สัญญาโอนลิขสิทธิ์ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาโอนลิขสิทธิ์

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 24/08/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด9 ถึง 13 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 24/08/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 9 ถึง 13 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาโอนลิขสิทธิ์คืออะไร

สัญญาโอนลิขสิทธิ์ (Copyright Assignment/Transfer Agreement) หรือหนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ คือ สัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้โอนซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ (เช่น ผู้สร้างสรรค์งาน ผู้แต่ง ผู้ประพันธ์ผลงาน) และผู้รับโอน (เช่น ผู้ซื้อ ผู้รับการให้ซึ่งลิขสิทธิ์) โดยที่ ผู้โอนตกลงจะโอนสิทธิความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานอันมีลิขสิทธิ์ให้แก่ผู้รับโอนตามเงื่อนไขที่กำหนด (เช่น เพลง บทความ นิยาย โปรแกรมคอมพิวเตอร์/แอปพลิเคชัน ผลงานการออกแบบ หนัง ละคร/ซีรีส์) โดยผู้รับโอนจะมีสถานะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ต่อจากผู้โอน โดยอาจมีค่าตอบแทน (เช่น ซื้อขาย ว่าจ้าง) หรือไม่มีค่าตอบแทน (เช่น ยกให้) ก็ได้

สัญญาโอนลิขสิทธิ์เป็นการโอนสิทธิอย่างเด็ดขาดในความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จากผู้โอนให้แก่ผู้รับโอน สัญญาโอนลิขสิทธิ์จึงอาจนำมาใช้ในกรณี ดังต่อไปนี้

  • การซื้อขายลิขสิทธิ์ของงาน/ผลงานแบบเด็ดขาด
  • การยกให้ซึ่งลิขสิทธิ์ของงาน/ผลงานแบบเด็ดขาด
  • พนักงาน/ลูกจ้างโอนลิขสิทธิ์ให้นายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างและพนักงาน/ลูกจ้างไม่ได้มีข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงานหรือหนังสือตกลงกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้ลิขสิทธิ์ในงานที่พนักงาน/ลูกจ้างสร้างสรรค์ขึ้นจากการจ้างงานเป็นของนายจ้าง เนื่องจากในกรณีดังกล่าวตามกฎหมายกำหนดให้พนักงาน/ลูกจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
  • ผู้ว่าจ้างโอนลิขสิทธิ์ให้ผู้รับจ้าง/ผู้ให้บริการ ในกรณีที่คู่สัญญาไม่ได้มีข้อตกลงกันไว้ให้ลิขสิทธิ์ในงานที่ว่าจ้างสร้างสรรค์ขึ้นจากการจ้างทำของ/บริการตกเป็นของผู้รับจ้าง/ผู้ให้บริการ (เช่น สัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน สัญญาบริการ) เนื่องจากในกรณีดังกล่าวตามกฎหมายกำหนดให้ผู้ว่าจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

สัญญาโอนลิขสิทธิ์มีลักษณะใดบ้าง

สัญญาโอนลิขสิทธิ์อาจแบ่งตามลักษณะการกำหนดค่าตอบแทนได้ ดังต่อไปนี้

  • สัญญาโอนลิขสิทธิ์โดยมีค่าตอบแทน เช่น การซื้อขายลิขสิทธิ์ของงาน/ผลงานแบบเด็ดขาด
  • สัญญาโอนลิขสิทธิ์โดยไม่มีค่าตอบแทน เช่น การยกให้ซึ่งลิขสิทธิ์ของงาน/ผลงานแบบเด็ดขาด

สัญญาโอนลิขสิทธิ์และสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิแตกต่างกัน อย่างไร

แม้สัญญาโอนลิขสิทธิ์และสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิจะมีวัตถุประสงค์ในการให้ผู้รับโอนสิทธิ/ผู้ได้รับอนุญาตสามารถนำสิทธิที่ได้รับไปใช้ตามวัตถุประสงค์/ประโยชน์ต่างๆ เหมือนกัน

อย่างไรก็ดี สัญญาโอนลิขสิทธิ์และสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิมีความแตกต่างกันอย่างสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • สัญญาโอนสิทธิ (เช่น สัญญาโอนลิขสิทธิ์ฉบับนี้ สัญญาโอนเครื่องหมายการค้า สัญญาโอนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร) เป็นการโอนสิทธิเด็ดขาด/สิทธิความเป็นเจ้าของในสิทธิดังกล่าวให้แก่ผู้รับโอนสิทธิ โดยที่ผู้รับโอนสิทธิจะเข้าเป็นผู้มีสิทธิเด็ดขาด/สิทธิความเป็นเจ้าของในสิทธิดังกล่าว (เช่น การขายขาดลิขสิทธิ์/ยกให้ซึ่งลิขสิทธิ์)
  • สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามระยะเวลาที่คู่สัญญากำหนดตกลงกันตามขอบเขตและเงื่อนไขที่กำหนด โดยที่สิทธิเด็ดขาด/สิทธิความเป็นเจ้าของในสิทธิดังกล่าวจะยังคงเป็นของผู้อนุญาต/เจ้าของสิทธิดังกล่าว (เช่น อนุญาตให้นำบทละครไปใช้ตีพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อจำหน่าย/อนุญาตให้นำเพลงไปร้องในงานแสดงคอนเสิร์ตเป็นระยะเวลา 5 ปี โดยต้องจ่ายค่าสิทธิทุกๆ ปีให้แก่ผู้อนุญาต)

จำเป็นต้องทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์ หรือไม่

จำเป็น เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้การโอนลิขสิทธิ์ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน คู่สัญญาจึงควรจัดทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์เป็นลายลักษณ์อักษรและให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญาลงนามในสัญญาโอนลิขสิทธิ์

งานอันมีลิขสิทธิ์คืออะไร

งานอันมีลิขสิทธิ์ (Copyright) คือ งาน/ผลงานการสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย โดยอาจเป็นงาน/ผลงานประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • วรรณกรรมทางภาษา เช่น หนังสือ นิยาย บทความ บทประพันธ์ คำร้อง สิ่งพิมพ์
  • วรรณกรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชัน
  • ดนตรีกรรม เช่น เพลง ทำนอง โน้ตเพลง หรือแผนภูมิเพลง
  • ภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ เสียงประกอบภาพยนตร์ และเสียงพากย์
  • โสตทัศนวัสดุและสิ่งบันทึกเสียง เช่น แผ่น DVD แผ่น Blu Ray แผ่นเพลง แผ่น CD
  • งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการออนไลน์
  • นาฏกรรม เช่น ท่ารำ ท่าเต้น การทำท่า หรือการแสดง
  • ศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม งานภาพพิมพ์ งานภาพถ่าย ภาพประดิษฐ์ ผลงานศิลปะ
  • สถาปัตยกรรม เช่น การออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง งานออกแบบตกแต่งภายในหรือภายนอก
  • งานภาพประกอบ เช่น แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่าง หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์
  • งานอื่นๆ ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาโอนลิขสิทธิ์

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาโอนลิขสิทธิ์ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ต้องการโอน เช่น ประเภท ชนิด ชื่อผลงาน สื่อ การนำเสนอ จำนวน ปริมาณ เนื้อหา ทั้งนี้ รายละเอียดอาจขึ้นอยู่กับประเภทและลักษณะของงาน
  • ผู้สร้างสรรค์งาน เช่น ชื่อ นามแฝง หรือนามปากกา เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์
  • การสร้างสรรค์และโฆษณาต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (ถ้ามี) เช่น วันที่ รูปแบบ วิธีการ สื่อ สถานที่ จำนวนผู้ร่วมงาน/ผู้ชม เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์
  • การโอนสิทธิ เช่น วันที่โอน และลักษณะการโอน
  • การจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ (ถ้ามี) เช่น เลขทะเบียนข้อมูลลิขสิทธิ์ รายละเอียดหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ รวมถึง หน้าที่การดำเนินการจดแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลเจ้าของลิขสิทธิ์
  • ค่าตอบแทน (ถ้ามี) เช่น อัตราค่าตอบแทน กำหนดชำระ

จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์

คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการใดๆ ก่อนตามกฎหมายในการจัดทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์

อย่างไรก็ดี ก่อนการจัดทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์ คู่สัญญาอาจมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • ผู้รับโอนควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าผู้โอนเป็นผู้มีสิทธิเด็ดขาด/สิทธิความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงาน/ผลงาน โดยผู้รับโอนสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้จากหลักฐานการสร้างสรรค์ของผู้สร้างสรรค์งาน/ผลงานดังกล่าว เช่น การโฆษณา/เผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (ถ้ามี) และ/หรือเอกสารทางทะเบียนของลิขสิทธิ์ (ถ้ามี) (เช่น หนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์)
  • ผู้รับโอนควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าลิขสิทธิ์ไม่มีข้อผูกพันในการใช้สิทธิต่างๆ ที่อาจรบกวนการใช้ประโยชน์ในลิขสิทธิ์ของผู้รับโอน หรืออาจทำให้ผู้รับโอนไม่สามารถใช้ประโยชน์ในลิขสิทธิ์ได้ตามความต้องการ (เช่น ผู้โอนได้อนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวอยู่ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว/Exclusive Licensing Agreement) โดยผู้รับโอนสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้จากเอกสารที่ก่อข้อผูกพันนั้น (ถ้ามี) (เช่น สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ) และ/หรือเอกสารทางทะเบียนของลิขสิทธิ์ (ถ้ามี) (เช่น หนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์)

สัญญาโอนลิขสิทธิ์เกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์ ได้แก่

  • ผู้โอนซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ (เช่น ผู้สร้างสรรค์งาน ผู้แต่ง ผู้ประพันธ์ผลงาน) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้โอน (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้โอนมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการโอนลิขสิทธิ์ (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายขาย) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาโอนลิขสิทธิ์และผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้โอน
  • ผู้รับโอน (เช่น ผู้ซื้อ ผู้รับการให้ซึ่งลิขสิทธิ์) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้รับโอน (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้รับโอนมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา/จัดซื้อลิขสิทธิ์ (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายเนื้อหา) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาโอนลิขสิทธิ์และผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้รับโอน

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาโอนลิขสิทธิ์แล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์เป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยาน (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาโอนลิขสิทธิ์ฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้การโอนลิขสิทธิ์ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาโอนลิขสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาโอนลิขสิทธิ์อย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาโอนลิขสิทธิ์ฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาโอนลิขสิทธิ์ (ถ้ามี)
  • ในกรณีที่งานอันมีลิขสิทธิ์ได้จดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา คู่สัญญาควรดำเนินการจดแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลเจ้าของลิขสิทธิ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น กรมทรัพย์สินทางปัญญา) เพื่อให้ข้อมูลในทะเบียนข้อมูลลิขสิทธิ์มีความถูกต้อง สอดคล้อง และตรงกันกับสัญญาโอนลิขสิทธิ์ฉบับนี้

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาโอนลิขสิทธิ์ด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาโอนลิขสิทธิ์ (ถ้ามี) เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญา เช่น

  • งาน/ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ (เช่น แบบ รายละเอียด เนื้อหาของผลงาน งานต้นฉบับ)
  • เอกสารทางทะเบียนของลิขสิทธิ์ (เช่น หนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์)

สัญญาโอนลิขสิทธิ์จำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

ในกรณีที่งานอันมีลิขสิทธิ์ได้จดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา คู่สัญญาอาจจำเป็นต้องดำเนินการจดแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลเจ้าของลิขสิทธิ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น กรมทรัพย์สินทางปัญญา) เพื่อให้ข้อมูลในทะเบียนข้อมูลลิขสิทธิ์มีความถูกต้อง สอดคล้อง และตรงกันกับสัญญาโอนลิขสิทธิ์ฉบับนี้

สัญญาโอนลิขสิทธิ์จำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาโอนลิขสิทธิ์จำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาโอนลิขสิทธิ์ตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาโอนลิขสิทธิ์ (เช่น คู่สัญญา)

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาโอนลิขสิทธิ์

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์มี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม