เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"
ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้
คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว
ปรับปรุงล่าสุด 12/10/2567
รูปแบบที่มีให้ Word และ PDF
ขนาด 2 ถึง 3 หน้า
ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ
กรอกแบบฟอร์มหนังสือเลิกจ้าง (Dismissal Letter) หรือหนังสือบอกกล่าวการเลิกจ้าง คือ หนังสือที่ออกโดยนายจ้างเพื่อแสดงความประสงค์ที่จะบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่มีระหว่างนายจ้างและพนักงาน/ลูกจ้างผู้ที่จะถูกเลิกจ้าง ไม่ว่าจะได้มีการทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นลายลักษณ์อักษรไว้หรือไม่ก็ตาม
หนังสือเลิกจ้างและหนังสือลาออกต่างก็เป็นหนังสือที่ถูกจัดทำขึ้นและมีวัตถุประสงค์เพื่อบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่มีระหว่างนายจ้างและพนักงาน/ลูกจ้างเหมือนกัน อย่างไรก็ดี หนังสือเลิกจ้างเป็นหนังสือที่ออกโดยนายจ้าง (เช่น การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานโดยนายจ้าง) ในขณะที่หนังสือลาออกเป็นหนังสือที่ออกโดยพนักงาน/ลูกจ้างเอง (เช่น การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานโดยพนักงาน/ลูกจ้าง)
ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: การเลิกจ้างและการลาออกจากการเป็นพนักงาน/ลูกจ้าง และในกรณีที่พนักงาน/ลูกจ้างต้องการบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน/ลาออก ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้หนังสือลาออก
จำเป็น แม้กฎหมายคุ้มครองแรงงานจะไม่ได้บังคับให้การเลิกจ้างต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งให้พนักงาน/ลูกจ้างทราบ แต่นายจ้างก็ควรจัดทำหนังสือเลิกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนาม โดยนายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างที่มีอำนาจออกคำสั่งเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้าง (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล หัวหน้างาน/ผู้บังคับบัญชา)
ทั้งนี้ เพื่อความชัดเจนและเพื่อเป็นหลักฐานแห่งการแจ้งข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างต่อพนักงาน/ลูกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้าง เนื่องจากนายจ้างจะไม่สามารถยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในภายหลังได้ (เช่น ในการพิจารณาคดีของศาลแรงงาน) หากนายจ้างไม่ได้ระบุ/แจ้งข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างต่อพนักงาน/ลูกจ้างในขณะเลิกจ้าง
นายจ้างควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้
ข้อสำคัญ: นายจ้างต้องระบุ/แจ้งข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างต่อพนักงาน/ลูกจ้างในขณะเลิกจ้างจึงจะสามารถยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในภายหลังได้ (เช่น ในการพิจารณาคดีของศาลแรงงาน)
เนื่องจากการจ้างแรงงานตกอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานที่มีหลักสำคัญอยู่ที่การคุ้มครองพนักงาน/ลูกจ้างซึ่งคู่สัญญาไม่สามารถตกลงให้แตกต่าง หรือยกเว้นข้อกฎหมายดังกล่าวอันทำให้พนักงาน/ลูกจ้างได้รับประโยชน์น้อยไปกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ นายจ้างอาจจำเป็นต้องพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของพนักงาน/ลูกจ้างในกรณีการเลิกจ้างให้สอดคล้องตามกฎหมายแรงงาน
คู่สัญญาจึงไม่ควรระบุ/กำหนดข้อมูลเกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ขัดต่อกฎหมายแรงงานลงในหนังสือเลิกจ้าง โดยเฉพาะข้อมูลที่ทำให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์น้อยไปกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น
ก่อนการจัดทำหนังสือเลิกจ้าง นายจ้างอาจมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้
นายจ้างควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าเหตุที่จะเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้างนั้นเป็นเหตุอันสมควร เช่น
ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร อาจถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (Unfair Dismissal) ซึ่งพนักงาน/ลูกจ้างอาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือศาลแรงงานให้มีคำสั่งบังคับให้นายจ้างรับพนักงาน/ลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อหรือจ่ายค่าเสียหายแทนได้ เช่น
ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้างด้วยเหตุที่พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างไม่ร้ายแรง (เช่น เข้างานสาย) หรือมีผลการปฏิบัติงานที่ไม่ดีหรือบกพร่องในเรื่องทั่วไปที่ไม่ได้ร้ายแรงหรือก่อให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (เช่น ทำงานผิดพลาดเล็กน้อย) นายจ้างอาจพิจารณาพูดคุย ว่ากล่าว ตักเตือน ด้วยวาจา รวมถึง กำหนดแนวทางและระยะเวลาให้พนักงาน/ลูกจ้างปรับปรุงแก้ไข และอาจจัดทำหนังสือตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร ตามลำดับ เพื่อให้พนักงาน/ลูกจ้างได้มีโอกาสพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมหรือการปฏิบัติงานก่อนที่นายจ้างจะพิจารณาเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้างคนดังกล่าว ทั้งนี้ เนื่องจากในกรณีที่พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ไม่ร้ายแรง/ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายสำคัญแก่นายจ้าง ในความผิดเดิมซ้ำๆ ภายใน 1 ปี ซึ่งนายจ้างได้เคยตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว (เช่น เข้างานสายเป็นประจำ ทำงานผิดพลาดเป็นประจำ) นายจ้างย่อมสามารถเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้างดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวการเลิกจ้างล่วงหน้าและไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือเลิกจ้าง ได้แก่
นายจ้าง (เช่น บุคคลที่ว่าจ้างลูกจ้างให้ทำงานให้กับตน และจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง) ตัวแทนผู้มีอำนาจของนายจ้าง (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่นายจ้างมอบหมายให้มีอำนาจออกคำสั่งเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้าง (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล หัวหน้างาน/ผู้บังคับบัญชา) เท่านั้น ที่ควรเป็นผู้ลงนามในหนังสือเลิกจ้าง
นายจ้างอาจมีข้อพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดวันที่การเลิกจ้างมีผลบังคับ ดังต่อไปนี้
นายจ้างต้องบอกกล่าวการเลิกจ้างล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างแรงงาน (ถ้ามี) ข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง (ถ้ามี) หรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แล้วแต่ระยะเวลาใดจะเป็นประโยชน์กับพนักงาน/ลูกจ้างมากที่สุด
โดยระยะเวลาขั้นต่ำที่นายจ้างต้องบอกกล่าวการเลิกจ้างล่วงหน้าตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เช่น
นายจ้างอาจไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวการเลิกจ้างล่วงหน้าและสามารถกำหนดวันที่การเลิกจ้างมีผลบังคับได้ทันที ในกรณี ดังต่อไปนี้
พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรง เช่น ขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยไม่มีเหตุสมควรและทำให้นายจ้างเสียหาย ทะเลาะวิวาทในที่ทำงาน
พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง ในความผิดเดิมซ้ำอีกภายใน 1 ปี ซึ่งนายจ้างได้เคยตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เช่น เข้างานสายเป็นประจำ ทำงานผิดพลาดเป็นประจำ
พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติงานหรือกระทำการที่ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เช่น ประมาท ไม่ระมัดระวัง ทำงานผิดพลาดในเรื่องสำคัญ ขาดทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญในงานที่ทำ ทำงานไม่ได้ตามความมุ่งหมายของสัญญาจ้าง
พนักงาน/ลูกจ้างมีพฤติกรรมทุจริต เช่น เรียกรับเงินสินบนจากคู่ค้า ใช้ให้พนักงานในบังคับบัญชาทำงานส่วนตัวให้
พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายอาญาต่อนายจ้างหรือในที่ทำงาน เช่น ลักทรัพย์ ยักยอก ทำลายทรัพย์ของนายจ้าง เล่นการพนันในที่ทำงาน ล่วงละเมิดทางเพศ
พนักงาน/ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ ตั้งแต่ 3 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร เช่น ขาดงาน ไม่มาทำงาน
พนักงาน/ลูกจ้างถูกพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกซึ่งไม่ใช่ความผิดกระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
พนักงาน/ลูกจ้างถูกพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษซึ่งทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: การเลิกจ้างและการลาออกจากการเป็นพนักงาน/ลูกจ้าง และคู่มือทางกฎหมาย: นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างออกจากงานในกรณีใดบ้าง
นายจ้างจัดทำหนังสือเลิกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยนายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างที่มีอำนาจออกคำสั่งเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้าง (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล หัวหน้างาน/ผู้บังคับบัญชา) โดยจัดทำสำเนาเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างเพื่อการอ้างอิงในอนาคต
นายจ้างอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเลิกจ้าง โดยเฉพาะหลักฐานที่แสดงว่าพนักงาน/ลูกจ้างกระทำความผิดอันเป็นสาเหตุที่เลิกจ้าง (ถ้ามี) เช่น บันทึกวันและเวลาที่พนักงาน/ลูกจ้างเข้างานสาย-ออกงานก่อนเวลา ภาพบันทึกจากกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่พนักงาน/ลูกจ้างมีพฤติกรรมทุจริต รายงานผลการประเมินการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามตัววัดผล (KPIs)
นายจ้างนำส่งหนังสือเลิกจ้างให้แก่พนักงาน/ลูกจ้าง เพื่อบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานของพนักงาน/ลูกจ้าง
เนื่องจากข้อมูลการถูกเลิกจ้างของพนักงาน/ลูกจ้างอาจถือเป็นข้อมูลความลับและข้อมูลเฉพาะบุคคล ในการนำส่งหนังสือเลิกจ้างให้แก่พนักงาน/ลูกจ้าง นายจ้างอาจส่งมอบด้วยวิธีลับ (เช่น บรรจุซองปิดผนึกและระบุชั้นความลับที่หน้าซองจดหมาย)
นายจ้างชำระเงินที่พนักงาน/ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้างแรงงาน ข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง และ/หรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน (ถ้ามี) แล้วแต่กรณี ให้แก่พนักงาน/ลูกจ้าง เช่น ค่าจ้าง/เงินเดือนที่คำนวณจนถึงวันที่สิ้นสุดการจ้าง ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าปรับกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด เงินหลักประกันการทำงาน
นายจ้างอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเลิกจ้าง โดยเฉพาะหลักฐานที่แสดงว่าพนักงาน/ลูกจ้างกระทำความผิดอันเป็นสาเหตุที่เลิกจ้าง (ถ้ามี) เช่น
ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดให้นายจ้างต้องระบุ/แจ้งข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างต่อพนักงาน/ลูกจ้างในขณะเลิกจ้างจึงจะสามารถยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในภายหลังได้ (เช่น ในการพิจารณาคดีของศาลแรงงาน)
นายจ้างไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำหนังสือเลิกจ้าง
อย่างไรก็ดี เมื่อการจ้างงานของพนักงาน/ลูกจ้างภายในสถานประกอบกิจการของนายจ้างได้สิ้นสุดลง (เช่น ถูกเลิกจ้าง ลาออก) นายจ้างมีหน้าที่ต้องแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนของพนักงาน/ลูกจ้างต่อสำนักงานประกันสังคมภายในระยะเวลาที่กำหนด
เมื่อนายจ้างเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้าง นายจ้างอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมและจ่ายให้แก่พนักงาน/ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้างแรงงาน ข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง และ/หรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แล้วแต่กรณี เช่น
ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: การเลิกจ้างและการลาออกจากการเป็นพนักงาน/ลูกจ้าง และคู่มือทางกฎหมาย: นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างออกจากงานในกรณีใดบ้าง
นายจ้างอาจมีความจำเป็นต้องต้องเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้างของตน ในกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้
อาจจำเป็น นายจ้างอาจจำเป็นต้องทำหนังสือตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้างก่อนทำหนังสือเลิกจ้างในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้างด้วยเหตุที่พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างไม่ร้ายแรง (เช่น เข้างานสาย) หรือมีผลการปฏิบัติงานที่ไม่ดีหรือบกพร่องในเรื่องทั่วไปที่ไม่ได้ร้ายแรงหรือก่อให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (เช่น ทำงานผิดพลาดเล็กน้อย) เพื่อให้พนักงาน/ลูกจ้างได้มีโอกาสพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมหรือการปฏิบัติงานก่อน
อย่างไรก็ดี ในกรณีที่พนักงาน/ลูกจ้างกระทำการที่ถือเป็นความผิดร้ายแรง นายจ้างย่อมสามารถจัดทำหนังสือเลิกจ้างได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องจัดทำหนังสือตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้างก่อน เช่น
นายจ้างสามารถเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่พนักงาน/ลูกจ้างกระทำกการที่ถือเป็นความผิดร้ายแรงหรือการกระทำความผิดซ้ำเดิมเป็นประจำซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและบอกกล่าวล่วงหน้า เช่น
ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างออกจากงานในกรณีใดบ้าง และคู่มือทางกฎหมาย: สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา ทำได้หรือไม่ และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้าง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือเลิกจ้างมี ดังต่อไปนี้
คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ
ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร
คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป
ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้
คู่มือต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คุณ
หนังสือเลิกจ้าง - ตัวอย่างแบบฟอร์ม - Word และ PDF
ประเทศ: ประเทศไทย