สัญญาซื้อขายสินค้า กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาซื้อขายสินค้า

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 15/09/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด12 ถึง 18 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 15/09/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 12 ถึง 18 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาซื้อขายสินค้าคืออะไร

สัญญาซื้อขายสินค้าหรือบันทึกข้อตกลงการซื้อขายสินค้า คือ สัญญาซื้อขายที่คู่สัญญาเป็นผู้ซื้อและผู้ขาย โดยที่ผู้ซื้อตกลงซื้อสินค้ามาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง และมีการชำระราคาค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย

โดยที่ การซื้อขายสินค้าทั่วไป เช่น

  • เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์/ทีวี เครื่องปรับอากาศ/แอร์ ยู้เย็น
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค
  • ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น อาหารแช่แข็ง เครื่องดื่ม เครื่องใช้อุปโภค ชา กาแฟ โกโก้ นม
  • สินค้าในกระบวนการผลิต เช่น วัสดุ/วัตถุดิบ เครื่องมืออุปกรณ์
  • ผลผลิตทางการเกษตร เช่น สินค้าเกษตร พืช ผัก ผลไม้

สัญญาซื้อขายสินค้ามีกี่ประเภท

สัญญาซื้อขายสินค้าอาจแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการนำสินค้าไปใช้ได้ ดังต่อไปนี้

  • สัญญาซื้อขายสินค้าเพื่อนำสินค้าไปใช้ส่วนบุคคลหรือในครัวเรือน (Private Use) เช่น การซื้อโทรทัศน์/เครื่องใช้ไฟฟ้ามาใช้ภายในบ้าน การซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์มาใช้ส่วนตัว
  • สัญญาซื้อขายสินค้าเพื่อนำสินค้าไปใช้ในทางการค้า (Commercial Use) เช่น การซื้อสินค้าเหมาส่งมาเพื่อจำหน่ายปลีกต่อ (Retail) การซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบธุรกิจ การซื้อสินค้าซึ่งเป็นวัสดุ/วัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้าชนิดใหม่และขายสินค้าที่ผลิตขึ้นใหม่นั้นต่อ (Manufacturing)

สัญญาซื้อขายสินค้าและสัญญาซื้อขายทรัพย์สินอย่างอื่นแตกต่างกัน อย่างไร

ในสัญญาซื้อขายสินค้า คู่สัญญาจะตกลงกันซื้อขายสินค้าทั่วไป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ วัสดุ/วัตถุดิบ เครื่องมืออุปกรณ์

ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงซื้อขายทรัพย์สินอย่างอื่นซึ่งไม่ใช่สินค้าทั่วไป คู่สัญญาอาจเลือกใช้สัญญาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการซื้อขายทรัพย์สินนั้นๆ ซึ่งถูกร่างขึ้นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีข้อสัญญาสำหรับการซื้อขายทรัพย์สินนั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น

  • คู่สัญญาตกลงซื้อขายยานพาหนะ (เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ) ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาซื้อขายยานพาหนะซึ่งถูกร่างและมีข้อสัญญาสำหรับการซื้อขายยานพาหนะโดยเฉพาะ
  • คู่สัญญาตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (เช่น บ้าน อาคาร ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง) ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งถูกร่างและมีข้อสัญญาสำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะ
  • คู่สัญญาตกลงซื้อขายกิจการ (เช่น เซ้งร้าน เซ้งกิจการ/ธุรกิจ) ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาซื้อขายกิจการซึ่งถูกร่างและมีข้อสัญญาสำหรับการซื้อขายกิจการโดยเฉพาะ
  • คู่สัญญาตกลงซื้อขายหุ้นบริษัท (เช่น ซื้อขายหุ้นของบริษัทจำกัด) ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาซื้อขายหุ้นบริษัทซึ่งถูกร่างและมีข้อสัญญาสำหรับการซื้อขายหุ้นของบริษัทโดยเฉพาะ

สัญญาซื้อขายสินค้าและสัญญาจ้างผลิตสินค้าแตกต่างกัน อย่างไร

แม้สัญญาซื้อขายสินค้าและสัญญาจ้างผลิตสินค้าจะมีวัตถุประสงค์ในการได้มาซึ่งสินค้าเหมือนกัน แต่สัญญาซื้อขายสินค้าและสัญญาจ้างผลิตสินค้ามีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

  • ในสัญญาจ้างผลิตสินค้า คู่สัญญาจะตกลงว่าจ้างให้ผลิตสินค้าอย่างหนึ่งอย่างใดตามแบบที่ผู้ว่าจ้างกำหนดโดยเฉพาะ (เช่น สั่งออกแบบและผลิตสินค้าตามคุณสมบัติ รูปแบบ สีพิเศษตามจำนวน/ระยะเวลาที่กำหนด)
  • ในสัญญาซื้อขายสินค้า คู่สัญญาจะตกลงกันซื้อขายสินค้าตามที่ผู้ขายจัดให้มีไว้สำหรับขาย เท่านั้น โดยผู้ซื้ออาจสามารถปรับเปลี่ยนสี/รูปแบบของสินค้าได้อย่างจำกัดตามที่ผู้ขายกำหนด

ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงว่าจ้างให้ผลิตสินค้าอย่างหนึ่งอย่างใดตามแบบที่กำหนดโดยเฉพาะ ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาจ้างผลิตสินค้าซึ่งถูกร่างและมีข้อสัญญาสำหรับการว่าจ้างผลิตสินค้าโดยเฉพาะ


สัญญาซื้อขายสินค้าและสัญญาเช่าซื้อสินค้าแตกต่างกัน อย่างไร

แม้สัญญาซื้อขายสินค้าและสัญญาเช่าซื้อสินค้าจะมีวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสินค้าเหมือนกัน แต่สัญญาซื้อขายสินค้าและสัญญาเช่าซื้อสินค้ามีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

  • ในสัญญาเช่าซื้อสินค้า ผู้เช่าซื้อจะเช่าสินค้าจากผู้ให้เช่าซื้อ/เจ้าของสินค้าตามระยะเวลาการเช่าซื้อและชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตามที่กำหนด เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อที่ตกลงกัน ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่เช่าซื้อนั้น
  • ในสัญญาซื้อขายสินค้า คู่สัญญาจะซื้อขายสินค้ากันเด็ดขาด โดยไม่มีการเช่าใดๆ โดยอาจมีการกำหนดระยะเวลาสำคัญในการดำเนินการต่างๆ (เช่น วันที่ส่งมอบและตรวจรับสินค้า กำหนดระยะเวลาการชำระค่าสินค้า)

ในกรณีที่คู่สัญญาต้องการจะเช่าซื้อสินค้า ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาเช่าซื้อสินค้าซึ่งถูกร่างขึ้นสำหรับการเช่าซื้อสินค้าโดยเฉพาะ


จำเป็นต้องทำสัญญาซื้อขายสินค้า หรือไม่

จำเป็น คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาซื้อขายสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญาลงนามในสัญญาฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้การซื้อขายสินค้าที่มีมูลค่าเกินกว่า 20,000 บาท จะต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ในกรณีที่มีคู่สัญญาผิดสัญญา (เช่น ผู้ซื้อไม่ยอมชำระเงินค่าสินค้า ผู้ขายไม่ยอมส่งมอบสินค้าตามระยะเวลาที่กำหนด)

  • มีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของคู่สัญญา
  • ได้มีการวางประจำ/มัดจำไว้
  • ได้ชำระหนี้ไว้บางส่วนแล้ว

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาซื้อขายสินค้า

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาซื้อขายสินค้า ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • สินค้า เช่น คุณสมบัติ/คุณลักษณะเฉพาะ จำนวน ปริมาณ คุณภาพ มาตรฐาน แหล่งผลิต รูปภาพ สินค้าตัวอย่าง ปริมาณการซื้อขั้นต่ำ (Minimum Order Quantity)
  • ค่าตอบแทน เช่น ราคาสินค้า ค่าภาษี เงื่อนไขการชำระเงิน วิธีการชำระเงิน กำหนดระยะเวลาการชำระเงิน มัดจำ (ถ้ามี)
  • การส่งมอบและขนส่งสินค้า เช่น สถานที่ส่งมอบ กำหนดระยะเวลาการส่งมอบ ผู้รับผิดชอบดำเนินการขนส่ง ค่าขนส่ง ค่าประกันภัยสินค้าในการขนส่ง วิธีและมาตรฐานการขนส่งโดยเฉพาะของสินค้า และขั้นตอน วิธีการตรวจรับ และการรับมอบสินค้า (ถ้ามี)
  • การบริการหลังการขาย เช่น การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในการใช้งาน (Product Support) การอบรมการใช้งานสินค้า (Training) การรับประกันความชำรุดบกพร่องของสินค้า (Warranty) การคืนเงิน (Refund) การเปลี่ยนคืนสินค้า (Replacement)
  • ข้อตกลงอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น การโอนกรรมสิทธิ์และความเสี่ยงภัยในสินค้า หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา ค่าปรับในกรณีต่างๆ (Penalty) (เช่น ค่าปรับการชำระราคาล่าช้า ค่าปรับการส่งมอบไม่ถูกต้องและ/หรือล่าช้า)

สัญญาซื้อขายสินค้าเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาซื้อขายสินค้า ได้แก่

  • ผู้ขาย (เช่น ร้านค้า ธุรกิจที่ขาย/จำหน่ายสินค้า) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ขาย (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ขายมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการขายสินค้า (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายขาย) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาซื้อขายสินค้าและผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้ขาย
  • ผู้ซื้อ (เช่น ผู้ที่ต้องการจะซื้อสินค้ามาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ผู้บริโภค) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ซื้อ (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ซื้อมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา/จัดซื้อสินค้า (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อ) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาซื้อขายสินค้าและผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้ซื้อ
  • นายหน้า (ถ้ามี) ในกรณีผู้ขายแต่งตั้ง/ว่าจ้างนายหน้าในการขายสินค้า หรือผู้ซื้อแต่งตั้ง/ว่าจ้างนายหน้าในการจัดหา/จัดซื้อสินค้า

ในกรณีผู้ขายแต่งตั้ง/ว่าจ้างนายหน้าในการขายสินค้า หรือผู้ซื้อแต่งตั้ง/ว่าจ้างนายหน้าในการจัดหา/จัดซื้อสินค้า คู่สัญญาฝ่ายนั้นอาจจัดทำสัญญานายหน้ากับนายหน้าที่แต่งตั้ง/ว่าจ้างนั้น


จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาซื้อขายสินค้าแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาซื้อขายสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาซื้อขายสินค้าเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาซื้อขายสินค้าฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายสินค้า (ถ้ามี)
  • คู่สัญญาดำเนินการส่งมอบ ตรวจรับ รวมถึงรับมอบสินค้าตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาซื้อขายสินค้า โดยผู้ขายควรจัดทำใบส่งของ/ใบส่งสินค้าให้ผู้ซื้อลงนามรับมอบสินค้าในวันที่ตรวจรับดังกล่าว เพื่อเป็นหลักฐานการส่งมอบ และบันทึกสภาพ ความเรียบร้อย รวมถึงความชำรุดบกพร่อง (ถ้ามี) ของสินค้าที่ส่งมอบ-รับมอบนั้น

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาซื้อขายสินค้าด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายสินค้า (ถ้ามี) เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญา เช่น

  • เอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับสินค้า (เช่น รูปภาพ แบบ แค็ตตาล็อก คุณสมบัติของสินค้า รายการและจำนวนสินค้า ใบอนุญาตผลิต/นำเข้าสินค้า)
  • เอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับราคาสินค้า (เช่น ใบเสนอราคา ใบสั่งซื้อสินค้า ตารางกำหนดระยะเวลาการชำระค่าสินค้า)

สัญญาซื้อขายสินค้าจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

ไม่จำเป็น คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำสัญญาซื้อขายสินค้า

สัญญาซื้อขายสินค้าจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาซื้อขายสินค้าจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาซื้อขายสินค้าตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาซื้อขายสินค้า (เช่น คู่สัญญา)

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาซื้อขายสินค้า

คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจัดทำสัญญาซื้อขายสินค้า ดังต่อไปนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) ผู้ขายสินค้าอาจมีหน้าที่ต้องยื่นแบบและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนให้แก่กรมสรรพากรตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่ ในกรณีที่ผู้ขายสินค้าได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (เช่น ผู้ขายสินค้าเป็นกิจการขนาดย่อมที่มีฐานภาษีไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี การขายสินค้า/บริการที่อยู่ภายใต้ภาษีธุรกิจเฉพาะ การขายสินค้า/บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล การขายสินค้า/บริการการศึกษาของสถานศึกษา การขายสินค้า/บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์)

ทำอย่างไรให้มั่นใจได้ว่าผู้ซื้อและผู้ขายจะไม่ผิดสัญญาซื้อขายสินค้า

คู่สัญญาอาจตกลงกันให้คู่สัญญา (เช่น ผู้ซื้อ ผู้ขาย หรือทั้ง 2 ฝ่าย) วางหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาหรือมัดจำไว้ให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อเป็นหลักประกันว่าคู่สัญญาฝ่ายที่วางหลักประกันจะปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายสินค้าอย่างเคร่งครัด และเพื่อหลีกเลี่ยงการจงใจปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายสินค้า (เช่น ผู้ซื้อไม่ยอมชำระเงินค่าสินค้า ผู้ซื้อไม่ยอมรับมอบสินค้า ผู้ขายไม่ยอมส่งมอบสินค้าตามคุณสมบัติ/ระยะเวลาที่กำหนด)

โดยที่ หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา เช่น

  • เงินสด/เงินมัดจำ
  • หนังสือค้ำประกันซึ่งค้ำประกันโดยบุคคลภายนอก/ธนาคาร
  • อื่นๆ เช่น ทรัพย์สินมีค่า

คู่สัญญาต้องวางหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาให้ไว้ต่อกัน ณ วันที่ทำสัญญาซื้อขายสินค้า เท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นมัดจำตามกฎหมาย และในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายที่วางหลักประกันปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายสินค้า คู่สัญญาฝ่ายที่ยึดถือหลักประกันไว้อาจริบหลักประกันดังกล่าวได้ทันที


กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายสินค้า

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาซื้อขายสินค้ามี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม