เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"
ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้
คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว
ปรับปรุงล่าสุด 16/09/2567
รูปแบบที่มีให้ Word และ PDF
ขนาด 1 ถึง 2 หน้า
ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ
กรอกแบบฟอร์มหนังสือแจ้งขอคืนหลักประกันหรือหนังสือขอคืนหลักประกัน เป็นหนังสือหรือจดหมายที่ออกโดยคู่สัญญาฝ่ายที่มีหน้าที่วางหลักประกันและได้วางหลักประกันเอาไว้ให้แก่ผู้รับหลักประกัน โดยตามสัญญาหรือข้อตกลงแห่งการวางหลักประกันนั้นได้สิ้นสุดหน้าที่ของคู่สัญญาที่มีหน้าที่วางหลักประกัน (ผู้ออกหนังสือนี้) แล้ว ซึ่งโดยทั่วไปคู่สัญญาฝ่ายที่รับหลักประกันเอาไว้ก็จะคืนหลักประกันให้ตามเงื่อนไขของสัญญา ข้อตกลง หรือตามกฎหมาย แต่ในบางกรณีที่ คู่สัญญาฝ่ายที่รับหลักประกันเอาไว้ อาจได้มีการรับหลักประกันไว้จำนวนมากหลายราย อาจทำให้มีการตกหล่น ล่าช้า หรือตามสัญญาหรือข้อตกลงได้กำหนดไว้ชัดเจนให้คู่สัญญาฝ่ายที่วางหลักประกันต้องทำหนังสือขอคืนหลักประกันแจ้งต่อคู่สัญญาฝ่ายที่รับหลักประกันเอาไว้ก่อนจึงจะดำเนินการคืนหลักประกันให้ได้ ในกรณีเหล่านี้ คู่สัญญาฝ่ายที่วางหลักประกันจึงควรจัดทำหนังสือขอคืนหลักประกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าตนจะได้รับหลักประกันที่ได้เคยวางไว้คืนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน
การนำไปใช้
โดยทั่วไป วัตถุประสงค์ของการวางหลักประกันนั้น มีขึ้นเพื่อเป็นการประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อคู่สัญญาฝ่ายที่รับหลักประกันซึ่งเกิดจากการปฏิบัติผิดสัญญา เงื่อนไข ข้อกำหนด ข้อตกลง คำรับรอง คำรับประกันของคู่สัญญาฝ่ายที่วางหลักประกันนั้น หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และก็เพื่อเป็นการมั่นใจได้ว่าคู่สัญญาฝ่ายที่วางหลักประกันมีความมั่นคงทางการเงินที่จะสามารถปฏิบัติได้ตามกฎหมาย สัญญา เงื่อนไข ข้อกำหนด ข้อตกลง คำรับรอง หรือคำรับประกันที่เกี่ยวข้องนั้นได้ โดยเนื้อหาภายในหนังสือหนังสือแจ้งขอคืนหลักประกันแต่ละฉบับอาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าการวางหลักประกันนั้น เพื่อเป็นหลักประกันความเชื่อมั่นและความเสียหายในนิติกรรมเรื่องใด เช่น
โดยในนิติกรรมเรื่องดังกล่าวก็จะกำหนดและระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่าหลักประกันที่ได้วางเอาไว้นั้น มีการวางไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใด คู่สัญญาฝ่ายที่วางหลักประกันมีสิทธิได้หลักประกันคืนเมื่อใด คู่สัญญาฝ่ายที่รับหลักประกันมีสิทธิใช้หลักประกันที่วางนั้นไปในกรณีใดบ้าง เท่าใดและอย่างไร ดังนี้ ในการทำหนังสือแจ้งขอคืนหลักประกันจึงมีข้อควรพิจารณา ดังต่อไปนี้
(ก) การระบุหลักประกันให้ชัดเจนว่าได้วางหลักประกันไว้เป็นสิ่งใด จำนวนและปริมาณเท่าใด รวมถึงการอ้างอิงหลักประกันให้ชัดเจน สามารถบ่งชี้ถึงหลักประกันนั้นได้ เช่น
(ข) การอ้างอิงถึงนิติกรรมหลัก เช่น สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้าง สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาใช้บริการ สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง สัญญาโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เป็นต้น เพื่อการตรวจสอบเงื่อนไขการคืนหลักประกัน
(ค) การตรวจสอบเงื่อนไข ข้อตกลง หรือข้อกำหนด รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับการวางและการคืนหลักประกันที่ได้ตกลงกันไว้กับคู่สัญญาผู้รับหลักประกันว่าคู่สัญญาฝ่ายที่มีหน้าที่วางหลักประกันมีสิทธิได้คืนหรือไม่ และหากได้คืนจะได้คืนอย่างไร เมื่อไหร่ จะได้คืนทั้งหมดหรือได้คืนเพียงบางส่วน คู่สัญญาผู้รับหลักประกันมีสิทธิหักหรือนำหลักประกันดังกล่าวไปใช้หรือไม่ อย่างไร ตัวอย่างเช่น ในกรณีการวางหลักประกันเพื่อประกันความเสียหายในสัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างอาจมีข้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าคืนเงินประกันภายใน 30 วันนับจากวันที่ผู้เช่าย้ายออกและผู้ให้เช่ามีสิทธิหักเงินประกันเพื่อเป็นค่าทำความสะอาดสิ่งปลูกสร้างและเป็นค่าซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างอันความเสียหายที่เกิดจากผู้เช่า เท่านั้น
(ง) เมื่อคู่สัญญาฝ่ายที่วางหลักประกันตรวจสอบเงื่อนไข ข้อตกลง หรือข้อกำหนด เกี่ยวกับการวางและการคืนหลักประกันแล้วว่าตนมีสิทธิได้รับหลักประกันคืนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ควรจะจัดทำหนังสือแจ้งขอคืนหลักประกันเป็นลายลักษณ์อักษรและนำส่งให้แก่คู่สัญญาฝ่ายที่รับหลักประกันด้วยไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือมอบให้กับตัวคู่สัญญาฝ่ายที่รับหลักประกันเองโดยต้องมีหลักฐานการส่ง-รับมอบ เช่น การลงนามรับหนังสือดังกล่าว เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการไม่คืนหรือคืนหลักประกันล่าช้าโดยการอ้างว่าไม่ได้รับหนังสือแจ้งขอคืนหลักประกันฉบับดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นหลักฐานในกรณีมีการฟ้องร้องเป็นคดีความอีกด้วย
(จ) ในการนำส่งหนังสือแจ้งขอคืนหลักประกัน คู่สัญญาฝ่ายที่วางหลักประกันควรแนบสำเนาหลักฐานการวางหลักประกันด้วยถ้ามี เช่น สำเนาใบเสร็จรับเงินประกัน สำเนาหนังสือค้ำประกันธนาคาร สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกัน เป็นต้น เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้องและความรวดเร็วในการตรวจสอบของคู่สัญญาฝ่ายที่รับหลักประกัน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคืนหลักประกันอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับนิติกรรมที่หลักประกันนั้นวางเพื่อประกันเอาไว้ โดยอาจมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในกรณีต่างๆ ดังนี้
ในกรณีที่มีการวางหลักประกันเป็นเงินเพื่อการเช่าสิ่งปลูกสร้างและผู้ให้เช่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา และผู้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา ย่อมทำให้สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย อยู่ภายใต้บังคับประกาศดังกล่าวด้วย ซึ่งกำหนดให้ ผู้ให้เช่า (คู่สัญญาฝ่ายที่รับหลักประกัน) ต้องตรวจสอบความเสียหายสิ่งปลูกสร้างที่เช่าและคืนเงินประกันให้ผู้เช่าภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่สัญญาเช่าสิ้นสุด ในกรณีที่ไม่มีความเสียหายกับสิ่งปลูกสร้างที่เช่า
ในบางกรณี นอกจากการส่งหนังสือแจ้งขอคืนหลักประกันแล้ว อาจต้องดำเนินการอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายด้วยเพื่อให้การคืนหลักประกันมีผลบังคับได้สมบูรณ์ เช่น
ในบางกรณี การขอคืนหลักประกันอาจมีวิธีและแบบโดยเฉพาะ ซึ่งไม่อาจใช้หนังสือแจ้งขอคืนหลักประกันบนเว็บไซต์ของเราได้ เช่น
ความช่วยเหลือจากทนายความ
คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ
ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร
แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร
คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป
ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้
คู่มือต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คุณ
หนังสือแจ้งขอคืนหลักประกัน - ตัวอย่างแบบฟอร์ม
ประเทศ: ประเทศไทย