เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"
ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้
คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว
ปรับปรุงล่าสุด 29/07/2567
รูปแบบที่มีให้ Word และ PDF
ขนาด 1 ถึง 2 หน้า
ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ
คะแนน 4.4 - 60 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์มหนังสือรับรองการทำงาน (Certificate of Employment) หรือหนังสือรับรองการจ้าง คือ หนังสือที่ออกโดยนายจ้างของพนักงาน/ลูกจ้างเพื่อรับรองว่าในระยะเวลาการจ้างงานกับนายจ้าง พนักงาน/ลูกจ้างนั้นมีลักษณะการทำงานอย่างไร เช่น ลักษณะการจ้างงาน ตำแหน่งงาน ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ ระยะเวลาการทำงาน (อายุงาน) ประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึง รายได้ของพนักงาน/ลูกจ้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงาน/ลูกจ้างนำไปใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเกี่ยวกับการทำงาน/ประสบการณ์ในการทำงานของตน เช่น
การทำงานกับนายจ้าง เช่น การทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างแรงงานโดยการทำงานที่บ้าน (Work from Home) สัญญาจ้างพนักงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time)
หนังสือรับรองการทำงานและหนังสือรับรองเงินเดือนต่างก็เป็นหนังสือที่ออกโดยนายจ้างของพนักงาน/ลูกจ้างเพื่อรับรองข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับพนักงาน/ลูกจ้างเช่นกัน และมีข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับพนักงาน/ลูกจ้างที่คล้ายกัน (เช่น ตำแหน่งงาน อายุงาน) โดยที่หนังสือรับรองการทำงานจะมุ่งเน้นไปที่การรับรองข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำงาน ลักษณะงาน และประสบการณ์ในการทำงานของพนักงาน/ลูกจ้าง รวมถึง รายได้ของพนักงาน/ลูกจ้างด้วย (ถ้ามี) ในขณะที่หนังสือรับรองเงินเดือนจะมุ่งเน้นไปที่การรับรองข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายได้ของพนักงาน/ลูกจ้างเพียงอย่างเดียว
อาจแบ่งได้เป็น 2 กรณี ได้แก่
ลักษณะการจ้างคือรูปแบบการจ้างงานระหว่างนายจ้างและพนักงาน/ลูกจ้างนั้น เช่น
เนื่องจากหนังสือรับรองการทำงานเป็นการรับรองข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำงาน ลักษณะงาน และประสบการณ์ในการทำงานของพนักงาน/ลูกจ้าง นายจ้างจึงไม่ควรระบุข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือข้อมูลที่เป็นเท็จไม่ตรงตามความเป็นความจริง ทั้งนี้ เนื่องจากหากมีการนำหนังสือรับรองการทำงานไปใช้ประกอบอ้างอิง และปรากฏว่าข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง/ไม่เป็นจริงนั้นทำให้พนักงาน/ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่นเสียหาย ผู้รับรอง/นายจ้างอาจจะถูกดำเนินการทางกฎหมายได้
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำงาน ลักษณะงาน และประสบการณ์ในการทำงานของพนักงาน/ลูกจ้างที่นายจ้างระบุลงในหนังสือรับรองการทำงานจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นคุณหรือเป็นประโยชน์ต่อพนักงาน/ลูกจ้าง เนื่องจากหากข้อเท็จจริงที่เป็นโทษต่อพนักงาน/ลูกจ้าง (เช่น การปฏิบัติงานที่ผิดพลาด การกระทำความผิด การลงโทษทางวินัย) อาจทำให้พนักงาน/ลูกจ้างได้รับความเสียหายได้
นอกจากนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ที่พนักงาน/ลูกจ้างได้รับ (ถ้ามี) จะต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดในแต่ละพื้นที่และในแต่ละอาชีพ ทั้งนี้ เนื่องจากการจ่ายค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการปฏิบัติผิดกฎหมายแรงงาน และนายจ้างอาจมีความรับผิดทางกฎหมาย
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือรับรองการทำงาน ได้แก่
นายจ้าง (เช่น บุคคลที่ว่าจ้างลูกจ้างให้ทำงานให้กับตน และจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง) ตัวแทนผู้มีอำนาจของนายจ้าง (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่นายจ้างมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำหนังสือรับรองการทำงาน (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล) เท่านั้น ที่ควรเป็นผู้ลงนามในหนังสือรับรองการทำงาน
หนังสือรับรองการทำงานไม่มีการกำหนดระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ โดย หนังสือรับรองการทำงานเป็นการรับรองข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำงาน/ประสบการณ์ในการทำงานของพนักงาน/ลูกจ้าง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (เช่น วันที่ออกหนังสือรับรองการทำงาน)
อย่างไรก็ดี วันที่ออกหนังสือรับรองการทำงานอาจมีผลต่อการนำหนังสือรับรองการทำงานไปใช้อ้างอิง (เช่น ธนาคาร/สถาบันการเงินอาจกำหนดให้ต้องใช้หนังสือรับรองการทำงานที่ออกมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน)
เมื่อจัดทำและลงนามในหนังสือรับรองการทำงานเรียบร้อยแล้ว นายจ้างอาจนำส่งหนังสือรับรองการทำงานให้แก่พนักงาน/ลูกจ้างผู้ขอรับหนังสือรับรองการทำงาน เพื่อพนักงาน/ลูกจ้างสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเกี่ยวกับการทำงาน/ประสบการณ์ในการทำงานของตนตามวัตถุประสงค์ต่อไป โดยอาจจัดทำสำเนาไว้เพื่อการอ้างอิงในอนาคต
เนื่องจากข้อมูลบางรายการในหนังสือรับรองการทำงานของพนักงาน/ลูกจ้างแต่ละคนอาจถือเป็นข้อมูลความลับและข้อมูลเฉพาะบุคคล (เช่น รายได้) ในการนำส่งหนังสือรับรองการทำงานให้แก่พนักงาน/ลูกจ้าง นายจ้างอาจส่งมอบด้วยวิธีลับ (เช่น บรรจุซองปิดผนึกและระบุชั้นความลับที่หน้าซองจดหมาย)
โดยทั่วไปหนังสือรับรองการทำงานย่อมเพียงพอต่อการรับรองข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำงาน/ประสบการณ์ในการทำงานของพนักงาน/ลูกจ้าง
อย่างไรก็ดี นายจ้างและพนักงาน/ลูกจ้างอาจพิจารณาแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบหนังสือรับรองการทำงานตามที่เห็นสมควรเพิ่มเติมด้วยก็ได้ (เช่น ประกาศนียบัตร/รางวัลที่พนักงาน/ลูกจ้างเคยได้รับ สลิปเงินเดือนจากระบบบัญชีเงินเดือน/Payroll System) ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่พนักงาน/ลูกจ้างจะนำหนังสือรับรองการทำงานไปใช้
ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และ/หรือข้อกำหนดของหน่วยงานที่พนักงาน/ลูกจ้างจะนำหนังสือรับรองการทำงานไปใช้ เช่น
นายจ้างและพนักงาน/ลูกจ้างไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำหนังสือรับรองการทำงาน
นายจ้างควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือรับรองการทำงาน ดังต่อไปนี้
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือรับรองการทำงานมี ดังต่อไปนี้
คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ
ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร
คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป
ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้
คู่มือต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คุณ
หนังสือรับรองการทำงาน - ตัวอย่างแบบฟอร์ม - Word และ PDF
ประเทศ: ประเทศไทย