ใบสำคัญรับเงิน กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

ใบสำคัญรับเงิน

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 12/09/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด1 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 12/09/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 1 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

ใบเสร็จรับเงินคืออะไร

ใบเสร็จรับเงิน หรือใบสำคัญรับเงิน (Receipt) คือ เอกสารที่ผู้รับเงิน (เช่น ผู้ขายสินค้า ผู้ให้บริการ ผู้รับจ้าง) ออกให้แก่ผู้ชำระเงิน (เช่น ผู้ซื้อสินค้า ผู้ใช้บริการ ผู้ว่าจ้าง ลูกค้า) เพื่อเป็นการแสดงว่าผู้ชำระเงินได้ชำระเงินนั้น (เช่น ค่าสินค้า ค่าบริการ หรือเงินค่าอื่นๆ) เสร็จเรียบร้อยแล้วตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบเสร็จรับเงิน ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินตามสัญญาใดๆ (เช่น สัญญาซื้อขายสินค้า สัญญาจ้างผลิตสินค้า สัญญาบริการ) หรือไม่มีการจัดทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างกันก็ตาม

โดยใบเสร็จรับเงินอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ชำระเงิน ดังต่อไปนี้

  • ผู้ชำระเงินสามารถเก็บไว้ใช้เป็นหลักฐานเพื่อแสดงกับผู้รับเงิน/ผู้เกี่ยวข้องว่าตนได้ชำระเงินจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบเสร็จรับเงินไปแล้วจริง
  • ผู้ชำระเงินสามารถใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่น/ตรวจสอบภาษีเงินได้ของกรมสรรพากร ในการนำจำนวนเงินดังกล่าวมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ ค่าลดหย่อน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามหลักเกณฑ์ทางภาษี

ใบเสร็จรับเงินและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าแตกต่างกัน อย่างไร

ใบเสร็จรับเงินและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าต่างก็เป็นใบสำคัญรับเงินที่ผู้รับเงินออกให้แก่ผู้ที่จ่าย/ชำระเงิน เพื่อให้ผู้จ่าย/ชำระเงินยึดถือไว้เป็นหลักฐานแห่งการชำระเงินนั้นๆ

อย่างไรก็ดี ใบเสร็จรับเงินถูกร่างขึ้นและมีข้อความสำหรับการรับเงินทั่วไป (เช่น การขายสินค้า/ให้บริการ) ในขณะที่ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าถูกร่างขึ้นและมีข้อความสำหรับการรับเงินค่าเช่าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการเช่าโดยเฉพาะ (เช่น ค่าเช่า ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสาธารณูปโภคอื่นๆ)

จำเป็นต้องทำใบเสร็จรับเงิน หรือไม่

อาจจำเป็น กฎหมายกำหนดให้ผู้รับเงิน (เช่น ผู้ขายสินค้า ผู้ให้บริการ ผู้รับจ้าง) มีหน้าต้องออกใบเสร็จรับเงินทันทีเมื่อได้รับเงินจากผู้ชำระเงิน (เช่น ผู้ซื้อสินค้า ผู้ใช้บริการ ผู้ว่าจ้าง ลูกค้า) ในกรณี ดังต่อไปนี้

  • ผู้รับเงินเป็นบุคคลตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดให้มีหน้าที่ต้องออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระเงิน ไม่ว่าผู้ชำระเงินจะร้องขอหรือไม่ก็ตาม
  • เมื่อผู้ชำระเงินหรือผู้มีส่วนได้เสียร้องขอ (เช่น ผู้ซื้อสินค้า ผู้ใช้บริการ ผู้ว่าจ้าง ลูกค้า หรือตัวแทน)

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในใบเสร็จรับเงิน

ผู้รับเงินควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในใบเสร็จรับเงิน ดังต่อไปนี้

  • ผู้รับเงิน เช่น ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้รับเงินซึ่งเป็นผู้ออกใบเสร็จรับเงิน
  • ผู้ชำระเงิน เช่น ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้า ผู้ใช้บริการ ผู้ว่าจ้าง หรือลูกค้าซึ่งเป็นผู้ชำระเงิน
  • เลขที่อ้างอิง เช่น เลขลำดับของใบเสร็จรับเงิน และเลขที่เล่มของใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
  • วันที่จัดทำ เช่น วัน เดือน ปี ที่ออกใบเสร็จรับเงิน
  • จำนวนเงิน เช่น จำนวนเงินที่ได้รับ
  • รายละเอียดของเงินที่ชำระ เช่น ชนิด/ชื่อ รายการ จำนวน และราคาสินค้า/บริการต่อหน่วยแต่ละรายการ

ไม่ควรระบุ/กำหนดข้อมูลลักษณะใดลงในใบเสร็จรับเงิน

เนื่องจากใบเสร็จรับเงินเป็นการรับรองข้อเท็จจริงโดยผู้รับเงินเกี่ยวกับการได้รับชำระเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ใบเสร็จรับเงินนั้นแล้วจากผู้ชำระเงิน ผู้รับเงินจึงไม่ควรระบุข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือข้อมูลที่เป็นเท็จไม่ตรงตามความเป็นความจริง (เช่น จำนวนเงิน รายการ ผู้ชำระเงิน)

ทั้งนี้ เนื่องจากหากมีการนำใบเสร็จรับเงินไปใช้ประกอบอ้างอิง และปรากฏว่าข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง/ไม่เป็นจริงนั้นทำให้บุคคลอื่นเสียหาย ผู้รับเงินซึ่งเป็นผู้ออกใบเสร็จรับเงินที่ไม่ถูกต้องนั้นอาจถูกดำเนินการทางกฎหมายและอาจมีความรับผิด/โทษตามกฎหมาย

จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำใบเสร็จรับเงิน

ก่อนการดำเนินการจัดทำใบเสร็จรับเงิน ผู้รับเงินควรตรวจสอบให้มั่นใจก่อนว่าผู้รับเงินได้รับชำระเงิน (เช่น ค่าสินค้า ค่าบริการ หรือเงินค่าอื่นๆ) ถูกต้องและครบถ้วนตามจำนวนเงินที่จะระบุลงในใบเสร็จรับเงิน

ใบเสร็จรับเงินเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำใบเสร็จรับเงิน ได้แก่

  • ผู้รับเงิน (เช่น ผู้ขายสินค้า ผู้ให้บริการ ผู้รับจ้าง) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้รับเงิน (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้รับเงินมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการเรียกเก็บและรับชำระเงิน (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน/บัญชี) ซึ่งเป็นผู้จัดทำและลงนามในใบเสร็จรับเงินเพื่อเป็นหลักฐานแห่งการได้รับชำระเงินจำนวนนั้นๆ
  • ผู้ชำระเงิน (เช่น ผู้ซื้อสินค้า ผู้ใช้บริการ ผู้ว่าจ้าง ลูกค้า) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ชำระเงิน (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ชำระเงินมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระเงิน (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน/บัญชี) ซึ่งเป็นผู้ชำระเงินและได้รับใบเสร็จรับเงินเพื่อนำไปใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานการชำระเงินจำนวนนั้นๆ

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในใบเสร็จรับเงินแล้ว

ผู้รับเงินควรจัดทำใบเสร็จรับเงินเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้รับเงินหรือตัวแทนของผู้รับเงิน

เมื่อจัดทำและลงนามในใบเสร็จรับเงินเรียบร้อยแล้ว ผู้รับเงินอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ผู้รับเงินจัดทำสำเนาใบเสร็จรับเงินไว้เพื่อการอ้างอิงในอนาคต
  • ผู้รับเงินนำส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชำระเงินเพื่อนำไปใช้อ้างอิงต่อไป (เช่น ใช้เป็นเอกสาร/หลักฐานประกอบการยื่นภาษี) โดยผู้รับเงินอาจนำส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชำระเงินตามที่อยู่ วิธีการ และรูปแบบการส่งคำบอกกล่าวที่กำหนดไว้โดยเฉพาะไว้ในสัญญา (ถ้ามี) (เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์) ในกรณีที่ไม่มีการจัดทำสัญญาระหว่างกันหรือไม่มีการกำหนดวิธีการและรูปแบบการส่งคำบอกกล่าวเอาไว้ในสัญญาโดยเฉพาะ ผู้รับเงินอาจนำส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชำระเงินด้วยตนเองในขณะที่ได้รับการชำระเงิน หรือไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังสำนักงานหรือภูมิลำเนาของผู้ชำระเงิน แล้วแต่กรณี

ใบเสร็จรับเงินจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

ผู้รับเงินไม่จำเป็นต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำใบเสร็จรับเงิน

อย่างไรก็ดี ในกรณีผู้รับเงินเป็นบุคคลตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดให้มีหน้าที่ต้องออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระเงิน ผู้รับเงินอาจมีหน้าที่ต้องเก็บสำเนาใบเสร็จรับเงินไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามกฎหมาย เพื่อการตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง (เช่น กรมสรรพากร)

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำใบเสร็จรับเงิน

ผู้รับเงินซึ่งเป็นผู้ขายสินค้า/ผู้ให้บริการอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการขายสินค้า/ให้บริการ ดังต่อไปนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) ผู้ขายสินค้า/ผู้ให้บริการอาจมีหน้าที่ต้องยื่นแบบและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนให้แก่กรมสรรพากรตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่ ในกรณีที่ผู้ขายสินค้า/ผู้ให้บริการได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (เช่น ผู้ขายสินค้า/ผู้ให้บริการเป็นกิจการขนาดย่อมที่มีฐานภาษีไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี การขายสินค้า/บริการที่อยู่ภายใต้ภาษีธุรกิจเฉพาะ การขายสินค้า/บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล การขายสินค้า/บริการการศึกษาของสถานศึกษา การขายสินค้า/บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์)

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับใบเสร็จรับเงิน

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำใบเสร็จรับเงินมี ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม