ปัจจุบัน การใช้งานอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของผู้คนมากขึ้น ไม่ว่าการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้แก่
โดยที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการไม่มี หรือไม่ใช้อินเทอร์เน็ตอาจทำให้การใช้ชีวิต การประกอบธุรกิจ หรือการเข้าถึงการช่วยเหลือ มีความสะดวกสบาย หรือมีความรวดเร็วลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่าในปัจจุบันผู้คนต่างจำเป็นต้องใช้และพึ่งพาอินเทอร์เน็ตไม่ว่าเพื่อประโยชน์ในด้านใดๆ
ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปอาจรู้จักเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันเป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ใช้งานบางท่าน (เช่น ผู้เริ่มต้นใช้งานใหม่) อาจยังไม่รู้จัก หรือไม่เข้าใจถึงเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันอย่างดีนัก โดยที่อาจอธิบายถึงลักษณะของเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันอย่างสั้นได้ ดังต่อไปนี้
(ก) เว็บไซต์ (Website) คือ หน้าที่ประกอบด้วยหน้าเว็บเพจต่างๆ ที่เชื่อมโยงกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำขึ้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเจ้าของหรือผู้สร้างเว็บไซต์ เช่น
เว็บไซต์ของเราเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสร้างเอกสารทางกฎหมาย (เช่น สัญญา หรือหนังสือต่างๆ) ของผู้ใช้งานอย่างปลอดภัย รวมถึงยังมีการนำเสนอข้อมูลทางกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานในรูปแบบของคู่มือทางกฎหมายอีกด้วย
(ข) แอปพลิเคชัน หรือที่มักเรียกสั้นๆ ว่า แอป คือ ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมที่ใช้งานบนคอมพิวเตอร์หรือใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งถูกออกแบบให้ใช้งานหรือใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ของเจ้าของหรือผู้สร้างแอปพลิเคชันซึ่งส่วนใหญ่ คือการตอบสนองความต้องการหรืออำนวยควาสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน เช่น
จากที่กล่าวข้างต้น ผู้ใช้งานหลายท่านอาจจะพอเห็นรูปแบบการใช้ประโยชน์ของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่างๆ ชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ดี ในการใช้งานเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่างๆ เหล่านี้ล้วนก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เว็บไซต์และแอปพลิเคชันจะต้องใช้ข้อมูลของผู้ใช้งานในการประมวลผลต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ผู้ใช้งานมีข้อควรพิจารณาที่สำคัญที่น่าพิจารณาเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ดังต่อไปนี้
ปัจจุบันการเก็บ รวบรวม และใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน ถูกเป็นที่พูดถึงอย่างมากในประเทศไทย เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย และผู้ใช้งานให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคล หรือความเป็นส่วนตัวมากขึ้น โดยที่ ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลนั้นได้ โดยอาจแบ่งเป็น
ผู้ใช้งานมักพบว่าในการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ครั้งแรก หรือการเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก ผู้ใช้งานมักจะถูกบังคับให้ต้องกด "ยอมรับ" "ยินยอม" หรือ "ตกลง" ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันนั้นๆ ทั้งนี้ เนื่องจากโดยทั่วไป ตามกฎหมายดังกล่าว เว็บไซต์และแอปพลิเคชันจะสามารถเก็บ รวบรวม และใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของผู้ใช้งานแล้วเท่านั้น โดยผู้ใช้งานจะต้องมีสิทธิทราบถึง วัตถุประสงค์แห่งการเก็บ รวบรวม และใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานที่จะถูกเก็บ รวบรวม และใช้ ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูลกับผู้ให้บริการบุคคลที่สาม สิทธิพื้นฐานของผู้ใช้งานหรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ในบางครั้งที่ผู้ใช้งานกด "ไม่ยอมรับ" "ไม่ยินยอม" หรือ "ปฏิเสธ" นโยบายความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ผู้ใช้งานมักไม่สามารถเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือเข้าใช้งานแอปพลิเคชันนั้นๆ ได้ ในกรณีเช่นนี้ ผู้ใช้งานอาจมีทางเลือก เช่น
ด้วยประโยชน์ของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้การผลิต เผยแพร่ ส่งต่อ หรือทำซ้ำซึ่งเนื้อหาต่างๆ สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในทางกลับกันหากเนื้อหาที่ผลิต เผยแพร่ ส่งต่อ หรือทำซ้ำนั้นเป็นเนื้อหาที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น ผู้ใช้งานที่การผลิต เผยแพร่ ส่งต่อ หรือทำซ้ำเนื้อหานั้นก็อาจมีความรับผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาได้ ไม่ว่าเนื้อหานั้นจะอยู่ในรูปแบบใด หรือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทใด ก็ตาม เช่น
ในกรณีที่ผู้ใช้งานพบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ผู้ใช้งานอาจจัดทำหนังสือแจ้งเบาะแสการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อแจ้งเบาะแสและบอกกล่าวรายละเอียดการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาต่อเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาหรือตัวแทน หรือในกรณีที่ผู้ใช้งานพบว่าตนถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ผู้ใช้งานอาจจัดทำหนังสือบอกกล่าวให้ยุติการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อแจ้ง บอกกล่าว และตักเตือนไปยังผู้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้หยุดหรือยุติการกระทำละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวนั้น
ในบางครั้ง ผู้ใช้งานมักพบว่านอกจาก นโยบายความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันแล้ว ในการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ครั้งแรก หรือการเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก ผู้ใช้งานมักจะถูกบังคับให้ต้องกด "ยอมรับ" "ยินยอม" หรือ "ตกลง" ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้เว็บไซต์/แอปพลิเคชันด้วยเช่นกัน
โดยทั่วไปเจ้าของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันมักกำหนดข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้เว็บไซต์/แอปพลิเคชัน เอาไว้เพื่อเป็นกฎเกณฑ์ในการใช้งานเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของผู้ใช้งาน เพื่อให้ผู้ใช้งานรับทราบ เข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติตาม โดยมีวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น
เจ้าของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่ต้องการกำหนดขอบเขตและข้อจำกัดการใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตามที่กล่าวข้างต้นอาจจัดทำข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้เว็บไซต์/แอปพลิเคชันเพื่อให้ผู้ใช้งานซึ่งเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรกศึกษาและยอมรับก่อนการเข้าเยี่ยมชมหรือเข้าใช้งาน
ในกรณีที่เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันมีการออกแบบที่มีความซับซ้อน และอาจส่งผลให้เว็บไซต์และแอปพลิเคชันมีความต้องการของระบบและอุปกรณ์สูง เจ้าของเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน อาจกำหนดความต้องการขั้นต่ำของระบบ (Minimum System Requirements) และ/หรือความต้องการขั้นต่ำของอุปกรณ์ (Minimum Hardware Requirements) ในการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือเข้าใช้งานแอปพลิเคชันนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อให้
ในกรณีที่มีการเสนอขายสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน (e-Commerce) หรือการใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นตลาดแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าของสมาชิก (e-Marketplace) ผู้ใช้งานซึ่งเป็นผู้ซื้อ หรือผู้ใช้บริการอาจมีข้อกังวลว่าหากมีการทำธุรกรรมภายในเว็บไซต์และแอปพลิเคชันนั้นแล้ว (เช่น ซื้อสินค้า สมัครสมาชิกบริการรายเดือน) หากเจ้าของเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ผู้ขายหรือผู้ให้บริการบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันนั้นปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขาย หรือสัญญาบริการ แล้วแต่กรณี ผู้ใช้งานจะสามารถอ้างอิงและเรียกร้องตามธุรกรรมดังกล่าวที่ทำขึ้นในเว็บไซต์และแอปพลิเคชันได้ หรือไม่
ในกรณีข้างต้น ผู้ใช้งานย่อมสามารถอ้างอิงและเรียกร้องตามธุรกรรมดังกล่าวที่ทำขึ้นในเว็บไซต์และแอปพลิเคชันได้ ทั้งนี้เนื่องจาก กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้กำหนดรับรองให้การทำสัญญาในลักษณะดังกล่าวมีผลผูกพันเหมือนกับการจัดทำสัญญาแบบดังเดิมบนแผ่นกระดาษ โดยเมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้วย่อมก่อให้เกิดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญาตามเงื่อนไขที่คู่สัญญาได้แสดงเจตนาตกลงกันไว้นั้น เช่น ผู้ขายมีหน้าที่ต้องจัดส่งสินค้าภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าสินค้าตามอัตรา วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดตกลงกัน ผู้รับบริการ/ผู้ว่าจ้างต้องชำระค่าจ้าง ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานและส่งมอบงานภายในเวลาที่กำหนด
ผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดทำสัญญาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน) เพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: การจัดทำสัญญาและลงนามออนไลน์ (e-Contract) จะมีผลผูกพัน หรือไม่ อย่างไรบนเว็บไซต์ของเรา
ในกรณีที่ผู้ใช้งานสามารถผลิต เผยแพร่ ส่งต่อ หรือทำซ้ำซึ่งเนื้อหาต่างๆ ได้ภายในเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน เช่น การแสดงความคิดเห็น หรือโพสต์เนื้อหาต่างๆ ได้ด้วยบัญชีผู้ใช้ของผู้ใช้งานเองในเว็บไซต์และแอปพลิเคชันประเภทสื่อสังคมออนไลน์ ในกรณีเช่นนี้ผู้ใช้งานอาจมีข้อพิจารณาเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ใช้งานอาจมีความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ ในกรณีต่างๆ เช่น
(ข) ผู้ใช้งานอาจมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา เช่น
อย่างไรก็ดี หากเนื้อหาดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต
(ก) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตน หรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(ข) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(ข) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
(ง) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้ใช้งานดังกล่าวก็อาจไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทในกรณีดังกล่าว
การใช้งานเว็บไซต์และแอปพลิเคชันผ่านระบบอินเทอร์เน็ตล้วนก่อให้เกิดประโยชน์มากมายและหลากหลายด้านแก่ผู้ใช้งาน ในขณะเดียวกันผู้ใช้งานก็มีข้อควรระวังที่ควรพิจารณาในการใช้งานเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้งานได้ รวมถึงในบางกรณี ผู้ใช้งานอาจมีความรับผิดตามกฎหมายหรือโทษตามกฎหมายด้วยหากใช้งานเว็บไซต์และแอปพลิเคชันโดยไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ดี หากผู้ใช้งานพิจารณาและปฏิบัติโดยสอดคล้องตามคู่มือทางกฎหมายฉบับนี้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหาย หรือความรับผิดดังกล่าวได้