สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 15/09/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด24 ถึง 36 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 15/09/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 24 ถึง 36 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาว่าจ้างก่อสร้างคืออะไร

สัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร หรือสัญญารับเหมาก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง (Construction Agreement) คือ สัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ว่าจ้าง (เช่น เจ้าของอาคาร บ้าน ผู้พัฒนาโครงการ) และผู้รับจ้าง (เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้าง) โดยที่ ผู้ว่าจ้าง ว่าจ้างให้ผู้รับจ้างดำเนินงานก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้างต่างๆ (เช่น บ้านพักอาศัย อาคาร สำนักงาน โรงงาน คลังสินค้า ถนน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ) ตามลักษณะ ขอบเขต คุณสมบัติ และมาตรฐานที่ผู้ว่าจ้างกำหนด โดยที่ผู้ว่าจ้างตกลงจะชำระค่าจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานก่อสร้างนั้น

สัญญาว่าจ้างก่อสร้างมีลักษณะใดบ้าง

สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้างฉบับนี้อาจแบ่งได้ตามลักษณะของงานที่ว่าจ้างได้ 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • การก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้างขึ้นใหม่ โดยผู้ว่าจ้างว่าจ้างให้ผู้รับจ้างดำเนินงานก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด เช่น การว่าจ้างก่อสร้างบ้าน/อาคาร
  • การดัดแปลง ต่อเติม หรือตกแต่งอาคาร/สิ่งปลูกสร้างเดิม โดยผู้ว่าจ้างว่าจ้างให้ผู้รับจ้างดำเนินงานดัดแปลง ต่อเติม หรือตกแต่งอาคาร/สิ่งปลูกสร้างเดิม เช่น การว่าจ้างต่อเติมห้องครัวหลังบ้าน การว่าจ้างตกแต่งภายในเพิ่มเติม การว่าจ้าง/รับเหมางานระบบภายใน
  • การรื้อถอนอาคาร/สิ่งปลูกสร้างเดิม โดยผู้ว่าจ้างว่าจ้างให้ผู้รับจ้างดำเนินงานรื้อถอนอาคาร/สิ่งปลูกสร้างเดิม เช่น การรื้อถอนอาคาร/บ้านหลังเก่าออกไปจากที่ดิน

สัญญาบริการ/จ้างทำของมีลักษณะใดบ้าง

สัญญาบริการหรือสัญญาจ้างทำของอาจแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการได้ ดังต่อไปนี้

(1) สัญญาบริการหรือสัญญาจ้างทำของที่มีวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการทั่วไปซึ่งถูกร่างขึ้นและมีข้อสัญญาสำหรับการว่าจ้าง/ใช้บริการในเรื่องทั่วไป (เช่น สัญญาบริการทั่วไป)

(2) สัญญาบริการหรือสัญญาจ้างทำของที่มีวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการเฉพาะในแต่ละเรื่องซึ่งถูกร่างขึ้นและมีข้อสัญญาสำหรับการว่าจ้าง/ใช้บริการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง เช่น

จำเป็นต้องทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้คู่สัญญาต้องจัดทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้างเป็นลายลักษณ์อักษร

อย่างไรก็ดี ในการดำเนินงานก่อสร้างย่อมมีรายละเอียดและข้อตกลงสำคัญที่คู่สัญญาอาจจำเป็นต้องกำหนดและตกลงร่วมกัน (เช่น ขอบเขตงาน คุณภาพมาตรฐานวัสดุ ค่าตอบแทน ระยะเวลาการดำเนินงานก่อสร้าง กำหนดการส่งมอบงาน เงินประกันผลงาน) เพื่อรักษาผลประโยชน์และความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย และเพื่อให้การดำเนินงานก่อสร้างเป็นไปตามความประสงค์ของคู่สัญญา คู่สัญญาจึงควรจัดทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้างเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามโดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้าง ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • อาคาร/สิ่งปลูกสร้างที่ว่าจ้างก่อสร้าง เช่น ขอบเขตงาน ลักษณะ รูปแบบ การออกแบบ คุณภาพ มาตรฐาน และสถานที่ตั้งของอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง
  • ค่าตอบแทน เช่น อัตราค่าจ้าง ค่าวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ และกำหนดชำระเงิน
  • กระบวนการก่อสร้าง เช่น แผนการก่อสร้าง มาตรฐานการก่อสร้าง การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ ระยะเวลา และเงื่อนไขการส่งมอบและตรวจรับอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง
  • ข้อตกลงอื่น (ถ้ามี) เช่น หลักประกันและเงินประกันผลงาน การรับประกันงานก่อสร้างและตัวอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง การจ้างงานช่วง ประกันภัย หน้าที่การดำเนินการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร/สิ่งปลูกสร้างกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักการโยธา หรือสำนักงานเขต) ลิขสิทธิ์ของงานออกแบบที่ใช้กับอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง

จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง

ก่อนการดำเนินงานก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง เจ้าของอาคาร/สิ่งปลูกสร้างมีหน้าที่ต้องดำเนินการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร/สิ่งปลูกสร้างกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักการโยธา หรือสำนักงานเขต) คู่สัญญาจึงจำเป็นต้องดำเนินการดังกล่าวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนเริ่มการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร/สิ่งปลูกสร้างนั้น

นอกจากนี้ คู่สัญญาอาจตกลงกันให้ชัดเจนเกี่ยวกับคู่สัญญาฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องดำเนินการดังกล่าวและผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายไว้ในสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้าง

สัญญาว่าจ้างก่อสร้างเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้าง ได้แก่

