สัญญาให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้มีภาวะพึ่งพิง กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้มีภาวะพึ่งพิง

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 04/10/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด16 ถึง 25 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 04/10/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 16 ถึง 25 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้มีภาวะพึ่งพิง คือ สัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ว่าจ้าง (เช่น ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย หรือตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย) ฝ่ายหนึ่ง และผู้รับจ้าง (เช่น ผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย) อีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่ ผู้ว่าจ้างตกลงว่าจ้างให้ผู้รับจ้างดำเนินการดูแล ช่วยเหลือผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยตามขอบเขตที่กำหนดไว้ในสัญญาให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้มีภาวะพึ่งพิง

ปัจจุบัน ด้วยความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ทำให้ผู้มีหน้าที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยอาจไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ (เช่น ต้องออกไปทำงานนอกบ้านทั้งวันโดยไม่มีผู้ดูแล) การที่ปล่อยผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย ไว้เพียงลำพังอาจก่อให้เกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิต หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยได้ การใช้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยจึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย โดยสัญญาให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้มีภาวะพึ่งพิงฉบับนี้ อาจนำไปใช้ได้ ไม่ว่าในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(ก) บริการรับดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยระหว่างวัน (Day Care) เช่น ผู้รับจ้างเป็นสถานที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยระหว่างวันโดยไม่มีการพักค้างคืน
(ข) บริการบ้านพักดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย (Care Home) เช่น ผู้รับจ้างเป็นสถานที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย และให้บริการสถานที่พำนักอาศัยแก่ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย
(ค) บริการสถานบริบาลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย (Nursing Home) เช่น ผู้รับจ้างเป็นสถานที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของบุคลากรทางการแพทย์/ผู้ประกอบวิชาชีพ (เช่น แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบําบัด) และให้บริการสถานที่พำนักอาศัยแก่ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย
(ง) บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยที่บ้าน (Domiciliary Care) เช่น ผู้รับจ้างหรือตัวแทนมาให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยที่บ้านหรือสถานที่ของผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย ไม่ว่ากรณีผู้ดูแลมาพักอาศัยอยู่ประจำที่บ้านของผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย หรือกรณีผู้ดูแลเดินทางไป-กลับ ก็ตาม

สัญญาให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้มีภาวะพึ่งพิง ถือเป็นสัญญาบริการชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ดี สัญญาฉบับนี้ได้ถูกร่างขึ้นโดยมีข้อความและข้อสัญญาสำหรับการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยโดยเฉพาะ ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงว่าจ้างทำงานหรือให้บริการอย่างอื่น ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาบริการซึ่งมีข้อความและข้อสัญญาสำหรับการให้บริการทั่วไป

การนำไปใช้

ในการจัดทำสัญญาให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้มีภาวะพึ่งพิง ผู้จัดทำควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • ขอบเขตของบริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย เช่น หน้าที่ความรับผิดชอบ จำนวนและคุณสมบัติของบุคลากรที่ต้องจัดให้มี (เช่น ผู้ดูแล)
  • สถานที่ผู้รับจ้างจะต้องให้บริการดูแล เช่น สถานที่ตั้งสถานที่ให้บริการดูแล หรือบ้านของผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย แล้วแต่กรณี
  • ระยะเวลาสัญญา เช่น วันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดสัญญา การบอกเลิกและสิ้นสุดสัญญาก่อนกำหนด
  • ค่าบริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย เช่น รูปแบบและอัตราการคิดค่าบริการ เงินมัดจำ รวมถึงกำหนดการชำระเงิน
  • ข้อตกลงอื่น เช่น การเปลี่ยนแปลงค่าบริการ

เมื่อผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาครบถ้วนแล้ว ผู้จัดทำควรจัดทำสัญญาให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้มีภาวะพึ่งพิงเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย โดย คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ

คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)

คู่สัญญานำสัญญาที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากสัญญาให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้มีภาวะพึ่งพิงและคู่ฉบับเป็นสัญญาจ้างทำของที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์

ข้อพิจารณา

ในกรณีบริการรับดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยระหว่างวัน (Day Care) และบริการบ้านพักดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย (Care Home) ผู้รับจ้างจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และในกรณีบริการสถานบริบาลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย (Nursing Home) ผู้รับจ้างจะต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลด้วย

เนื่องจากในการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยตามสัญญาฉบับนี้ ผู้รับจ้างหรือพนักงานของผู้รับจ้างอาจได้ล่วงรู้ หรือได้รับข้อมูลภายในของผู้ว่าจ้าง หรือผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย สัญญาฉบับนี้จึงประกอบด้วยข้อตกลงการเก็บรักษาความลับซึ่งห้ามคู่สัญญาเปิดเผยข้อมูลความลับของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งโดยทั่วไปอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาความลับอย่างยิ่ง คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดทำ สัญญาเก็บรักษาความลับ แยกต่างหากอีกฉบับเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ รายละเอียด และบทลงโทษเกี่ยวกับการเก็บรักษาความลับโดยเฉพาะด้วยก็ได้

สัญญาให้บริการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้มีภาวะพึ่งพิงฉบับนี้ถูกร่างขึ้นบนพื้นฐานของกฎหมายจ้างทำของ หรือสัญญาให้บริการ อย่างไรก็ดี ในบางลักษณะของการให้บริการอาจมีความใกล้เคียงกับสัญญาจ้างแรงงานตามกฎหมายแรงงานเป็นอย่างมาก ซึ่งหากเป็นการจ้างแรงงานแล้ว สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ก็จะแตกต่างไปเนื่องจากอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานโดยเฉพาะ คู่สัญญาอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพิจารณาแยกความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างทำของกับสัญญาจ้างแรงงาน ได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม