หนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 19/09/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด2 ถึง 3 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 19/09/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 2 ถึง 3 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้างคืออะไร

หนังสือเตือนการปฏิบัติงานของพนักงาน/ลูกจ้าง หรือหนังสือตักเตือนพฤติกรรมพนักงาน/ลูกจ้าง (Employee Warning Letter) คือ หนังสือที่ออกโดยนายจ้างให้แก่พนักงาน/ลูกจ้างเพื่อให้พนักงาน/ลูกจ้างดังกล่าวรับทราบถึงปัญหา/การกระทำความผิดที่นายจ้างต้องการจะตักเตือนและนำไปปรับปรุง แก้ไข และปฏิบัติตามคำแนะนำ/คำสั่งที่นายจ้างแจ้งไว้ในหนังสือตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง

โดยปัญหา/สาเหตุการตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง เช่น

  • พนักงาน/ลูกจ้างเข้างานสายหรือเลิกงานก่อนเวลา
  • พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติงานผิดพลาดหรือล่าช้า
  • พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติงานบกพร่อง
  • พนักงาน/ลูกจ้างมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
  • พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่งของนายจ้าง

ในกรณีที่นายจ้างต้องการจะเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้าง นายจ้างอาจเลือกใช้หนังสือเลิกจ้างเพื่อแสดงความประสงค์เป็นลายลักษณ์อักษรที่จะบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างกับพนักงาน/ลูกจ้าง


จำเป็นต้องทำหนังสือเตือน หรือไม่

จำเป็น นายจ้างควรจัดทำหนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณีที่เป็นความผิดร้ายแรง หรือเป็นความผิดที่นายจ้างเห็นว่าควรจะมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบในการเลิกจ้างในภายหลังหากพนักงาน/ลูกจ้างยังคงปฏิบัติความผิดเดิมซ้ำอีกๆ (เช่น ไม่ยอมปรับปรุงแก้ไข)

อย่างไรก็ดี เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับพนักงาน/ลูกจ้างมักจะเป็นไปด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัย ในกรณีที่เป็นความผิดครั้งแรกและไม่ใช่ความผิดร้ายแรง นายจ้างมักแจ้งตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้างโดยวาจา เท่านั้น เพื่อไม่ให้พนักงาน/ลูกจ้างเสียกำลังใจในการปฏิบัติงาน

ไม่ควรระบุ/กำหนดข้อมูลลักษณะใดลงในหนังสือเตือน

ในกรณีที่นายจ้างจะบังคับใช้มาตรการลงโทษทางวินัย (เช่น การพักงาน การเพิกถอนสิทธิการได้รับเงินตอบแทนพิเศษ/โบนัส ภาคทัณฑ์) การลงโทษทางวินัยดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงาน ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และ/หรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แล้วแต่เงื่อนไขใดเป็นประโยชน์ต่อพนักงาน/ลูกจ้างที่สุด ทั้งนี้ เนื่องจากการจ้างแรงงานตกอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานที่มีหลักสำคัญอยู่ที่การคุ้มครองพนักงาน/ลูกจ้างซึ่งคู่สัญญาไม่สามารถตกลงให้แตกต่าง หรือยกเว้นข้อกฎหมายดังกล่าวอันทำให้พนักงาน/ลูกจ้างได้รับประโยชน์น้อยไปกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้

จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำหนังสือเตือน

นายจ้างไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการใดๆ ก่อนตามกฎหมายในการจัดทำหนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง ในกรณีที่ปรากฏสาเหตุ/เหตุการณ์ที่ต้องการตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง นายจ้างสามารถดำเนินการจัดทำหนังสือเตือนได้เลย

อย่างไรก็ดี ก่อนการจัดทำหนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง นายจ้างอาจพิจารณาตรวจสอบให้มั่นใจว่าสาเหตุ/เหตุการณ์ที่ต้องการตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้างนั้นถูกต้องและครบถ้วน เช่น

  • การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง
  • การเก็บและรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

หนังสือเตือนเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง ได้แก่

  • นายจ้าง (เช่น บุคคลที่ว่าจ้างลูกจ้างให้ทำงานให้กับตน และจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง) ตัวแทนผู้มีอำนาจของนายจ้าง (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่นายจ้างมอบหมายให้มีอำนาจตักเตือนหรือลงโทษทางวินัยพนักงาน/ลูกจ้าง (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล หัวหน้างาน/ผู้บังคับบัญชา) ซึ่งเป็นผู้จัดทำและลงนามในหนังสือเตือนเพื่อบอกกล่าวตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร
  • พนักงาน/ลูกจ้าง (เช่น บุคคลที่ทำงานให้กับนายจ้างเพื่อได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง) ซึ่งเป็นผู้ได้รับหนังสือเตือนจากนายจ้าง และถูกลงโทษทางวินัย (ถ้ามี)

บุคคลใดไม่สามารถลงนามและ/หรือเข้าทำหนังสือเตือน

นายจ้าง (เช่น บุคคลที่ว่าจ้างลูกจ้างให้ทำงานให้กับตน และจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง) ตัวแทนผู้มีอำนาจของนายจ้าง (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่นายจ้างมอบหมายให้มีอำนาจตักเตือนหรือลงโทษทางวินัยพนักงาน/ลูกจ้าง (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล หัวหน้างาน/ผู้บังคับบัญชา) เท่านั้น ที่ควรเป็นผู้ลงนามในหนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง

ควรกำหนดระยะเวลาของหนังสือเตือน อย่างไร

ในกรณีที่นายจ้างจะบังคับใช้มาตรการลงโทษทางวินัย (เช่น การพักงาน การเพิกถอนสิทธิการได้รับเงินตอบแทนพิเศษ/โบนัส ภาคทัณฑ์) ระยะเวลาการลงโทษทางวินัยดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงาน ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และ/หรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แล้วแต่เงื่อนไขใดเป็นประโยชน์ต่อพนักงาน/ลูกจ้างที่สุด ทั้งนี้ เนื่องจากการจ้างแรงงานตกอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานที่มีหลักสำคัญอยู่ที่การคุ้มครองพนักงาน/ลูกจ้างซึ่งคู่สัญญาไม่สามารถตกลงให้แตกต่าง หรือยกเว้นข้อกฎหมายดังกล่าวอันทำให้พนักงาน/ลูกจ้างได้รับประโยชน์น้อยไปกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในหนังสือเตือนแล้ว

นายจ้างจัดทำหนังสือตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยนายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างที่มีอำนาจตักเตือนหรือลงโทษทางวินัยพนักงาน/ลูกจ้าง (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล หัวหน้างาน/ผู้บังคับบัญชา) โดยจัดทำสำเนาเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างเพื่อการอ้างอิงในอนาคต

เมื่อจัดทำและลงนามในหนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้างเรียบร้อยแล้ว นายจ้างอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • อาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหนังสือตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง (ถ้ามี)
  • นำส่งหนังสือตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้างให้แก่พนักงาน/ลูกจ้าง เพื่อบอกกล่าวตักเตือนของพนักงาน/ลูกจ้าง เนื่องจากข้อมูลการถูกตักเตือนของพนักงาน/ลูกจ้างอาจถือเป็นข้อมูลความลับและข้อมูลเฉพาะบุคคล ในการนำส่งหนังสือตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้างให้แก่พนักงาน/ลูกจ้าง นายจ้างอาจส่งมอบด้วยวิธีลับ (เช่น บรรจุซองปิดผนึกและระบุชั้นความลับที่หน้าซองจดหมาย)
  • ให้พนักงาน/ลูกจ้างลงนามรับทราบการตักเตือนลงในหนังสือตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง ทั้งนี้ เพื่อให้พนักงาน/ลูกจ้างมีโอกาสตรวจสอบข้อความในหนังสือตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้างฉบับดังกล่าวว่าถูกต้องตามข้อเท็จจริง หรือไม่ และมีโอกาสในการชี้แจง อธิบาย หรือโต้แย้งข้อเท็จจริง (ถ้ามี)

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบหนังสือเตือนด้วย หรือไม่

นายจ้างอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหนังสือตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง (ถ้ามี) โดยเฉพาะหลักฐานเกี่ยวกับสาเหตุ/เหตุการณ์ที่ต้องการตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง เช่น

  • บันทึกวันและเวลาที่พนักงาน/ลูกจ้างเข้างานสาย-ออกงานก่อนเวลา
  • ภาพบันทึกจากกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่พนักงาน/ลูกจ้างมีพฤติกรรมทุจริต
  • รายงานผลการประเมินการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามตัววัดผล (KPIs)

หนังสือเตือนจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

นายจ้างไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำหนังสือตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง

นายจ้างจำเป็นต้องทำหนังสือตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้างก่อนทำหนังสือเลิกจ้าง หรือไม่

อาจจำเป็น นายจ้างอาจจำเป็นต้องทำหนังสือตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้างก่อนทำหนังสือเลิกจ้างในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้างด้วยเหตุที่พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างไม่ร้ายแรง (เช่น เข้างานสาย) หรือมีผลการปฏิบัติงานที่ไม่ดีหรือบกพร่องในเรื่องทั่วไปที่ไม่ได้ร้ายแรงหรือก่อให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (เช่น ทำงานผิดพลาดเล็กน้อย) เพื่อให้พนักงาน/ลูกจ้างได้มีโอกาสพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมหรือการปฏิบัติงานก่อน

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่พนักงาน/ลูกจ้างกระทำการที่ถือเป็นความผิดร้ายแรง นายจ้างย่อมสามารถจัดทำหนังสือเลิกจ้างได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องจัดทำหนังสือตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้างก่อน รวมถึง ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวการเลิกจ้างล่วงหน้าและไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย เช่น

  • พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรง เช่น ขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยไม่มีเหตุสมควรและทำให้นายจ้างเสียหาย ทะเลาะวิวาทในที่ทำงาน
  • พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติงานหรือกระทำการที่ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เช่น ประมาท ไม่ระมัดระวัง ทำงานผิดพลาดในเรื่องสำคัญ ขาดทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญในงานที่ทำ ทำงานไม่ได้ตามความมุ่งหมายของสัญญาจ้าง
  • พนักงาน/ลูกจ้างมีพฤติกรรมทุจริต เช่น เรียกรับเงินสินบนจากคู่ค้า ใช้ให้พนักงานในบังคับบัญชาทำงานส่วนตัวให้
  • พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายอาญาต่อนายจ้างหรือในที่ทำงาน เช่น ลักทรัพย์ ยักยอก ทำลายทรัพย์ของนายจ้าง เล่นการพนันในที่ทำงาน ล่วงละเมิดทางเพศ
  • พนักงาน/ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ ตั้งแต่ 3 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร เช่น ขาดงาน ไม่มาทำงาน
  • พนักงาน/ลูกจ้างถูกพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกซึ่งไม่ใช่ความผิดกระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  • พนักงาน/ลูกจ้างถูกพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษซึ่งทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในหนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง

นายจ้างควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง ดังต่อไปนี้

  • พนักงาน/ลูกจ้างที่จะถูกตักเตือน เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • สาเหตุ/เหตุการณ์ที่ต้องการตักเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง เช่น การที่พนักงาน/ลูกจ้างเข้างานสาย ออกงานไว ลาบ่อย หรือขาดงานบ่อย พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่งของนายจ้าง หรือพนักงาน/ลูกจ้างมีผลการปฏิบัติงานที่ช้า ผิดพลาด ขาดทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญในงานที่ทำ
  • มาตรการการป้องกันและแก้ไข (ถ้ามี) เช่น ขั้นตอน วิธีการ และกรอบระยะเวลาการปรับปรุงแก้ไข รวมถึง การประชุมและการประเมินติดตามผลการแก้ไขปรับปรุง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีก
  • มาตรการลงโทษทางวินัย (ถ้ามี) เช่น การพักงาน การเพิกถอนสิทธิการได้รับเงินตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ภาคทัณฑ์

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้างมี ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม