เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"
ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้
คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว
ปรับปรุงล่าสุด 04/09/2567
รูปแบบที่มีให้ Word และ PDF
ขนาด 8 ถึง 13 หน้า
ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ
กรอกแบบฟอร์มสัญญาโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า หรือหนังสือสัญญาโอนเครื่องหมายการค้า คือ สัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้โอน (เช่น เจ้าของเครื่องหมายการค้า ผู้ขาย/ผู้ให้สิทธิในเครื่องหมายการค้า) ฝ่ายหนึ่ง และผู้รับโอน (เช่น ผู้ที่จะเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารายใหม่ ผู้ซื้อ/ผู้รับการให้ซึ่งสิทธิในเครื่องหมายการค้า) อีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่ ผู้โอนตกลงจะโอนสิทธิความเป็นเจ้าของในเครื่องหมายการค้าให้แก่ผู้รับโอนตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา โดยอาจมีค่าตอบแทน (เช่น ซื้อขาย) หรือไม่มีค่าตอบแทน (เช่น ให้เปล่า) ก็ได้ โดยการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอาจเป็นสิทธิในเครื่องหมายการค้า ดังต่อไปนี้
โดย เครื่องหมายการค้าที่โอนอาจเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทต่างๆ เช่น
สัญญาโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นการโอนสิทธิความเป็นเจ้าของเด็ดขาดในเครื่องหมายการค้าจากผู้โอนให้แก่ผู้รับโอน ในกรณีที่ผู้โอนต้องการสงวนสิทธิความเป็นเจ้าของสิทธิเด็ดขาดในเครื่องหมายการค้านั้นไว้ แต่ต้องการให้ผู้รับโอนใช้ประโยชน์ในเครื่องหมายการค้าภายในระยะเวลาหนึ่งตามขอบเขตและเงื่อนไขที่ผู้โอนกำหนด (เช่น ให้ใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าของผู้รับโอนเป็นระยะเวลา 5 ปี เฉพาะสินค้าที่กำหนด โดยต้องจ่ายค่าสิทธิทุกๆ ปีให้แก่ผู้โอน) ในกรณีเช่นนี้ คู่สัญญาควรเลือกใช้ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ซึ่งถูกร่างขึ้นสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (เช่น เครื่องหมายการค้า) โดยเฉพาะ ซึ่งสิทธิความเป็นเจ้าของจะยังคงเป็นของผู้อนุญาต โดยผู้ได้รับอนุญาตจะมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตามขอบเขต เงื่อนไข ระยะเวลา และค่าตอบแทนที่คู่สัญญากำหนดตกลงกัน เท่านั้น
การนำไปใช้
ในการจัดทำสัญญาโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า ผู้จัดทำ ควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้
ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น
เมื่อผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาครบถ้วนแล้ว ผู้จัดทำควรจัดทำสัญญาโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย โดย คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)
ในกรณีการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน หรือสิทธิในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คู่สัญญาจะต้องไปดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า หรือจดแจ้งการโอนสิทธิในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า แล้วแต่กรณี กับนายทะเบียน สำนักเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ผู้รับโอนมีสิทธิความเป็นเจ้าของในเครื่องหมายการค้านั้นอย่างสมบูรณ์ โดยในการจดทะเบียน หรือจดแจ้งดังกล่าว คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ต้องพิจารณาและจัดเตรียม เช่น ค่าธรรมเนียมคำขอจดทะเบียน
อนึ่ง ผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน หรือสิทธิในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: จดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า ต้องทำอย่างไร? และบริการข้อมูลเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง การโอนหรือรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้า
ข้อพิจารณา
ในกรณีการโอนสิทธิในเครื่องหมายรับรองจดทะเบียน ผู้รับโอนจะต้องสามารถพิสูจน์และแสดงต่อนายทะเบียนให้ได้ว่า ผู้รับโอนมีความสามารถเพียงพอที่จะดำเนินการรับรองคุณภาพ มาตรฐาน หรือคุณลักษณะของสินค้า/บริการได้ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองนั้นๆ ด้วย
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ความช่วยเหลือจากทนายความ
คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ
ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร
แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร
คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป
ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้
คู่มือต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คุณ
สัญญาโอนเครื่องหมายการค้า - ตัวอย่างแบบฟอร์ม
ประเทศ: ประเทศไทย