สัญญาเช่าซื้อสินค้า กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาเช่าซื้อสินค้า

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 10/10/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด19 ถึง 29 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 10/10/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 19 ถึง 29 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาเช่าซื้อสินค้าคืออะไร

สัญญาเช่าซื้อสินค้า สัญญาเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ คือ สัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อตกลงกันเช่าสินค้า (เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยานไฟฟ้า หรือสินค้าทั่วไปอื่นๆ) ตามระยะเวลาและค่าเช่าที่กำหนด หากผู้เช่าซื้อเช่าและชำระค่าเช่าสินค้าครบตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนด สินค้านั้นจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่าซื้อ

สัญญาเช่าซื้อมีลักษณะใดบ้าง

สัญญาเช่าซื้ออาจแบ่งตามประเภทของทรัพย์ที่เช่าซื้อได้เป็น 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • สัญญาเช่าซื้อสินค้าฉบับนี้ เช่น สัญญาเช่าซื้อสินค้าทั่วไป สัญญาเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า สัญญาเช่าซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สัญญาเช่าซื้อโทรศัพท์มือถือ สัญญาเช่าซื้อคอมพิวเตอร์ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ สัญญาเช่าซื้อรถจักรยานยนต์
  • สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ เช่น สัญญาเช่าซื้อบ้าน สัญญาเช่าซื้อที่ดิน สัญญาเช่าซื้อห้องชุด สัญญาเช่าซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง

ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงกันเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ (เช่น บ้าน ที่ดิน ห้องชุด) ผู้ใช้งานควรเลือกใช้สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ซึ่งถูกร่างขึ้นสำหรับการเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะ


จำเป็นต้องทำสัญญาเช่าซื้อสินค้า หรือไม่

จำเป็น คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาเช่าซื้อสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามในสัญญาเช่าซื้อสินค้าดังกล่าวให้เรียบร้อย เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้น ข้อตกลงการเช่าซื้อระหว่างคู่สัญญาจะตกเป็นโมฆะและไม่สามารถใช้บังคับกันได้

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาเช่าซื้อสินค้า

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาเช่าซื้อสินค้า ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • สินค้าที่เช่าซื้อ เช่น ชื่อ ยี่ห้อ คุณลักษณะ คุณสมบัติ และสภาพของสินค้า
  • ค่าตอบแทน เช่น ค่าเช่าซื้อ เงินดาวน์ และเงินบอลลูน (ถ้ามี) รวมถึงกำหนดชำระเงิน
  • ข้อตกลงอื่น (ถ้ามี) เช่น การโอนกรรมสิทธิ์และความเสี่ยงภัยในสินค้า หลักประกัน ประกันภัยสินค้า การให้เช่าช่วง การเปลี่ยนสัญญา การรับประกันสินค้า ค่าปรับ

ไม่ควรระบุ/กำหนดข้อมูลลักษณะใดลงในสัญญาเช่าซื้อสินค้า

สัญญาเช่าซื้อสินค้าที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ ถือเป็นสัญญาควบคุมและอยู่ภายใต้ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา

  • สินค้าที่เช่าซื้อ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยานไฟฟ้า
  • ผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้ประกอบการ/กิจการ เช่น ร้านค้าขายสินค้าที่เช่าซื้อ
  • ผู้เช่าซื้อเป็นผู้บริโภค เช่น บุคคลธรรมดา
  • ผู้เช่าซื้อนำสินค้าไปใช้ส่วนตัว (เช่น ใช้งานทั่วไปในบ้าน ส่วนบุคคล) ซึ่งไม่ใช่การนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า (เช่น ใช้ประกอบธุรกิจ หรือนำมาขายปลีกต่อ)

ในกรณีเช่นนี้ ผู้ให้เช่าซื้อจะมีข้อจำกัดและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด (เช่น แบบ ข้อความ และขนาดตัวอักษรในสัญญา) และคู่สัญญาไม่สามารถตกลงข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อสินค้าที่มีลักษณะขัดต่อประกาศดังกล่าวได้ เช่น

  • การกำหนดอัตราค่าปรับต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดในแต่ละกรณี
  • ผู้เช่าซื้อมีสิทธิชำระเงินค่าเช่าซื้อทั้งหมดในคราวเดียวก่อนกำหนดระยะเวลา (เช่น ปิดสัญญาก่อนกำหนด) และมีสิทธิได้ส่วนลดไม่ต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดในแต่ละกรณี
  • ผู้ให้เช่าซื้อสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ ในการทวงถามค่าเช่าซื้อได้ไม่เกินอัตรากฎหมายกำหนด

สัญญาเช่าซื้อสินค้าเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาเช่าซื้อสินค้า ได้แก่

  • ผู้ให้เช่าซื้อ (เช่น เจ้าของสินค้า ร้านค้า หรือเจ้าของทรัพย์สิน) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ให้เช่าซื้อ (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ให้เช่าซื้อมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้เช่าซื้อสินค้า (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายขาย) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อสินค้าและผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้ให้เช่าซื้อ
  • ผู้เช่าซื้อ (เช่น ลูกค้า ผู้บริโภค) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้เช่าซื้อ (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้เช่าซื้อมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการเช่าซื้อสินค้า (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อ) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อสินค้าและผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้เช่าซื้อ

บุคคลใดไม่สามารถลงนามและ/หรือเข้าทำสัญญาเช่าซื้อสินค้า

ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในสินค้า/ทรัพย์สินที่นำมาให้เช่าชื้อตามสัญญาเช่าซื้อสินค้า เท่านั้น โดยผู้เช่าซื้อสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้จากเอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนของทรัพย์สินที่เช่าซื้อ (ถ้ามี) (เช่น สำเนาคู่มือจดทะเบียนรถยนต์/รถจักรยานยนต์)

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาเช่าซื้อสินค้าแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาเช่าซื้อสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาเช่าซื้อสินค้าดังกล่าวให้เรียบร้อย ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้น ข้อตกลงการเช่าซื้อระหว่างคู่สัญญาจะตกเป็นโมฆะและไม่สามารถใช้บังคับกันได้

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาเช่าซื้อสินค้าเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาเช่าซื้อสินค้าฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าซื้อสินค้า (ถ้ามี)
  • คู่สัญญานำสัญญาเช่าซื้อสินค้าที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากสัญญาเช่าซื้อสินค้าและคู่ฉบับเป็นสัญญาที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์
  • ในกรณีที่สินค้าที่เช่าซื้อมีเอกสารทางทะเบียนของทรัพย์สินที่เช่าซื้อ (เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในสินค้าที่เช่าซื้อให้ตกเป็นของผู้เช่าชื้อตามสัญญาเช่าซื้อสินค้า (เช่น ผู้เช่าซื้อเช่าและชำระค่าเช่าครบทุกงวด) คู่สัญญาควรดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์กับนายทะเบียนของทรัพย์สินนั้นๆ (เช่น กรมการขนส่ง กรณีรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือกรมเจ้าท่า กรณีเรือ)

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาเช่าซื้อสินค้าด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าซื้อสินค้า (ถ้ามี) เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญา เช่น

  • เอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับสินค้าที่เช่าซื้อ (เช่น รูปภาพ แค็ตตาล็อก คุณสมบัติของสินค้า)
  • เอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับราคาสินค้าและ/หรือการชำระค่าเช่าซื้อ (เช่น ใบเสนอราคา ตารางการชำระค่างวด)

สัญญาเช่าซื้อสินค้าจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำสัญญาเช่าซื้อสินค้า

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่สินค้าที่เช่าซื้อมีเอกสารทางทะเบียนของทรัพย์สินที่เช่าซื้อ (เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในสินค้าที่เช่าซื้อให้ตกเป็นของผู้เช่าชื้อตามสัญญาเช่าซื้อสินค้า (เช่น ผู้เช่าซื้อเช่าและชำระค่าเช่าครบทุกงวด) คู่สัญญาควรดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์กับนายทะเบียนของทรัพย์สินนั้นๆ (เช่น กรมการขนส่งทางบก กรณีรถยนต์/รถจักรยานยนต์ หรือกรมเจ้าท่า กรณีเรือ) เพื่อให้ข้อมูลผู้ถือกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางทะเบียนและเอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนของทรัพย์สินที่เช่าซื้อ (เช่น สำเนาคู่มือจดทะเบียนรถยนต์/รถจักรยานยนต์) สอดคล้องกับความเป็นจริง

สัญญาเช่าซื้อสินค้าจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาเช่าซื้อสินค้าจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาเช่าซื้อสินค้าตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อสินค้า (เช่น คู่สัญญา)

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาเช่าซื้อสินค้า

คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจัดทำสัญญาเช่าซื้อสินค้า ดังต่อไปนี้

  • อากรแสตมป์ เนื่องจากสัญญาเช่าซื้อสินค้าและคู่ฉบับเป็นสัญญาที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์ คู่สัญญาจึงมีหน้าที่นำสัญญาที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ในกรณีที่ไม่ชำระอากร ศาลจะไม่รับฟังสัญญาที่ไม่ได้ชำระอากรโดยสมบูรณ์เป็นพยานหลักฐาน อีกทั้ง ยังมีค่าปรับการไม่ชำระอากรแสตมป์ และอาจมีโทษทางอาญาอีกด้วย

สินค้าจะตกเป็นของผู้เช่าซื้อเมื่อใด

กรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในสินค้าที่เช่าซื้อนั้นจะยังไม่ตกเป็นของผู้เช่าชื้อในทันทีที่ทำสัญญาเช่าซื้อสินค้า แต่จะตกเป็นของผู้เช่าชื้อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อสินค้า (เช่น ผู้เช่าซื้อเช่าและชำระค่าเช่าครบทุกงวด)

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าซื้อสินค้า

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาเช่าซื้อสินค้ามี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม