หนังสือรับสภาพหนี้ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือรับสภาพหนี้

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 06/09/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด3 ถึง 4 หน้า
4.5 - 56 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 06/09/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 3 ถึง 4 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.5 - 56 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือรับสภาพหนี้คืออะไร

หนังสือรับสภาพหนี้ หรือบันทึกรับสภาพหนี้ คือ หนังสือที่ออกและลงนามโดยลูกหนี้เพียงฝ่ายเดียว เพื่อแสดงว่าลูกหนี้มีหนี้ติดค้างแก่เจ้าหนี้ สาเหตุ/แหล่งที่มาของหนี้ และเงื่อนไขการชำระหนี้นั้นให้แก่เจ้าหนี้

โดยหนี้ที่ติดค้างนั้นอาจเป็นหนี้จากเหตุต่างๆ เช่น

  • เงินกู้ยืมกันระหว่างผู้ให้กู้และลูกหนี้/ผู้กู้ (เช่น สัญญากู้ยืมเงิน)
  • ค่าเสียหายจากการกระทำระหว่างลูกหนี้/ผู้ก่อความเสียหายกับผู้ได้รับความเสียหาย
  • ค่าสินค้าที่ค้างชำระระหว่างลูกหนี้/ผู้ซื้อสินค้าและผู้ขายสินค้า
  • หนี้จากสาเหตุอื่นๆ


จำเป็นต้องทำหนังสือรับสภาพหนี้ หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้จำเป็นต้องทำหนังสือรับสภาพหนี้ หนี้ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ว่าเกิดจากผลของสัญญาหรือผลตามกฎหมายย่อมมีความสมบูรณ์

อย่างไรก็ดี การจัดทำหนังสือรับสภาพหนี้จะลดความเสี่ยงในการเกิดข้อโต้แย้งของลูกหนี้ว่าเป็นหนี้ดังกล่าวต่อเจ้าหนี้จริง หรือไม่ และในบางกรณีการจัดทำหนังสือรับสภาพหนี้ก็อาจเป็นประโยชน์กับเจ้าหนี้และ/หรือลูกหนี้ เช่น

  • หนี้ที่เกิดขึ้นจากผลของกฎหมาย (เช่น ค่าเสียหายจากการกระทำระหว่างลูกหนี้/ผู้ก่อความเสียหายกับผู้ได้รับความเสียหาย) หากลูกหนี้จัดทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ ย่อมเกิดความชัดเจนแก่ทั้ง 2 ฝ่าย (เช่น ขอบเขต/จำนวนเงินค่าเสียหายที่ลูกหนี้จะต้องชำระ กำหนดระยะเวลาและวิธีการชำระหนี้) อีกทั้ง เจ้าหนี้ยังมีเอกสาร/หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ใช้อ้างอิงกับลูกหนี้ได้อีกด้วย
  • การรับสภาพหนี้ลงในหนังสือรับสภาพหนี้จะเริ่มนับอายุความหนี้นั้นใหม่ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับเจ้าหนี้ (เช่น ทำให้เจ้าหนี้มีระยะเวลาใช้สิทธิบังคับชำระหนี้ตามกฎหมายเพิ่มขึ้น) เนื่องจากการที่ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ก่อนที่อายุความเดิมจะสิ้นสุดลงเป็นสาเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามกฎหมายเกี่ยวกับอายุความ


หนังสือรับสภาพหนี้เกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือรับสภาพหนี้ ได้แก่

  • ลูกหนี้ ตัวแทนผู้มีอำนาจของลูกหนี้ (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ลูกหนี้มอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระหนี้ (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย) ซึ่งเป็นผู้จัดทำและลงนามในหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ให้แก่เจ้าหนี้
  • เจ้าหนี้ ผู้ได้รับหนังสือรับสภาพหนี้และนำไปใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานต่อไป
  • ผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ในกรณีที่ลูกหนี้จัดให้มีหลักประกันการชำระหนี้โดยการค้ำประกันโดยบุคคลภายนอก ในกรณีเช่นนี้ ผู้ค้ำประกันต้องจัดทำและลงนามในหนังสือค้ำประกันให้ไว้แก่เจ้าหนี้ด้วย


บุคคลใดไม่สามารถลงนามและ/หรือเข้าทำหนังสือรับสภาพหนี้

ลูกหนี้ ตัวแทนผู้มีอำนาจของลูกหนี้ (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ลูกหนี้มอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระหนี้ (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย) เท่านั้น ที่ควรเป็นผู้ลงนามในหนังสือรับสภาพหนี้ แล้วแต่กรณี


จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว

เมื่อจัดทำและลงนามในหนังสือรับสภาพหนี้เรียบร้อยแล้ว ลูกหนี้อาจนำส่งหนังสือรับสภาพหนี้ให้เจ้าหนี้จัดเก็บเพื่อใช้อ้างอิงและเป็นหลักฐานของการรับสภาพหนี้ โดยลูกหนี้อาจทำคู่ฉบับของหนังสือรับสภาพหนี้ไว้มากกว่าหนึ่งฉบับเพื่อให้ลูกหนี้หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง (เช่น ผู้ค้ำประกัน) เก็บไว้อ้างอิงด้วยก็ได้

นอกจากนี้ ลูกหนี้ยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ลูกหนี้ระบุไว้ในหนังสือรับสภาพหนี้ด้วย (เช่น การดำเนินการชำระหนี้ตามจำนวน ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กำหนด)


จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบหนังสือรับสภาพหนี้ด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น โดยทั่วไปหนังสือรับสภาพหนี้ที่ระบุข้อมูลถูกต้องและครบถ้วนย่อมมีผลผูกพันกับลูกหนี้

อย่างไรก็ดี เจ้าหนี้และลูกหนี้อาจพิจารณาแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบหนังสือรับสภาพหนี้ตามที่เห็นสมควรเพิ่มเติมด้วยก็ได้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ในการนำไปใช้พิจารณาอ้างอิงและ/หรือดำเนินการชำระหนี้ต่อไป เช่น

  • เอกสาร/หลักฐานที่เป็นแหล่งที่มาของหนี้ที่รับสภาพ เช่น สัญญา บันทึกข้อตกลง ใบเสนอราคา หลักฐานการก่อความเสียหาย
  • ตารางการคำนวณจำนวนหนี้ ค่าเสียหาย ดอกเบี้ย และ/หรือค่าปรับ
  • หนังสือขอรับชำระเงิน/ใบแจ้งหนี้ (Invoice) หรือหนังสือทวงถามหนี้ที่เจ้าหนี้เคยส่งให้ลูกหนี้ก่อนหน้า (ถ้ามี)


หนังสือรับสภาพหนี้จำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

เจ้าหนี้และลูกหนี้ไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำหนังสือรับสภาพหนี้

หนังสือรับสภาพหนี้จำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้หนังสือรับสภาพหนี้จำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี เจ้าหนี้และลูกหนี้อาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในหนังสือรับสภาพหนี้ตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามหนังสือรับสภาพหนี้ (เช่น ลูกหนี้)


ทำไมเจ้าหนี้ต้องการให้ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ ทั้งๆ ที่มีสัญญา/บันทึกข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่แล้ว

เนื่องจากการที่ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ก่อนที่อายุความเดิมตามสัญญา/บันทึกข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรจะสิ้นสุดลงเป็นสาเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามกฎหมายเกี่ยวกับอายุความ และทำให้หนี้ที่ลูกหนี้ยอมรับสภาพกับเจ้าหนี้ในหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเริ่มนับอายุความใหม่ ซึ่งจะทำให้เจ้าหนี้มีระยะเวลาใช้สิทธิบังคับชำระหนี้ตามกฎหมายเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดในแต่ละกรณี

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในหนังสือรับสภาพหนี้

ลูกหนี้ควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือรับสภาพหนี้ ดังต่อไปนี้

  • ลูกหนี้และเจ้าหนี้ เช่น ชื่อ ที่อยู่
  • มูลหนี้/ที่มาของหนี้ที่ลูกหนี้ตกลงยอมรับ เช่น เกิดจากการกู้ยืมเงิน การกระทำละเมิด ก่อความเสียหาย การปฏิบัติผิดข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้ หรือจากสาเหตุอื่นๆ อันทำให้ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวกับลูกหนี้
  • หนี้ที่ลูกหนี้ยอมรับ เช่น จำนวนเงิน และดอกเบี้ย (ถ้ามี)
  • การชำระหนี้ เช่น กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ วิธีการชำระหนี้
  • อื่นๆ (ถ้ามี) เช่น หลักประกันการชำระหนี้ การแสดงความยินยอมและ/หรือการสละสิทธิบางอย่างของลูกหนี้เกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว


กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับหนังสือรับสภาพหนี้

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือรับสภาพหนี้มี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม