สารบัญ
การซื้อ/เซ้งต่อกิจการ คือการที่ผู้ซื้อกิจการได้มาซึ่งอำนาจควบคุม หรือได้มาซึ่งความเป็นเจ้าของในกิจการใดกิจการหนึ่ง โดยผู้ซื้อกิจการจะเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในการดำเนินงานประกอบกิจการ/ธุรกิจ และรับผลประโยชน์ (เช่น ผลกำไร) รวมถึงภาระความเสี่ยงจากการดำเนินงานด้วย (เช่น ค่าใช้จ่ายต่างๆ สภาวะขาดทุน) โดย กิจการหรือธุรกิจ เช่น
สำหรับสาเหตุในการซื้อ/เซ้งต่อกิจการใดกิจการหนึ่งต่อจากผู้อื่น ผู้ซื้อกิจการแต่ละรายอาจมีเหตุผลและสาเหตุที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของตัวผู้ซื้อกิจการในการซื้อ/เซ้งต่อกิจการนั้น โดยอาจพิจารณาถึงสาเหตุที่ผู้ซื้อกิจการเลือกที่จะซื้อ/เซ้งต่อกิจการตามความต้องการ/วัตถุประสงค์ได้ ดังต่อไปนี้
ในกรณีที่การซื้อหรือเซ้งกิจการ/ธุรกิจ ไม่ว่าโดยการซื้อหุ้นของกิจการ หรือการซื้อสินทรัพย์สำคัญ หากมีลักษณะตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า ผู้ซื้อกิจการอาจจะต้องดำเนินการแจ้งผลการรวมธุรกิจ หรือขออนุญาตรวมธุรกิจ แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้ากำหนด
ในกรณีที่ผู้ซื้อกิจการมีความต้องการที่จะซื้อ/เซ้งต่อกิจการ โดยทั่วไปผู้ซื้อกิจการอาจมีทางเลือกหลักในการได้มาซึ่งกิจการ 2 วิธีด้วยกัน ดังต่อไปนี้
(1) การซื้อหุ้นของกิจการ เช่น การซื้อหุ้นบริษัทผ่านสัญญาโอนหุ้นบริษัท หรือการเข้าเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนที่ประกอบกิจการนั้นๆ
(2) การซื้อสินทรัพย์สำคัญในการดำเนินกิจการ เช่น การซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ สินค้าของกิจการ และอาคารสถานที่ประกอบกิจการ รวมถึงสิทธิการเช่าสถานที่ประกอบกิจการต่อจากผู้ขายกิจการ ผ่านสัญญาซื้อขายกิจการ
ในแต่ละวิธีการต่างก็มีลักษณะ ข้อดี และข้อจำกัดที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละกรณี และปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทกิจการ ขนาดของกิจการ ระยะเวลาในการได้มาซึ่งกิจการ เงินทุนที่ใช้ในการได้มาซึ่งกิจการ ความต้องการสินทรัพย์ต่างๆ ของกิจการ การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (ถ้ามี) โดยในคู่มือทางกฎหมายฉบับนี้จะมุ่งเน้นอธิบายถึงข้อพิจารณาในการได้มาซึ่งกิจการโดยการซื้อสินทรัพย์สำคัญในการดำเนินกิจการผ่านสัญญาซื้อขายกิจการเป็นสำคัญ
ผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อดีและข้อจำกัดในการได้มาซึ่งกิจการโดยการซื้อหุ้นของกิจการ และการซื้อสินทรัพย์สำคัญในการดำเนินกิจการ ได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: การซื้อขายหรือโอนกิจการ สามารถใช้วิธีการใดได้บ้าง และวิธีใดดีที่สุด บนเว็บไซต์ของเรา
สาเหตุที่ผู้ขายกิจการต้องขาย/เซ้งกิจการนั้นอาจมีสาเหตุได้หลากหลายเช่นกัน โดยอาจเป็นสาเหตุที่ตัวกิจการเองหรือจากปัจจัยภายนอกก็ได้ ผู้ซื้อกิจการที่มีความประสงค์จะซื้อ/เซ้งต่อกิจการอาจต้องทำการสืบหาสาเหตุที่ผู้ขายกิจการนั้น ดังต่อไปนี้
เมื่อผู้ซื้อกิจการได้สืบค้นจนทราบสาเหตุที่ผู้ขายกิจการต้องขาย/เซ้งกิจการนั้น ผู้ซื้อกิจการอาจมีข้อพิจารณาต่อไปว่า ผู้ซื้อกิจการสามารถยอมรับกับสาเหตุที่ผู้ขายกิจการต้องขาย/เซ้งกิจการนั้นได้ หรือไม่ เช่น สาเหตุเกิดจากการประสบปัญหาขาดทุน ค่าเช่าแพง ไม่มีพนักงานทำงาน โดยหากผู้ซื้อกิจการพิจารณาแล้วว่าตนสามารถรับมือ และสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ก็อาจพิจารณาที่จะซื้อ/เซ้งต่อกิจการนั้นต่อไป
เมื่อผู้ซื้อกิจการตัดสินใจว่าจะดำเนินการซื้อ/เซ้งต่อกิจการนั้นต่อ สิ่งที่ผู้ซื้อกิจการควรพิจารณาต่อไปก็คือ ผู้ซื้อกิจการต้องการจะซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการใดบ้าง เช่น วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ วัตถุดิบ และสินค้าต่างๆ รวมถึงอาคาร สถานที่ สำนักงาน สิ่งตกแต่ง และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โดย ผู้ซื้อกิจการอาจมีข้อพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะซื้อ/เซ้งต่อ ดังต่อไปนี้
นอกจากทรัพย์สินที่จับต้องได้ตามที่ได้อธิบายไว้ในข้อก่อนหน้าแล้ว ทรัพย์สินอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ซื้อกิจการควรมีข้อพิจารณาก็คือทรัพย์สินทางปัญญา โดยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ/เซ้งต่อกิจการที่สำคัญก็คือ ชื่อและเครื่องหมายการค้า เช่น ชื่อร้าน ชื่อกิจการ โลโก ตรา สัญลักษณ์ของกิจการ โดยที่ชื่อและเครื่องหมายการค้าล้วนเป็นสิ่งที่แสดงถึงความรับรู้ของลูกค้าในคุณภาพ ชื่อเสียง สินค้า และบริการของกิจการ และเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกิจการ สินค้า และบริการ กับลูกค้า โดย ผู้ซื้อกิจการอาจมีข้อพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เกี่ยวกับชื่อและเครื่องหมายการค้า ดังต่อไปนี้
คู่สัญญาสามารถตกลงเงื่อนไขรายละเอียดเกี่ยวกับการโอนสิทธิในชื่อและเครื่องหมายการค้าของกิจการได้ในภายสัญญาซื้อขายกิจการ หรืออาจจัดทำสัญญาโอนเครื่องหมายการค้าแยกต่างหากอีกฉบับโดยเฉพาะก็ได้
ทำเลหรือสถานที่ตั้งของกิจการเป็นปัจจัยสำคัญในกรณีการประกอบกิจการที่ต้องมีหน้าร้าน เนื่องจากความถี่ในการสัญจรผ่านของลูกค้า ความสะดวกในการเข้าถึง การมองเห็นกิจการ และที่จอดรถ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อจำนวนลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้า หรือใช้บริการของกิจการ ดังนั้น ทำเลหรือสถานที่ตั้งของกิจการจึงเป็นอีกข้อพิจารณาที่สำคัญในการซื้อ/เซ้งต่อกิจการ โดยผู้ซื้อกิจการอาจมีข้อพิจารณาเกี่ยวกับทำเลหรือสถานที่ตั้งของกิจการ ดังต่อไปนี้
ในกรณีการเช่าอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง นอกจากสัญญาซื้อขายกิจการแล้ว ผู้ซื้อกิจการยังควรจัดทำสัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ ในกรณีที่ผู้ซื้อกิจการได้ดำเนินการตกลงเช่ากับเจ้าของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างโดยตรง หรือสัญญาเช่าช่วง ในกรณีที่ผู้ซื้อกิจการได้ดำเนินการตกลงเช่าอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่อจากผู้ขายกิจการ
นอกจากทรัพย์สินที่จับต้องได้ตามที่ได้อธิบายไว้ในข้อก่อนหน้าแล้ว ทรัพย์สินอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ซื้อกิจการควรมีข้อพิจารณาก็คือทรัพย์สินทางปัญญา โดยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ/เซ้งต่อกิจการที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งนอกจากชื่อและเครื่องหมายการค้า ก็คือ ความลับทางการค้า เช่น สูตรอาหาร ระบบ กรรมวิธี เทคนิค และองค์ความรู้ต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจและประกอบกิจการ รวมถึงสิทธิบัตรต่างๆ เช่น สิทธิบัตรผลิตภัณฑ์/สินค้า สิทธิบัตรกรรมวิธี/กระบวนการผลิต ในกรณีที่มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรไว้ โดยผู้ซื้อกิจการอาจมีข้อพิจารณาเกี่ยวกับความลับทางการค้าและ/หรือสิทธิบัตรในการประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้
คู่สัญญาสามารถตกลงเงื่อนไขรายละเอียดเกี่ยวกับการโอนสิทธิบัตรของกิจการได้ในภายสัญญาซื้อขายกิจการ หรืออาจจัดทำสัญญาโอนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรแยกต่างหากอีกฉบับโดยเฉพาะก็ได้
บุคลากรของกิจการ เช่น พนักงาน หรือลูกจ้างเดิมของกิจการซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญในการทำงานหรือดำเนินกิจการอยู่แล้วโดยที่ไม่ต้องดำเนินการจัดหา หรือดำเนินการสอนงานใหม่ให้แก่พนักงาน หรือลูกจ้าง โดยผู้ซื้อกิจการอาจมีข้อตกลงกับผู้ขายกิจการในการได้มาซึ่งบุคลากรเดิมของกิจการในการซื้อ/เซ้งต่อกิจการนั้นด้วย ในกรณีเช่นนี้มีข้อพิจารณาเกี่ยวกับบุคลากรของกิจการ ดังต่อไปนี้
ในกรณีการได้มาซึ่งบุคลากรเดิมของกิจการ นอกจากสัญญาซื้อขายกิจการแล้ว ผู้ซื้อกิจการยังควรจัดทำสัญญาจ้างแรงงานกับพนักงานหรือลูกจ้างฉบับใหม่ด้วย อย่างไรก็ดี ในกรณีเช่นนี้กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดให้นายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างที่มีอยู่กับนายจ้างเดิมนั้นไปทุกประการ
ในการจัดทำสัญญาซื้อขายกิจการ ผู้ซื้อกิจการและผู้ขายกิจการอาจมีข้อตกลงระหว่างกันห้ามไม่ให้ผู้ขายกิจการไปประกอบกิจการหรือธุรกิจที่เป็นการแข่งกันกับกิจการที่ซื้อ/เซ้งภายในระยะเวลา และพื้นที่กำหนด ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ขายกิจการย่อมเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับกิจการที่ซื้อ/เซ้งเป็นอย่างดี รวมถึงทราบถึงข้อเด่น ข้อด้อย ข้อจำกัด หรือจุดอ่อนของกิจการที่ซื้อ/เซ้ง หากผู้ขายกิจการกลับมาเปิดกิจการลักษณะที่ใกล้เคียงกันกับกิจการที่ซื้อ/เซ้งอันเป็นการแข่งขันกับกิจการที่ซื้อ/เซ้ง ผู้ซื้อกิจการอาจได้รับความเสียหายได้ (เช่น โดนแย่งลูกค้า ยอดขายลดลงจากที่ประมาณการไว้)
ข้อสำคัญ: การจำกัดการประกอบอาชีพและ/หรือประกอบกิจการที่มากเกินไปอาจไม่สามารถบังคับใช้ได้ (เช่น ประเภทกิจการที่ห้าม พื้นที่ที่ห้าม ระยะเวลาการห้าม) เนื่องจากขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อสัญญาการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ข้อสัญญาหรือข้อตกลงการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการ สามารถบังคับใช้ได้หรือไม่ อย่างไร ภายใต้กฎหมายไทย
ก่อนการดำเนินการจัดทำสัญญาซื้อขายกิจการ ผู้ซื้อกิจการอาจต้องตรวจสอบข้อมูลสำคัญบางอย่างเพื่อแน่ใจว่าจะไม่เกิดปัญหาในภายหลัง โดยผู้ซื้อกิจการอาจมีข้อพิจารณาในการตรวจสอบกิจการ ดังต่อไปนี้
ในกรณีที่มีการตกลงซื้อทรัพย์สินที่มีทะเบียน ผู้ซื้อกิจการและผู้ขายกิจการอาจมีหน้าที่ในการดำเนินการเพิ่มเติมตามกฎหมายด้วย เช่น
นอกจากนี้ ในกรณีที่ กิจการที่ซื้อ/เซ้งนั้นเป็นกิจการหรือธุรกิจที่มีกฎหมายควบคุม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของผู้ดำเนินกิจการ ผู้ซื้อกิจการอาจจะต้องดำเนินการขออนุญาตเพื่อประกอบกิจการหรือธุรกิจใหม่หรือดำเนินการอื่นๆ ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานผู้ให้อนุญาตประกอบกิจการหรือธุรกิจนั้นๆ ด้วย (เช่น การดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจใหม่ ดำเนินการเปลี่ยนแปลงผู้ประกอบธุรกิจใหม่)
ในกรณีที่กิจการที่ซื้อ/เซ้งนั้นเป็นกิจการที่มีสิทธิการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) อยู่ด้วย และผู้ซื้อกิจการต้องการจะประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นั้นต่อไป ผู้ซื้อกิจการและผู้ขายกิจการอาจจะต้องพิจารณาตรวจสอบเงื่อนไขในสัญญาแฟรนไชส์ที่ผู้ขายกิจการได้ทำไว้กับเจ้าของแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซอร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงผู้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจ หรือแฟรนไชส์ซี (เช่น วิธีการเปลี่ยนตัวแฟรนไชส์ซี ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนสัญญา)
นอกจากนี้ ผู้ซื้อกิจการยังควรตรวจสอบเงื่อนไขและข้อตกลงอื่นๆ ในสัญญาแฟรนไชส์ทั้งฉบับ เนื่องจากผู้ซื้อกิจการอาจมีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติมอีกในอนาคตตามสัญญาแฟรนไชส์อีกด้วย เช่น ค่าธรรมเนียมรายปี ค่าสิทธิ (Royalty fee)
การซื้อหรือเซ้งกิจการ/ธุรกิจซึ่งได้มีการดำเนินการมาแล้วนั้น ย่อมก่อให้เกิดข้อได้เปรียบมากกว่าการเริ่มกิจการ/ธุรกิจใหม่เองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้อได้เปรียบด้านระยะเวลาในการจัดหาทรัพย์สินในการประกอบกิจการ (เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ วัตถุดิบ และสินค้า) การสร้างชื่อเสียงและฐานลูกค้า การจัดหาสถานที่ตั้ง และทำเล การพัฒนาองค์ความรู้ (เช่น สูตร กรรมวิธี เทคนิค) การพัฒนาบุคลากร (เช่น การอบรมสอนงาน) อย่างไรก็ดี ผู้ซื้อกิจการก็ควรตรวจสอบและพิจารณาถึงข้อควรพิจารณาต่างๆ ที่ได้อธิบายไว้ในคู่มือทางกฎหมายฉบับนี้ประกอบการตัดสินใจในการซื้อ/เซ้งต่อกิจการใดกิจการหนึ่ง อย่างถี่ถ้วน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดในภายหลัง