หนังสือค้ำประกัน กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือค้ำประกัน

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 21/09/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด5 ถึง 7 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 21/09/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 5 ถึง 7 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือค้ำประกันคืออะไร

หนังสือค้ำประกัน (Letter of Guarantee: L/G) หรือสัญญาค้ำประกัน คือ สัญญาที่มีผู้ค้ำประกันตกลงให้สัญญาแก่เจ้าหนี้ (เช่น ผู้ให้กู้ยืมเงิน ธนาคาร) ว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ หากลูกหนี้ (เช่น ผู้กู้ยืมเงิน) ไม่ชำระหนี้หรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ค้ำประกันนั้น (เช่น การกู้ยืมเงิน การเช่าสิ่งปลูกสร้าง/ทรัพย์สิน การก่อสร้าง การประกันผลงาน การขายสินค้า/ให้บริการ การประกวดราคาโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ) ทั้งนี้ ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นบุคคลภายนอก (เช่น ไม่ใช่ตัวเจ้าหนี้หรือลูกหนี้เสียเอง)

โดยหนังสือค้ำประกันหรือสัญญาค้ำประกันมักถูกนำมาใช้ในกรณี เช่น

  • เจ้าหนี้ (เช่น ผู้ให้กู้ยืมเงิน ธนาคาร) ต้องการให้มีหลักประกันการชำระหนี้หรือการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้
  • ลูกหนี้ (เช่น ผู้กู้ยืมเงิน) อาจมีความน่าเชื่อถือทางการเงินไม่เพียงพอ เจ้าหนี้จึงต้องการบุคคลที่สาม/บุคคลภายนอกซึ่งมักเป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือทางการเงิน (เช่น ผู้ค้ำประกัน) เข้ามารับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้/ไม่สามารถชำระหนี้ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาที่ค้ำประกันดังกล่าวนั้นได้

จำเป็นต้องทำหนังสือค้ำประกัน หรือไม่

จำเป็น เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้การค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ผู้ค้ำประกันจึงจำเป็นต้องจัดทำหนังสือค้ำประกันเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้ค้ำประกัน

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในหนังสือค้ำประกัน

ผู้ค้ำประกันควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือค้ำประกัน ดังต่อไปนี้

  • ผู้ค้ำประกัน เช่น ชื่อ ที่อยู่ของผู้ค้ำประกัน เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • เจ้าหนี้และลูกหนี้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • หนี้ที่ค้ำประกัน เช่น ลักษณะของหนี้ จำนวนหนี้ รวมถึง อ้างอิงเอกสารนิติกรรมที่ก่อให้เกิดหนี้นั้น (เช่น สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง/สัญญารับเหมาก่อสร้าง)
  • การค้ำประกัน เช่น รายละเอียด ลักษณะ (เช่น ค้ำประกันหนี้ทั้งจำนวนหรือจำกัดวงเงินค้ำประกัน) ขอบเขต ข้อจำกัด ระยะเวลา (เช่น กำหนดระยะเวลาที่ค้ำประกันหรือค้ำประกันต่อเนื่องหลายคราวไม่จำกัดระยะเวลา) หรือเงื่อนไขการค้ำประกัน
  • ข้อตกลงอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ผู้รับเรือน/ผู้ประกันผู้ค้ำประกันอีกชั้นหนึ่ง กระบวนการ ขั้นตอน และเงื่อนไขการบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน

ข้อสำคัญ: กระบวนการ ขั้นตอน และเงื่อนไขการค้ำประกันและการบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกันจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายหรือเป็นประโยชน์กับผู้ค้ำประกันมากกว่าที่กฎหมายกำหนด


ไม่ควรระบุ/กำหนดข้อมูลลักษณะใดลงในหนังสือค้ำประกัน

ผู้ค้ำประกันไม่ควรระบุ/กำหนดข้อตกลงและเงื่อนไขการค้ำประกันที่มีลักษณะขัดต่อกฎหมายค้ำประกันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนลงในหนังสือค้ำประกันซึ่งอาจทำให้หนังสือค้ำประกันและ/หรือข้อตกลงดังกล่าวไม่สามารถใช้บังคับได้ เช่น

  • ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดกับหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ หนี้หรือสัญญาที่ไม่ระบุชัดแจ้ง หรือยังคงต้องรับผิดกับหนี้ของลูกหนี้ที่ระงับสิ้นไปแล้ว
  • ข้อตกลงที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ยกเว้น ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันเป็นนิติบุคคลและได้ยินยอมเข้าผูกพันตนเพื่อรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม
  • ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขซึ่งไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์ในการก่อหนี้รายที่ค้ำประกัน ลักษณะของมูลหนี้ จำนวนเงินสูงสุดที่ค้ำประกัน และระยะเวลาในการก่อหนี้ที่จะค้ำประกัน ยกเว้น ในกรณีการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราว อาจไม่จำเป็นต้องระบุระยะเวลาในการก่อหนี้
  • ข้อตกลงที่ห้ามไม่ให้ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้หรือข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้นั้นขึ้นต่อสู้
  • ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดกับหนี้ที่ลูกหนี้กระทำลงภายหลังจากที่ผู้ค้ำประกันได้บอกเลิกการค้ำประกันล่วงหน้าต่อเจ้าหนี้ ในกรณีการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลา
  • ข้อตกลงที่ยกเว้นหน้าที่ของเจ้าหนี้เกี่ยวกับการเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ เช่น การทำหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกัน (เช่น หนังสือบอกกล่าวให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้) ภายในระยะเวลาที่กำหนดเมื่อลูกหนี้ผิดนัด การเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ การหลุดพ้นความรับผิดของผู้ค้ำประกัน

หนังสือค้ำประกันเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือค้ำประกัน ได้แก่

  • ผู้ค้ำประกัน (เช่น บุคคลที่มีความน่าเชื่อถือทางการเงิน) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ค้ำประกัน (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ค้ำประกันมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการค้ำประกัน (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย) ซึ่งเป็นผู้จัดทำและลงนามในหนังสือค้ำประกันและผูกพันต่อเจ้าหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน
  • เจ้าหนี้ (เช่น ผู้ให้กู้ ผู้ซื้อ ผู้รับบริการ ผู้ว่าจ้างก่อสร้าง) ซึ่งเป็นผู้ได้รับหนังสือค้ำประกันเพื่อนำไปใช้ยึดถือและอ้างอิงต่อไป
  • ลูกหนี้ (เช่น ผู้กู้ ผู้ขาย ผู้ให้บริการ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ลูกค้า คู่ค้า) ซึ่งมีหนี้และ/หรือหน้าที่ตามสัญญาต้องปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ (เช่น ชำระเงินต้นคืน ส่งมอบสินค้า/บริการ ส่งมอบงาน) โดยผู้ค้ำประกันได้ค้ำประกันหนี้และ/หรือค้ำประกันสัญญาดังกล่าวให้แก่ลูกหนี้

ควรกำหนดระยะเวลาของหนังสือค้ำประกัน อย่างไร

ผู้ค้ำประกันควรระบุ/กำหนดระยะเวลาการค้ำประกันที่แน่นอนโดยสอดคล้องตามนิติกรรม/สัญญาที่ค้ำประกันนั้น ทั้งนี้ เนื่องจากข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขซึ่งไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์ในการก่อหนี้รายที่ค้ำประกัน ลักษณะของมูลหนี้ จำนวนเงินสูงสุดที่ค้ำประกัน และระยะเวลาในการก่อหนี้ที่จะค้ำประกัน อาจขัดต่อกฎหมายซึ่งอาจทำให้หนังสือค้ำประกันและ/หรือข้อตกลงดังกล่าวไม่สามารถใช้บังคับได้

อย่างไรก็ดี ในกรณีการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราว (เช่น การค้ำประกันสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี (O/D) การค้ำประกันลูกจ้างในการทำงานตามสัญญาจ้างพนักงานประจำ) ผู้ค้ำประกันอาจค้ำประกันโดยไม่มีจำกัดเวลาได้ ในกรณีเช่นนี้ ผู้ค้ำประกันและเจ้าหนี้ อาจมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • ผู้ค้ำประกันย่อมมีสิทธิบอกเลิกการค้ำประกันได้ โดยบอกกล่าวความประสงค์จะเลิกค้ำประกันแก่เจ้าหนี้
  • ผู้ค้ำประกันไม่จำเป็นต้องรับผิดกับหนี้ที่ลูกหนี้กระทำลงภายหลังจากที่ผู้ค้ำประกันได้บอกเลิกการค้ำประกันต่อเจ้าหนี้แล้ว

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในหนังสือค้ำประกันแล้ว

ผู้ค้ำประกันจัดทำหนังสือค้ำประกันเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยผู้ค้ำประกัน รวมถึง พยาน (ถ้ามี) ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้การค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้

เมื่อจัดทำและลงนามในหนังสือค้ำประกันเรียบร้อยแล้ว ผู้ค้ำประกันอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ค้ำประกันอาจจัดทำคู่ฉบับของหนังสือค้ำประกันอย่างน้อย 3 ฉบับ เพื่อให้แต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละ 1 ฉบับ (เช่น เจ้าหนี้ ลูกหนี้ และตัวผู้ค้ำประกันเอง)
  • ผู้ค้ำประกันควรแนบเอกสารแสดงตัวตนของผู้ค้ำประกันที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องประกอบหนังสือค้ำประกันไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • ผู้ค้ำประกันนำหนังสือค้ำประกันที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากหนังสือค้ำประกันและคู่ฉบับถือเป็นตราสารที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์ อย่างไรก็ดี ในการค้ำประกันบางประเภทอาจได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ดังกล่าว (เช่น การค้ำประกันหนี้การกู้ยืม/ยืมของสหกรณ์และสมาชิก การกู้ยืม/ยืมเพื่อการบริโภค/เกษตรกรรมของรัฐบาลและประชาชน)
  • ผู้ค้ำประกันนำส่งหนังสือค้ำประกันดังกล่าวให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง (เช่น เจ้าหนี้ ลูกหนี้) เพื่อใช้อ้างอิงต่อไป

ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้ไปตามหนังสือค้ำประกัน (เช่น ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้/ไม่สามารถชำระหนี้ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาที่ค้ำประกันนั้น และเจ้าหนี้ได้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามกฎหมาย) ในกรณีเช่นนี้ ผู้ค้ำประกันอาจมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • ผู้ค้ำประกันย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาเงินและดอกเบี้ยที่ตนต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้ไปนั้นจากลูกหนี้ได้
  • ผู้ค้ำประกันควรแจ้งให้ลูกหนี้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อมีการชำระหนี้แทนลูกหนี้ไป เนื่องจากหากลูกหนี้ไม่ทราบและได้ดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซ้ำอีก ผู้ค้ำประกันจะไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ โดยผู้ค้ำประกันอาจจำเป็นต้องฟ้องเจ้าหนี้ให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้เพื่อเรียกเงินที่ผู้ค้ำประกันชำระไปนั้นคืน ในกรณีที่เจ้าหนี้ไม่ยอมคืนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้ค้ำประกัน

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบหนังสือค้ำประกันด้วย หรือไม่

ผู้ค้ำประกันอาจพิจารณาแนบเอกสารแสดงตัวตนที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องเก็บไว้ประกอบแนบหนังสือค้ำประกัน เช่น

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • หนังสือเดินทาง
  • หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)
  • หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ

หนังสือค้ำประกันจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

ผู้ค้ำประกันไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำหนังสือค้ำประกัน

หนังสือค้ำประกันจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้หนังสือค้ำประกันจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี ผู้ค้ำประกันและ/หรือผู้เกี่ยวข้อง (เช่น เจ้าหนี้ ลูกหนี้) อาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในหนังสือค้ำประกันตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามหนังสือค้ำประกัน (เช่น ผู้ค้ำประกัน)

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำหนังสือค้ำประกัน

ผู้ค้ำประกันอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจัดทำหนังสือค้ำประกัน ดังต่อไปนี้

  • อากรแสตมป์ เนื่องจากหนังสือค้ำประกันและคู่ฉบับเป็นตราสารที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์ ผู้ค้ำประกันจึงมีหน้าที่นำหนังสือค้ำประกันที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ในกรณีที่ไม่ชำระอากร ศาลจะไม่รับฟังตราสารที่ไม่ได้ชำระอากรโดยสมบูรณ์เป็นพยานหลักฐาน อีกทั้ง ยังมีค่าปรับการไม่ชำระอากรแสตมป์ และอาจมีโทษทางอาญาอีกด้วย อย่างไรก็ดี ในการค้ำประกันบางประเภทอาจได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ดังกล่าว (เช่น การค้ำประกันหนี้การกู้ยืม/ยืมของสหกรณ์และสมาชิก การกู้ยืม/ยืมเพื่อการบริโภค/เกษตรกรรมของรัฐบาลและประชาชน)

ผู้ค้ำประกันควรดำเนินการอย่างไรเมื่อถูกบังคับชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกัน

ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันถูกเจ้าหนี้บังคับชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกัน (เช่น ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้/ไม่สามารถชำระหนี้ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาที่ค้ำประกันนั้น และเจ้าหนี้ได้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามกฎหมาย) ผู้ค้ำประกันอาจมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • ผู้ค้ำประกันย่อมมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ที่ค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันแทนลูกหนี้ในกรณีที่

(ก) ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้/ไม่สามารถชำระหนี้ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาที่ค้ำประกันนั้น และ
(ข) เจ้าหนี้ได้ดำเนินการเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามกฎหมายแล้ว เช่น ทำหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันเพื่อเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ (เช่น หนังสือบอกกล่าวให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้)

  • ในกรณีที่เจ้าหนี้ไม่ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภายใน 60 วันนับจากวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชอบในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ส่วนที่เกิดขึ้นหลังจากกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
  • ในกรณีที่เจ้าหนี้ยังไม่เคยติดตามทวงถามเป็นหนังสือ/ลายลักษณ์อักษรแจ้งให้ลูกหนี้ชำระเงินก่อนหน้านี้ (เช่น เจ้าหนี้ยังไม่ได้ดำเนินการส่งหนังสือติดตามทวงถามหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้) ผู้ค้ำประกันย่อมมีสิทธิขอให้เจ้าหนี้ไปเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนได้ เว้นแต่

(ก) ลูกหนี้จะถูกศาลพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย
(ข) ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้อยู่แห่งใดในประเทศไทย

  • ผู้ค้ำประกันย่อมสามารถปฏิเสธการรับผิดชอบหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ หนี้/สัญญาที่ไม่ระบุชัดแจ้ง หรือหนี้ของลูกหนี้ที่ระงับสิ้นไปแล้ว
  • ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้ไปตามหนังสือค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันควรแจ้งให้ลูกหนี้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อมีการชำระหนี้แทนลูกหนี้ไป เนื่องจากหากลูกหนี้ไม่ทราบและได้ดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซ้ำอีก ผู้ค้ำประกันจะไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ โดยผู้ค้ำประกันอาจจำเป็นต้องฟ้องเจ้าหนี้ให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้เพื่อเรียกเงินที่ผู้ค้ำประกันชำระไปนั้นคืน ในกรณีที่เจ้าหนี้ไม่ยอมคืนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้ค้ำประกัน
  • ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้ไปตามหนังสือค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาเงินและดอกเบี้ยที่ตนต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้ไปนั้นจากลูกหนี้ได้

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับหนังสือค้ำประกัน

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือค้ำประกันมี ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม