สัญญาให้บริการพื้นที่จอดรถ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาให้บริการพื้นที่จอดรถ

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 21/10/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด9 ถึง 14 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 21/10/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 9 ถึง 14 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาให้บริการพื้นที่จอดรถคืออะไร

สัญญาให้บริการพื้นที่จอดรถ หรือข้อตกลงให้บริการที่จอดรถ คือ สัญญาให้บริการชนิดหนึ่งที่มีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ โดยที่ผู้ใช้บริการจะเป็นผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์/นำรถยนต์เข้าไปจอดภายในพื้นที่จอดรถที่ผู้ให้บริการจัดมีไว้เพื่อให้บริการ โดยผู้ใช้บริการจะชำระค่าบริการนั้นให้แก่ผู้ให้บริการตามกำหนดระยะเวลาและในอัตราที่คู่สัญญาตกลงกัน และผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาทรัพย์สิน/รถยนต์ที่นำมาไว้ภายในสถานที่จอดรถดังกล่าว

สัญญาบริการที่จอดรถและสัญญาเช่าพื้นที่จอดรถแตกต่างกัน อย่างไร

แม้สัญญาบริการที่จอดรถและสัญญาเช่าพื้นที่จอดรถจะมีวัตถุประสงค์ในการให้ผู้ใช้บริการ/ผู้เช่าสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่/อาคารเพื่อเป็นที่จอดรถเหมือนกัน

อย่างไรก็ดี สัญญาทั้ง 2 ฉบับมีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

  • สัญญาบริการที่จอดรถ ผู้ใช้บริการจะนำทรัพย์สิน/รถยนต์นั้นให้อยู่ในความดูแลของผู้ให้บริการและถือเป็นการรับฝากทรัพย์ (เช่น ผู้ให้บริการจัดให้มีการแลกบัตรเข้าออกพื้นที่จอดรถ ผู้ให้บริการจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัย/ระบบรักษาความปลอดภัยบริเวณพื้นที่จอดรถ หรือผู้ใช้บริการมีการส่งมอบกุญแจรถยนต์ให้แก่ผู้ให้บริการหรือตัวแทนของผู้ให้บริการเพื่อดูแลรถยนต์ในขณะที่ผู้ใช้บริการไม่อยู่)
  • สัญญาเช่าพื้นที่จอดรถ ผู้เช่าจะมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่จอดรถได้อย่างเต็มที่ (เช่น ผู้เช่าจัดหาและดูแลรักษาความปลอดภัยที่จอดรถนั้นเอง โดยที่ผู้ให้บริการไม่สามารถหรือไม่มีสิทธิเข้าไปบริหารจัดการพื้นที่จอดรถนั้นได้เป็นการปกติ) ในกรณีเช่นนี้ คู่สัญญาอาจเลือกใช้สัญญาเช่าพื้นที่จอดรถ (สัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์)
  • ค่าบริการที่จอดรถต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในขณะที่ค่าเช่าที่จอดรถได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

จำเป็นต้องทำสัญญาบริการที่จอดรถ หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้คู่สัญญาต้องจัดทำสัญญาบริการที่จอดรถเป็นลายลักษณ์อักษร

อย่างไรก็ดี ในการให้บริการพื้นที่จอดรถย่อมมีรายละเอียดและข้อตกลงสำคัญที่คู่สัญญาอาจจำเป็นต้องกำหนดและตกลงร่วมกัน (เช่น สถานที่จอดรถ เงื่อนไข/ข้อจำกัดการใช้สถานที่จอดรถ ระยะเวลาการให้บริการ อัตราค่าบริการ ความรับผิดของคู่สัญญา) เพื่อรักษาผลประโยชน์และความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย คู่สัญญาจึงควรจัดทำสัญญาบริการที่จอดรถเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามโดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย

สัญญาบริการที่จอดรถเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาบริการที่จอดรถ ได้แก่

  • ผู้ให้บริการ (เช่น เจ้าของพื้นที่จอดรถหรือผู้มีสิทธิในการบริหารงานนำพื้นที่จอดรถนั้นออกให้บริการ) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ให้บริการ (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ให้บริการมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการพื้นที่จอดรถ (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายขาย) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้ให้บริการ
  • ผู้ใช้บริการ (เช่น ผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์/นำรถยนต์เข้าไปจอดภายในพื้นที่จอดรถและจ่ายค่าบริการที่จอดรถให้ผู้ให้บริการ) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ใช้บริการ (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ใช้บริการมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหาพื้นที่จอดรถ (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายธุรการ) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้ใช้บริการ

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาบริการที่จอดรถแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาบริการที่จอดรถเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาบริการที่จอดรถเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญา (ถ้ามี)

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาบริการที่จอดรถด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาบริการที่จอดรถ (ถ้ามี) เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญา เช่น

  • คู่มือ/กฎระเบียบการใช้พื้นที่จอดรถ (เช่น เวลาการเข้า-ออกพื้นที่จอดรถ)
  • ตารางอัตราค่าบริการพื้นที่จอดรถและตัวอย่างการคำนวณค่าบริการพื้นที่จอดรถในแต่ละกรณี

สัญญาบริการที่จอดรถจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

ไม่จำเป็น คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำสัญญาบริการที่จอดรถ

สัญญาบริการที่จอดรถจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาบริการที่จอดรถจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาบริการที่จอดรถตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญา (เช่น คู่สัญญา)

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาบริการที่จอดรถ

คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจัดทำสัญญาบริการที่จอดรถ ดังต่อไปนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างอาจมีหน้าที่ต้องยื่นแบบและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนให้แก่กรมสรรพากรตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่ ในกรณีที่ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (เช่น ผู้ให้บริการเป็นกิจการขนาดย่อมที่มีฐานภาษีไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี บริการที่อยู่ภายใต้ภาษีธุรกิจเฉพาะ บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล บริการการศึกษาของสถานศึกษา บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์)

การให้บริการพื้นที่จอดรถถือเป็นการรับฝากทรัพย์ หรือไม่

ตามแนวคำพิพากษาในประเทศไทย แม้ว่าคู่สัญญาจะมีการทำสัญญาบริการที่จอดรถและจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการเกี่ยวกับการรับผิดชอบความเสียหายเอาไว้อย่างชัดเจน แต่ในกรณีที่มีการนำทรัพย์สิน/รถยนต์เข้าไปไว้ในสถานที่จอดรถโดยอยู่ในความดูแลของผู้ให้บริการ ศาลมักพิจารณาให้ถือเป็นการฝากทรัพย์ โดยลักษณะการให้บริการพื้นที่จอดรถที่มีการนำทรัพย์สิน/รถยนต์นั้นให้อยู่ในความดูแลของผู้ให้บริการ เช่น

  • ผู้ให้บริการจัดให้มีการแลกบัตรเข้าออกพื้นที่จอดรถ
  • ผู้ให้บริการจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัย/ระบบรักษาความปลอดภัยบริเวณพื้นที่จอดรถ
  • ผู้ใช้บริการมีการส่งมอบกุญแจรถยนต์ให้แก่ผู้ให้บริการหรือตัวแทนของผู้ให้บริการเพื่อดูแลรถยนต์ในขณะที่ผู้ใช้บริการไม่อยู่

ข้อสังเกต: ในแต่ละกรณีอาจมีการพิจารณาคดีที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีนั้นๆ โดยเฉพาะ

ในกรณีเช่นนี้ ผู้ให้บริการจึงมีหน้าที่/ความรับผิด เช่น

  • ผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาทรัพย์สิน/รถยนต์ที่นำมาไว้ภายในสถานที่จอดรถ
  • ในกรณีที่ทรัพย์สิน/รถยนต์ได้รับความเสียหายจากบุคคลภายนอก (เช่น ถูกโจรกรรม) ผู้ให้บริการอาจต้องรับผิดชอบความเสียหายนั้นด้วย

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาบริการที่จอดรถ

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาบริการที่จอดรถ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • การให้บริการที่จอดรถ เช่น รายละเอียดชื่อ/สถานที่ตั้งของสถานที่จอดรถ เงื่อนไขการใช้สถานที่จอดรถ ระยะเวลาการให้บริการ
  • ค่าตอบแทน เช่น อัตราค่าบริการ กำหนดระยะเวลาการชำระค่าบริการ
  • เงื่อนไขอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น หลักประกันการใช้บริการ การจัดทำประกันภัย เบี้ยปรับในกรณีต่างๆ

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาบริการที่จอดรถ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาบริการที่จอดรถมี ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม