การสิ้นสุดของสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างพนักงานอาจสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การสิ้นสุดโดยผลของกฎหมายหรือสัญญา เช่น
(ก) ตัวลูกจ้าง/พนักงานตาย เนื่องจากการจ้างแรงงานตัวลูกจ้าง/พนักงานถือเป็นสาระสำคัญของสัญญา ดังนี้ เมื่อสาระสำคัญของสัญญาไม่มีอยู่แล้วสัญญาจึงสิ้นสุดลงโดยสภาพ
(ข) การสิ้นสุดตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา ในสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างพนักงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่ชัดเจนและแน่นอน (เช่น 6 เดือน หรือ 1 ปี) จะกำหนดวันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุดการจ้างเอาไว้ชัดเจนในสัญญาจ้าง ในกรณีเช่นนี้สัญญาดังกล่าวก็จะสิ้นสุดลงตามเวลาที่กำหนด โดยผลของข้อตกลงในสัญญาโดยไม่จำเป็นต้องมีการบอกกล่าวกันอีก
(ค) การสิ้นสุดตามเงื่อนไขที่ตกลงกันในสัญญา ในสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างพนักงาน คู่สัญญาอาจมีการตกลงกำหนดเงื่อนไขหรือเหตุการณ์ที่เมื่อเกิดเหตุการณ์หรือเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดนั้นแล้ว ก็จะทำให้สัญญาจ้างนั้นสิ้นสุดลงโดยผลของข้อตกลงในสัญญาโดยไม่จำเป็นต้องมีการบอกกล่าวกันอีกเช่นกัน (เช่น กำหนดให้สัญญาสิ้นสุดเมื่อลูกจ้างได้ปฏิบัติงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการจ้างแล้ว หรือเมื่อลูกจ้างไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมาย/มาตรฐานที่นายจ้างกำหนด) และ
2. การสิ้นสุดโดยการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาของคู่สัญญา เช่น
(ก) การที่ฝ่ายลูกจ้าง/พนักงานแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขอเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ประสงค์จะทำงานให้แก่นายจ้างอีกต่อไป เช่น การลาออก
(ข) การที่ฝ่ายนายจ้างแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขอเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ให้หรือไม่ต้องการให้ลูกจ้างทำงานให้กับตนอีกต่อไปหรือการเลิกจ้าง เช่น การให้ออกจากงานเนื่องการกระทำผิดร้ายแรง การให้ออกจากงานเนื่องจากผลการปฏิบัติงานไม่ผ่านเกณฑ์ หรือการให้ออกจากงานเนื่องจากครบอายุการทำงาน (เกษียณ) หรือการเลิกจ้างเนื่องจากครบกำหนดระยะเวลาการจ้างที่ตกลงจ้าง
ทั้งสองกรณีไม่ว่าจะเป็นการลาออกหรือการเลิกจ้าง การแสดงเจตนาจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดหรือก่อภาระให้แก่ลูกจ้างตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างแรงงานและกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เช่น
(1) การบอกกล่าวการเลิกจ้างหรือลาออกล่วงหน้า
ในการการลาออกหรือการเลิกจ้างซึ่งสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน โดยทั่วไปลูกจ้างหรือนายจ้างต้องบอกกล่าวการลาออกหรือการเลิกจ้างนั้นเป็นลายลักษณ์อักษรให้นายจ้างทราบล่วงหน้าเป็นระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่งคราวการจ่ายค่าจ้าง เช่น ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ลูกจ้างต้องบอกกล่าวการลาออกล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งเดือน หรือในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ ก็บอกกล่าวการลาออกล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ล่วงหน้าก่อนวันที่ลาออกมีผล โดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมหรืออนุมัติจากคู่สัญญาอีกฝ่ายก่อน
นอกจากนี้ ในกรณีที่มีการเลิกจ้างเนื่องจากการใช้เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนการทำงานของลูกจ้าง หรือในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการอันมีผลกระทบต่อลูกจ้าง นายจ้างก็จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามวิธี ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะด้วย
(2) ค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้าง
ในกรณีที่นายจ้างมีความประสงค์จะเลิกจ้างลูกจ้าง/พนักงาน แต่นายจ้างได้ให้ลูกจ้างออกจากงานโดยไม่ได้มีการบอกกล่าวล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้าง นอกจากนี้ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มเติมอีกต่างหากในการเลิกจ้างซึ่งลูกจ้างที่มีอายุการทำงานสูงๆ ตามอัตราและเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดนั้น
สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน เช่น ไม่มีกำหนดการเวลาสิ้นสุดการจ้าง มีกำหนดการเวลาสิ้นสุดการจ้างแต่มีข้อตกลงที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ก่อนกำหนดหรือมีสิทธิต่อขยายระยะเวลาการจ้างได้ สัญญาจ้างพนักงานประจำ หรือสัญญาจ้างทดลองงาน ในขณะที่สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน เช่น สัญญาจ้างพนักงานชั่วคราวที่ไม่มีข้อตกลงที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ก่อนกำหนดหรือมีสิทธิต่อขยายระยะเวลาการจ้างได้
(1) ลูกจ้างสิ้นสุดหน้าที่การทำงานให้กับนายจ้าง
เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้วหน้าที่และความรับผิดชอบในงานที่ต้องทำให้แก่นายจ้างของลูกจ้างก็จบสิ้นด้วย ลูกจ้างไม่ต้องไม่ทำงานให้กับนายจ้างอีก ทั้งนี้ต้องเป็นการเลิกจ้างหรือลาออกชอบด้วยกฎหมายด้วย
(2) หนี้ที่นายจ้างยังคงต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
หนี้ที่ยังคงค้างนายจ้างยังคงต้องชำระให้แก่ลูกจ้างแม้จะได้มีการเลิกสัญญาจ้างไปแล้วก็ตาม เช่น ค่าจ้างคำนวณจนถึงวันที่สิ้นสุดการเป็นลูกจ้าง เงินเดือนค้างจ่าย ค่าชดเชยต่างๆ (ถ้ามี) นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างด้วย
(3) ค่าชดเชยการเลิกจ้างและค่าชดเชยการเลิกจ้างในกรณีพิเศษ
ในกรณีที่มีการเลิกจ้างโดยนายจ้าง หากไม่เป็นการเลิกจ้างที่เข้าข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย ผู้เป็นนายจ้างมีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างและค่าชดเชยการเลิกจ้างในกรณีพิเศษให้แก่ลูกจ้างตามวิธีการ ระยะเวลา อัตรา และเงื่อนไขที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด ได้แก่ ค่าชดเชยการเลิกจ้างกรณีทั่วไปและค่าชดเชยการเลิกจ้างในกรณีพิเศษหากเข้าเงื่อนไขแห่งการเลิกจ้างนั้น เช่น ค่าชดเชยการเลิกจ้างเนื่องจากการใช้เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนการทำงานของลูกจ้าง ค่าชดเชยในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวซึ่งลูกจ้างไม่ประสงค์จะทำงานต่อไปกับนายจ้าง
อย่างไรก็ดี นายจ้างอาจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างให้แก่ลูกจ้างได้หากเข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย เช่น
(4) การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (Unfair Dismissal)
ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้าง นายจ้างจะต้องระบุสาเหตุการเลิกจ้างนั้นด้วย เนื่องจากหากการเลิกจ้างนั้นไม่มีเหตุอันสมควร เช่น เป็นการเลิกจ้างเพื่อกลั่นแกล้งลูกจ้างคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง การเลิกจ้างเนื่องจากพฤติกรรมส่วนตัวเพียงเล็กน้อยซึ่งไม่มีผลกระทบกับการทำงาน ลูกจ้างอาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือศาลแรงงานให้มีคำสั่งบังคับให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อหรือจ่ายค่าเสียหายแทนได้ตามกฎหมาย
ตัวอย่างที่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม เช่น เลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างทำงานไม่ได้ผลตามความมุ่งหมายของสัญญาจ้าง เลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง ลูกจ้างทำงานบกพร่องในหน้าที่หลายครั้งและนายจ้างได้ตักเตือนแล้วยังทำงานบกพร่องซ้ำอีก ลูกจ้างกระทำความผิดทางวินัยร้ายแรงหรือมีพฤติกรรมทุจริต
(5) เงินทดแทนระหว่างการว่างงาน
ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานจากสำนักงานประกันสังคมตามวิธี อัตรา และเงื่อนไขที่กำหนดด้วยเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในระหว่างการหางานใหม่