหนี้) สามารถบังคับเอากับหลักประกันได้ตามขอบเขตและเงื่อนไขที่สัญญาอุปกรณ์/สัญญาเสริมนั้นกำหนดและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ (เช่น ไม่ชำระเงินตามกำหนดระยะเวลา) ผู้ให้กู้อาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้
ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: การทวงหนี้จากลูกหนี้อย่างถูกกฎหมายและมีประสิทธิภาพ
คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญากู้ยืมเงิน ดังต่อไปนี้
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญากู้ยืมเงินมี ดังต่อไปนี้
คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ
ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร
คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป
ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้
คู่มือต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คุณ
สัญญากู้ยืมเงิน - ตัวอย่างแบบฟอร์ม - Word และ PDF
ประเทศ: ประเทศไทย