  • ผู้ว่าจ้าง (เช่น เจ้าของอาคาร บ้าน ผู้พัฒนาโครงการ) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ว่าจ้าง (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ว่าจ้างมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายอาคาร) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้างและผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้ว่าจ้าง
  • ผู้รับจ้าง (เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้าง) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้รับจ้าง (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้รับจ้างมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับงานกับลูกค้า (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายขาย) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้างและผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้รับจ้าง

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาว่าจ้างก่อสร้างแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้างเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาดังกล่าวให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้าง
  • คู่สัญญานำสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้างที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้างและคู่ฉบับ ถือเป็นสัญญาจ้างทำของที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาว่าจ้างก่อสร้างด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้าง เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญา เช่น

  • รายละเอียดเกี่ยวกับอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง (เช่น ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร แผนผังอาคาร/โครงการ แบบบ้าน แบบแปลน ภาพจำลอง รายการวัสดุและอุปกรณ์/Bill of Quantity: BoQ)
  • รายละเอียดเกี่ยวกับค่าตอบแทน (เช่น ใบเสนอราคา ตารางกำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานและการชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างแต่ละงวดงาน)

สัญญาว่าจ้างก่อสร้างจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

ไม่จำเป็น คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้าง

อย่างไรก็ดี ก่อนการเริ่มดำเนินงานก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง เจ้าของอาคาร/สิ่งปลูกสร้างมีหน้าที่ต้องดำเนินการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร/สิ่งปลูกสร้างกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักการโยธา หรือสำนักงานเขต) คู่สัญญาจึงจำเป็นต้องดำเนินการดังกล่าวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนเริ่มการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง

สัญญาว่าจ้างก่อสร้างจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้างจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้างตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้าง (เช่น คู่สัญญา)

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง

คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจัดทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้าง ดังต่อไปนี้

  • อากรแสตมป์ เนื่องจากสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้างและคู่ฉบับเป็นสัญญาจ้างทำของที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์ คู่สัญญาจึงมีหน้าที่นำสัญญาที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ในกรณีที่ไม่ชำระอากร ศาลจะไม่รับฟังสัญญาที่ไม่ได้ชำระอากรโดยสมบูรณ์เป็นพยานหลักฐาน อีกทั้ง ยังมีค่าปรับการไม่ชำระอากรแสตมป์ และอาจมีโทษทางอาญาอีกด้วย
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างอาจมีหน้าที่ต้องยื่นแบบและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนให้แก่กรมสรรพากรตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่ ในกรณีที่ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (เช่น ผู้รับจ้างเป็นกิจการขนาดย่อมที่มีฐานภาษีไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี บริการที่อยู่ภายใต้ภาษีธุรกิจเฉพาะ บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล บริการการศึกษาของสถานศึกษา บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์)

ทำไมผู้ว่าจ้างมักเลือกว่าจ้างผู้รับจ้าง/ผู้รับเหมาในการดำเนินงานก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง

ผู้ว่าจ้างมักเลือกที่จะว่าจ้างผู้รับจ้าง/ผู้รับเหมาในการดำเนินงานก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง เนื่องจาก

  • ผู้รับจ้าง/ผู้รับเหมามักเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญในการดำเนินงานก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง
  • ผู้รับจ้าง/ผู้รับเหมามักมีบุคคลากร/คนงาน วัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่เพียบพร้อมและเหมาะสมในการดำเนินงานก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง
  • ผู้ว่าจ้างมีความคล่องตัวสูงในการบริหารจัดการบุคคลากร/คนงานที่นำมาใช้ในงาน/โครงการก่อสร้าง ในกรณีที่งานและ/หรือโครงการก่อสร้างนั้นสิ้นสุดลง

ผู้ว่าจ้างจะป้องกันผู้รับจ้าง/ผู้รับเหมาทิ้งงานได้ อย่างไร

เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงกรณีผู้รับจ้าง/ผู้รับเหมาทิ้งงาน ผู้ว่าจ้างอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ตรวจสอบประวัติการทำงานของผู้รับจ้าง/ผู้รับเหมาก่อนว่าจ้างผู้รับจ้าง/ผู้รับเหมารายนั้นๆ (เช่น รายการผลงาน/Portfolio รายชื่อผู้ทิ้งงานภาครัฐ/Blacklist)
  • กำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานและการชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างในแต่ละงวด โดยชัดเจนและสอดคล้องกับความสมบูรณ์/ความสำเร็จของงานในแต่ละงวด
  • เรียกรับหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้างจากผู้รับจ้าง/ผู้รับเหมาเพื่อใช้ยึดถือเป็นหลักประกัน (เช่น หนังสือค้ำประกันธนาคาร (L/G) หนังสือค้ำประกันโดยบุคคลภายนอก เงินประกันผลงาน/Retention)

ในกรณีที่ผู้รับจ้าง/ผู้รับเหมาจัดให้มีบุคคลภายนอกค้ำประกันตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้าง ผู้ค้ำประกันจะต้องจัดทำและลงนามในหนังสือค้ำประกันด้วย ในกรณีเช่นนี้ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้หนังสือค้ำประกัน


ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง/ผู้รับเหมาจะมีฐานะเป็นนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน หรือไม่

ในการเข้าทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้างฉบับนี้ ไม่ทำให้ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างมีความสัมพันธ์ในฐานะเป็นนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน เนื่องจากสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้างเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งมุ่งเน้นผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ (เช่น งานก่อสร้าง ต่อเติม หรือรื้อถอน) และผู้รับจ้างจะมีอิสระในการดำเนินการงานให้สำเร็จลุล่วงตราบใดที่เป็นไปตามขอบเขตและข้อกำหนดในสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้าง

ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ


กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างมี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม