สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้า กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้า

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 17/09/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด13 ถึง 20 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 17/09/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 13 ถึง 20 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าคืออะไร

สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้า (Freight Agreement/Transport Services Agreement) หรือสัญญารับขนของ คือ สัญญาที่มีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ว่าจ้างและผู้ขนส่ง โดยที่ ผู้ว่าจ้างตกลงว่าจ้างให้ผู้ขนส่งดำเนินการขนส่งสินค้าหรือสิ่งของต่างๆ ตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด

สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้ามีลักษณะใดบ้าง

สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าอาจแบ่งตามลักษณะการว่าจ้างได้ ดังต่อไปนี้

  • สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าครั้งเดียว (One-time Shipment)
  • สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าหลายครั้งตามแผนการส่งที่กำหนดแน่นอน (Scheduled Shipment)
  • สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าหลายครั้งเป็นประจำตามจำนวนและปริมาณที่ผู้ว่าจ้างเรียกใช้ในแต่ละคราว/ตามใบงาน (On-demand Shipment)

สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าและสัญญาบริการแตกต่างกัน อย่างไร

สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าและสัญญาบริการต่างก็เป็นสัญญาที่ผู้ขนส่ง/ผู้รับจ้างจัดให้มีการให้บริการต่างๆ แก่ผู้ว่าจ้างเหมือนกัน

อย่างไรก็ดี สัญญาทั้ง 2 ฉบับมีความแตกต่างกัน โดยที่

  • สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าฉบับนี้ได้ถูกร่างขึ้นโดยมีข้อความและข้อสัญญาสำหรับการให้บริการขนส่งสินค้า/สิ่งของตามกฎหมายเกี่ยวกับการรับขนของโดยเฉพาะ
  • สัญญาบริการถูกร่างขึ้นโดยมีข้อความและข้อสัญญาสำหรับการให้บริการทั่วไป (เช่น การว่าจ้างทำงานหรือให้บริการอย่างอื่นซึ่งไม่ใช่การขนส่งสินค้า/สิ่งของ)

จำเป็นต้องทำสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้า หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้คู่สัญญาต้องจัดทำสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษร

อย่างไรก็ดี ในการให้บริการขนส่งสินค้าย่อมมีรายละเอียดและข้อตกลงสำคัญที่คู่สัญญาอาจจำเป็นต้องกำหนดและตกลงร่วมกัน (เช่น เส้นทาง/รอบการขนส่ง จุดรับ-ส่งสินค้า ระยะเวลาการให้บริการ อัตราค่าบริการ ความรับผิดของคู่สัญญา) เพื่อรักษาผลประโยชน์และความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย คู่สัญญาจึงควรจัดทำสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามโดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย

สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้า ได้แก่

  • ผู้ว่าจ้าง (เช่น เจ้าของสินค้า/ผู้ส่งสินค้า) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ว่าจ้าง (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ว่าจ้างมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้า (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายคลังสินค้า) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้ว่าจ้าง
  • ผู้ขนส่ง (เช่น ผู้ที่ประกอบธุรกิจรับจ้างขนส่งสินค้า/สิ่งของ บริษัทรับจ้างขนส่ง) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ขนส่ง (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ขนส่งมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับงานขนส่งกับลูกค้า (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายขาย) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้ขนส่ง

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญา (ถ้ามี)

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้า (ถ้ามี) เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญา เช่น

  • เอกสารเกี่ยวกับสินค้า/สิ่งของ (เช่น ใบกำกับสินค้า/ใบส่งของ)
  • เอกสารเกี่ยวกับการขนส่ง (เช่น ตารางกำหนดระยะเวลารับ-ส่งสินค้าแต่ละเส้นทาง)
  • เอกสารเกี่ยวกับค่าบริการ (เช่น ตารางอัตราค่าบริการและกำหนดการชำระค่าบริการ ใบเสนอราคา)
  • เอกสารเกี่ยวกับผู้ขนส่ง (เช่น ใบทะเบียนผู้ประกอบการขนส่ง ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง)
  • เอกสารเกี่ยวกับมาตรฐานการขนส่ง (เช่น คู่มือการปฏิบัติงาน ข้อกำหนดการควบคุมคุณภาพ ดัชนีชี้วัดการให้บริการ)

สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

ไม่จำเป็น คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้า

สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญา (เช่น คู่สัญญา)

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้า

คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจัดทำสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้า ดังต่อไปนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) ผู้ให้บริการ/ผู้ขนส่งอาจมีหน้าที่ต้องยื่นแบบและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนให้แก่กรมสรรพากรตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่ ในกรณีที่ผู้ให้บริการ/ผู้ขนส่งได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (เช่น การให้บริการขนส่งภายในประเทศ การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทางถนน ผู้ให้บริการเป็นกิจการขนาดย่อมที่มีฐานภาษีไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี บริการที่อยู่ภายใต้ภาษีธุรกิจเฉพาะ)

ผู้ว่าจ้างสามารถห้ามไม่ให้ผู้ขนส่งนำงานขนส่งไปว่าจ้างขนส่งช่วงต่อได้ หรือไม่

ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างถือตัวผู้ขนส่งเป็นสาระสำคัญของการให้บริการขนส่ง (เช่น ผู้ว่าจ้างตกลงว่าจ้างผู้ขนส่งรายดังกล่าวเพราะว่าผู้ขนส่งมีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ มีทักษะและชื่อเสียงในการให้บริการขนส่งโดยเฉพาะ) ผู้ว่าจ้างสามารถกำหนดห้ามไม่ให้ผู้ขนส่งนำงานขนส่งตามสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าไปว่าจ้างขนส่งช่วงต่อให้บุคคลอื่นดำเนินการ (Subcontract) ได้ โดยกำหนดเป็นข้อตกลงไว้ในสัญญา

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้า

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้า ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ของผู้ว่าจ้างและผู้ขนส่ง เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • สินค้าที่ต้องการขนส่ง เช่น ลักษณะ ประเภท ชนิด สภาพ น้ำหนัก ขนาด จำนวน รวมถึง มูลค่าของสินค้าที่ขนส่งด้วย
  • การรับและส่งสินค้า เช่น ชื่อผู้ส่งสินค้า สถานที่รับสินค้า วันที่และเวลารับสินค้า ชื่อผู้รับสินค้า สถานที่ส่งสินค้า วันที่และเวลาส่งสินค้า
  • ข้อกำหนดเฉพาะในการขนส่ง (ถ้ามี) เช่น วิธีและเส้นทางการขนส่ง ภาชนะขนส่ง การควบคุมอุณหภูมิ/ความชื้นสัมพันธ์
  • ค่าบริการขนส่งสินค้า เช่น รูปแบบและลักษณะการคิดคำนวณอัตราค่าบริการขนส่ง กำหนดชำระเงิน วิธีการชำระเงิน
  • ความรับผิดของผู้ขนส่งในกรณีต่างๆ เช่น การขนส่งล่าช้า สินค้าเสียหายและ/หรือสูญหายระหว่างขนส่ง
  • ข้อตกลงอื่น (ถ้ามี) เช่น การทำประกันภัย การห้ามขนส่งช่วง

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้า

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้ามี ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม