จดหมายลาออก กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

จดหมายลาออก

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 09/10/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด1 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 09/10/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 1 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือลาออกคืออะไร

ใบลาออก จดหมายขอลาออก หรือหนังสือลาออก (Letter of Resignation) คือ หนังสือที่จัดขึ้นทำโดยพนักงาน/ลูกจ้างส่งถึงนายจ้างของตน เพื่อแสดงความประสงค์ที่จะลาออกจากการทำงานให้กับนายจ้าง โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการลาออกต่างๆ (เช่น วันที่ทำงานวันสุดท้าย เหตุผลในการลาออก อายุงาน การส่งมอบงาน) เพื่อเป็นข้อมูลให้กับนายจ้าง ผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน หรือเพื่อนร่วมงานในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องต่อไป

หนังสือลาออกและหนังสือเลิกจ้างแตกต่างกัน อย่างไร

หนังสือลาออกและหนังสือเลิกจ้างต่างก็เป็นหนังสือที่ถูกจัดทำขึ้นและมีวัตถุประสงค์เพื่อบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่มีระหว่างนายจ้างและพนักงาน/ลูกจ้างเหมือนกัน อย่างไรก็ดี หนังสือลาออกเป็นหนังสือที่ออกโดยพนักงาน/ลูกจ้างเอง (เช่น การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานโดยพนักงาน/ลูกจ้าง) ในขณะที่หนังสือเลิกจ้างเป็นหนังสือที่ออกโดยนายจ้าง (เช่น การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานโดยนายจ้าง)

ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: การเลิกจ้างและการลาออกจากการเป็นพนักงาน/ลูกจ้าง และในกรณีที่นายจ้างต้องการเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้าง ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้หนังสือเลิกจ้าง


จำเป็นต้องทำหนังสือลาออก หรือไม่

ไม่จำเป็น การแสดงเจตนา/ความประสงค์ที่จะลาออก/บอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานสามารถทำเป็นหนังสือหรือวาจาก็ได้

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่สัญญาจ้างแรงงานและ/หรือข้อบังคับการทำงานมีข้อกำหนดให้การลาออกจะต้องทำหนังสือลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยพนักงาน/ลูกจ้าง ในกรณีเช่นนี้พนักงาน/ลูกจ้างก็ควรจัดทำหนังสือลาออกเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นการแสดงถึงความเป็นมืออาชีพและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน แม้พนักงาน/ลูกจ้างอาจไม่มีหน้าที่ความจำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอน เงื่อนไข ระยะเวลา กระบวนการต่างๆ ที่นายจ้างกำหนดไว้แตกต่างนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะกระบวนการหรือเงื่อนไขการลาออกที่เป็นภาระแก่พนักงาน/ลูกจ้าง

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในหนังสือลาออก

พนักงาน/ลูกจ้างควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือลาออก ดังต่อไปนี้

  • พนักงาน/ลูกจ้าง เช่น ชื่อ นามสกุล ตำแหน่งงาน ฝ่ายงาน ส่วนงานที่ตนสังกัด หมายเลขประจำตัวพนักงาน เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • การลาออก เช่น วันที่ให้การลาออกมีผล วันที่จะมาทำงานเป็นวันสุดท้าย และอายุงาน เพื่อนายจ้างวางแผนในการหาพนักงานทดแทน การคำนวณค่าจ้างงวดสุดท้าย รวมถึงการจัดการสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้ตัวพนักงาน/ลูกจ้าง (ถ้ามี) (เช่น การจ่ายเงินให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงาน/ลูกจ้าง)
  • เหตุผลในการลาออก (ถ้ามี) เช่น สาเหตุ/เหตุการณ์ที่ทำให้พนักงาน/ลูกจ้างต้องการลาออก เพื่อให้นายจ้างนำไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไของค์กรต่อไป
  • ข้อมูลอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น การส่งมอบงาน การสอนงานที่ตนรับผิดชอบให้แก่เพื่อนร่วมงาน

จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำหนังสือลาออก

พนักงาน/ลูกจ้างไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดๆ ก่อนตามกฎหมายในการจัดทำหนังสือลาออก

อย่างไรก็ดี พนักงาน/ลูกจ้างอาจพิจารณาพูดคุยด้วยวาจาร่วมกับผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคลและ/หรือหัวหน้างาน/ผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับสาเหตุ/เหตุการณ์ที่ทำให้พนักงาน/ลูกจ้างต้องการลาออกในเบื้องต้นก่อน เนื่องจากสาเหตุ/เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเป็นปัญหาที่นายจ้างสามารถปรับปรุงแก้ไขได้หากได้มีการพูดคุย/แจ้งให้ทราบ

หนังสือลาออกเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือลาออก ได้แก่

  • พนักงาน/ลูกจ้าง (เช่น บุคคลที่ทำงานให้กับนายจ้างเพื่อได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง) ซึ่งเป็นผู้จัดทำและลงนามในหนังสือลาออกเพื่อบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน
  • นายจ้าง (เช่น บุคคลที่ว่าจ้างลูกจ้างให้ทำงานให้กับตน และจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง) ตัวแทนผู้มีอำนาจของนายจ้าง (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่นายจ้างมอบหมายเกี่ยวกับการลาออกของพนักงาน/ลูกจ้าง (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล หัวหน้างาน/ผู้บังคับบัญชา) ซึ่งเป็นผู้ได้รับหนังสือลาออกและถูกบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน

บุคคลใดไม่สามารถลงนามและ/หรือเข้าทำหนังสือลาออก

พนักงาน/ลูกจ้างที่ต้องการจะลาออก เท่านั้น ที่ควรเป็นผู้จัดทำและลงนามในหนังสือลาออก

ควรกำหนดระยะเวลาของหนังสือลาออก อย่างไร

พนักงาน/ลูกจ้างควรจัดทำหนังสือลาออกเพื่อบอกกล่าวการลาออกล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แล้วแต่กรณี เช่น

  • สัญญาจ้างแรงงาน (ถ้ามี)
  • ข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง (ถ้ามี)
  • กฎหมายแรงงาน (เช่น ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่งคราวการจ่ายค่าจ้างสำหรับสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้าง/สัญญาจ้างพนักงานประจำ)

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงถึงความเป็นมืออาชีพและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน แม้พนักงาน/ลูกจ้างอาจไม่มีหน้าที่ความจำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอน เงื่อนไข ระยะเวลา กระบวนการต่างๆ ที่นายจ้างกำหนดไว้แตกต่างนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะกระบวนการหรือเงื่อนไขการลาออกที่เป็นภาระแก่พนักงาน/ลูกจ้าง

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในหนังสือลาออกแล้ว

พนักงาน/ลูกจ้างควรจัดทำหนังสือลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในหนังสือลาออกเรียบร้อยแล้ว พนักงาน/ลูกจ้างอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • พนักงาน/ลูกจ้างอาจจัดเก็บสำเนาหนังสือลาออกนั้นไว้เพื่อการอ้างอิง
  • พนักงาน/ลูกจ้างนำส่งหนังสือลาออกให้แก่นายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้าง (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล หัวหน้างาน/ผู้บังคับบัญชา) เพื่อให้นายจ้างรับทราบและนำไปดำเนินการตามกระบวนการภายในต่อไป
  • พนักงาน/ลูกจ้างอาจดำเนินการอื่นๆ เพิ่มเติมตามช่องทาง วิธีการ กระบวนการ ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างแรงงาน (ถ้ามี) หรือข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง (ถ้ามี) แล้วแต่กรณี เพื่อเป็นการแสดงถึงความเป็นมืออาชีพและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน แม้พนักงาน/ลูกจ้างอาจไม่มีหน้าที่ความจำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอน เงื่อนไข ระยะเวลา กระบวนการต่างๆ ที่นายจ้างกำหนดไว้แตกต่างนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะกระบวนการหรือเงื่อนไขการลาออกที่เป็นภาระแก่พนักงาน/ลูกจ้าง

หนังสือลาออกจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

พนักงาน/ลูกจ้างไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำหนังสือลาออก

อย่างไรก็ดี เมื่อการจ้างงานของพนักงาน/ลูกจ้างภายในสถานประกอบกิจการของนายจ้างได้สิ้นสุดลง (เช่น ถูกเลิกจ้าง ลาออก) นายจ้างมีหน้าที่ต้องแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนของพนักงาน/ลูกจ้างต่อสำนักงานประกันสังคมภายในระยะเวลาที่กำหนด

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำหนังสือลาออก

ในกรณีที่พนักงาน/ลูกจ้างลาออกก่อนกำหนดระยะเวลาของสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน (เช่น สัญญาจ้างพนักงานชั่วคราว สัญญาจ้างพนักงานเป็นฤดูกาล) พนักงาน/ลูกจ้างอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาตามสัญญาจ้างแรงงานและ/หรือข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง (ถ้ามี) แล้วแต่กรณี (เช่น ค่าปรับ/ค่าเสียหายกรณีเลิกสัญญา/ลาออกก่อนกำหนด)

พนักงาน/ลูกจ้างจำเป็นต้องให้นายจ้างอนุมัติการลาออกก่อน หรือไม่

ไม่จำเป็น การลาออกย่อมมีผลเมื่อพนักงาน/ลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกต่อนายจ้าง (เช่น ทำหนังสือลาออกส่งมอบให้แก่นายจ้าง/ตัวแทน)

อย่างไรก็ดี พนักงาน/ลูกจ้างอาจดำเนินการอื่นๆ เพิ่มเติมตามช่องทาง วิธีการ กระบวนการ ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างแรงงาน (ถ้ามี) หรือข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง (ถ้ามี) แล้วแต่กรณี เพื่อเป็นการแสดงถึงความเป็นมืออาชีพและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน แม้พนักงาน/ลูกจ้างอาจไม่มีหน้าที่ความจำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอน เงื่อนไข ระยะเวลา กระบวนการต่างๆ ที่นายจ้างกำหนดไว้แตกต่างนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะกระบวนการหรือเงื่อนไขการลาออกที่เป็นภาระแก่พนักงาน/ลูกจ้าง เช่น

  • กระบวนการอนุมัติการลาออกตามลำดับขั้นของนายจ้าง (เช่น หัวหน้างาน/ผู้บังคับบัญชา ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล ผู้บริหาร)
  • การเข้าร่วมและให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์เพื่อออกจากงานของฝ่ายบุคคล (Exit Interview)

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับหนังสือลาออก

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือลาออกมี ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม