การที่ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่าโดยการเลิกจ้างโดยนายจ้างหรือการลาออกโดยตัวลูกจ้างเอง ก็อาจไม่เป็นสิ่งที่พึงประสงค์ของผู้เป็นนายจ้างและ/หรือลูกจ้างมากนัก อย่างไรก็ดี สิ่งที่ไม่ว่านายจ้างและลูกจ้างต่างให้ความสำคัญเมื่อลูกจ้างออกจากงานไปไม่แพ้ไปกว่าเรื่องอื่นๆ เลย นั้นก็คือ การจ่ายค่าชดเชย โดยนายจ้างอาจมีข้อพิจารณาในด้านต้นทุนการบริหารบุคคล การปฏิบัติและความรับผิดตามกฎหมายแรงงาน ในขณะที่ลูกจ้างอาจมีข้อพิจารณาว่าตนมีสิทธิได้รับเงินชดเชยหรือไม่ และมีสิทธิได้รับเงินชดเชยเท่าใด
ค่าชดเชย คือ เงินที่นายจ้างตกลงและจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้างตามเงื่อนไขและอัตราที่ลูกจ้างและนายจ้างอาจได้มีการกำหนดตกลงร่วมกันในสัญญาจ้างแรงงานหรือตามที่นายจ้างประกาศในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (ในกรณีที่นายจ้างมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป) อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ไม่มีการตกลงหรือประกาศเงื่อนไขและอัตราการจ่ายค่าชดเชย หรือในกรณีที่เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดกันในสัญญาหรือที่นายจ้างได้ประกาศไว้นั้นเป็นประโยชน์กับลูกจ้างต่ำกว่าเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมายดังกล่าวเป็นอย่างน้อย
โดยที่วัตถุประสงค์ของการจ่ายค่าชดเชยนั้น กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างก็เพื่อให้ลูกจ้างซึ่งถูกนายจ้างเลิกจ้างนั้นนำเงินดังกล่าวไปเก็บเอาไว้ใช้ดำรงชีวิตในระหว่างที่ลูกจ้างนั้นไม่มีงานทำหรือไม่มีรายได้จากการทำงาน เช่น ในระหว่างที่ลูกจ้างหางานใหม่หรือในระหว่างบั้นปลายชีวิตของลูกจ้างที่แก่ชราจนไม่สามารถทำงานได้
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ค่าชดเชย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณี ดังต่อไปนี้
นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างรายดังกล่าว โดยที่ การเลิกจ้าง คือ การที่นายจ้างกระทำการใดๆ ที่ไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ไม่ว่าการไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างนั้นจะเกิดจากสาเหตุและ/หรือความจำเป็นใดซึ่งไม่ได้รับการยกเว้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน เช่น
ในกรณีที่ไม่ได้มีการกำหนดหรือตกลงการเกษียณอายุเอาไว้ หรือมีการกำหนด/ตกลงการเกษียณอายุไว้เกินกว่า 60 ปี ลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปี สามารถขอเกษียณอายุได้ โดยลูกจ้างจะมีสิทธิจะได้รับค่าชดเชยเช่นกัน
นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษกรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ ให้แก่ลูกจ้าง หากเป็นไปตามเงื่อนไขทั้งหมด ดังต่อไปนี้
นายจ้างต้องจ่าย ค่าชดเชยพิเศษกรณีนายจ้างปรับปรุงหน่วยงานโดยการนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาใช้ ให้แก่ลูกจ้าง หากเป็นไปตามเงื่อนไขทั้งหมด ดังต่อไปนี้
นายจ้างต้องจ่าย ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้แก่ลูกจ้าง หาก
นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตรา ดังต่อไปนี้
อายุงาน | อัตราค่าชดเชยขั้นต่ำ |
ตั้งแต่ 120 วัน ถึง 1 ปี | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน |
ตั้งแต่ 1 ปี ถึง 3 ปี | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน |
ตั้งแต่ 3 ปี ถึง 6 ปี | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน |
ตั้งแต่ 6 ปี ถึง 10 ปี | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน |
ตั้งแต่ 10 ปี ถึง 20 ปี | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน |
ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน |
นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษกรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ ให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตรา ดังต่อไปนี้
อายุงาน | อัตราค่าชดเชยขั้นต่ำ* |
ตั้งแต่ 120 วัน ถึง 1 ปี | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน |
ตั้งแต่ 1 ปี ถึง 3 ปี | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน |
ตั้งแต่ 3 ปี ถึง 6 ปี | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน |
ตั้งแต่ 6 ปี ถึง 10 ปี | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน |
ตั้งแต่ 10 ปี ถึง 20 ปี | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน |
ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป | ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน |
หมายเหตุ: อัตราเดียวกับการจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างทั่วไป
นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษกรณีนายจ้างปรับปรุงหน่วยงานโดยการนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาใช้ ให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตรา ดังต่อไปนี้
ค่าชดเชยพิเศษกรณีนายจ้างปรับปรุงหน่วยงานโดยการนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาใช้ ไม่น้อยกว่า ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วัน ต่ออายุการทำงาน 1 ปี ทั้งนี้ ไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วัน โดยที่ หากมีอายุการทำงานไม่ครบ 1 ปี แต่มากกว่า 180 วัน ให้นับเป็นการทำงานครบ 1 ปี ตัวอย่าง เช่น
นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตรา ดังต่อไปนี้
ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า ค่าจ้างอัตราสุดท้ายตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เช่น
นอกจากเงื่อนไขและอัตราค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้ถูกต้องแล้ว ยังมีกระบวนการและวิธีการอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ให้นายจ้างต้องดำเนินการในแต่ละกรณีด้วย เช่น การบอกกล่าวลูกจ้างล่วงหน้าตามระยะเวลาที่สัญญาหรือกฎหมายกำหนด การประกาศแจ้งให้ลูกจ้างและ/หรือเจ้าพนักงานทราบล่วงหน้าตามแบบและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และกำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าชดเชยในแต่ละกรณี หากนายจ้างไม่แน่ใจในกระบวนการเหล่านี้สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กระทรวงแรงงาน หรือปรึกษาทนายความ
นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง และลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ในกรณี ดังต่อไปนี้
นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ก็ต่อเมื่อ
(ก) สัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนได้สิ้นสุด โดยที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นหนังสือกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ชัดเจนตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้างงาน
(ข) งานที่จ้างจะต้องมีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ดังต่อไปนี้ เท่านั้น
ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ได้จาก คู่มือทางกฎหมาย: สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา ทำได้หรือไม่ และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้างบนเว็บไซต์ของเรา
นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากลูกจ้างกระทำความผิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
นายจ้างอาจทำ หนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง เพื่อเป็นบันทึกหลักฐานว่านายจ้างได้มีการตักเตือนลูกจ้างในการกระทำฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้าง อีกทั้งเพื่อให้ลูกจ้างทราบถึงปัญหาและใช้โอกาสดังกล่าวปรับปรุงแก้ไข ก่อนที่จะมีการเลิกจ้าง
นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้นายจ้างต้องระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน (เช่น หนังสือเลิกจ้าง) หรือแจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างด้วย นายจ้างจึงจะสามารถใช้เหตุดังกล่าวนั้นอ้างในภายหลังได้ (เช่น การอ้างในชั้นศาลหากลูกจ้างได้ดำเนินการฟ้องศาลเกี่ยวกับการเลิกจ้างดังกล่าว) ดังนั้น เพื่อเป็นหลักฐานในการเลิกจ้างและการไม่จ่ายค่าชดเชยโดยชอบธรรม นายจ้างควรทำหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างพร้อมระบุสาเหตุแห่งการเลิกจ้างให้แก่ลูกจ้างด้วย
หากนายจ้างละเว้นไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือจ่ายไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขและ/หรืออัตราที่กฎหมายกำหนด นายจ้างอาจมีความรับผิด เช่น ดอกเบี้ยผิดนัด (เช่น ร้อยละ 15 ต่อปี) หรือโทษทางอาญา (เช่น จำคุก ปรับ หรือทั้ง 2 อย่าง) หากนายจ้างไม่แน่ใจในกระบวนการเหล่านี้สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กระทรวงแรงงาน หรือปรึกษาทนายความ