สัญญาจ้างผลิตสินค้า กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาจ้างผลิตสินค้า

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด เดือนนี้
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด31 ถึง 46 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด เดือนนี้

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 31 ถึง 46 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าคืออะไร

สัญญาว่าจ้างพัฒนา/ผลิตสินค้า (Manufacturing Agreement) คือ สัญญาที่ผู้ว่าจ้างผลิตว่าจ้างให้ผู้รับจ้างผลิต ผลิตสินค้าตามคุณสมบัติ/คุณลักษณะที่ผู้ว่าจ้างผลิตกำหนด โดยที่ผู้ว่าจ้างผลิตจะชำระค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง

โดย สินค้าที่นิยมว่าจ้างผลิต เช่น

  • อาหาร/เครื่องดื่ม
  • อาหารเสริม
  • เครื่องสำอาง
  • ยา
  • เสื้อผ้า
  • สินค้าชนิด/ประเภทอื่นๆ ผู้ว่าจ้างผลิตไม่ต้องการผลิตเอง/ไม่สามารถผลิตได้เอง


สัญญาว่าจ้างผลิตสินค้ามีลักษณะใดบ้าง

สัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าอาจแบ่งได้ตามขอบเขตการว่าจ้างได้ 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • การว่าจ้างผลิต เท่านั้น เช่น การผลิตสินค้าตามสูตร แบบ และคุณสมบัติที่ผู้ว่าจ้างผลิตกำหนด
  • การว่าจ้างพัฒนา ออกแบบ และผลิต เช่น การคิดค้น พัฒนา และออกแบบสินค้าขึ้นมาใหม่ รวมถึง ผลิตตามความต้องการของผู้ว่าจ้างผลิต


จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า

ในกรณีการผลิต/จำหน่ายสินค้าที่มีกฎหมายเฉพาะควบคุม (เช่น อาหาร/เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง) ผู้ผลิตจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้นๆ โดยผู้ว่าจ้างผลิตอาจตรวจสอบเอกสารของที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี (ถ้ามี) เช่น

  • ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานกับกรมโรงงาน
  • ใบจดแจ้งการผลิตเครื่องสำอาง/อาหารกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • ใบขึ้นทะเบียนตำหรับยากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา


สัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า ได้แก่

  • ผู้ว่าจ้างผลิต (เช่น ผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการสินค้า) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ว่าจ้างผลิต (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมาย (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในฐานะผู้ว่าจ้างผลิต
  • ผู้รับจ้างผลิต (เช่น ผู้ที่รับจ้างพัฒนา/ผลิตสินค้า โรงงานรับจ้างผลิตสินค้าแบบ OEM) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้รับจ้างผลิต (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมาย (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายขาย) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในฐานะผู้รับจ้างผลิต


จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยาน (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • อาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • ขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • แนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า (ถ้ามี)
  • ชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด


จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า (ถ้ามี) เช่น

  • คุณลักษณะเฉพาะ/คุณสมบัติของสินค้า (เช่น แค็ตตาล็อก อัตราส่วนผสมโดยละเอียด แบบรูปของสินค้า)
  • การควบคุมคุณภาพสินค้า (เช่น กฎ ระเบียบ คู่มือการปฏิบัติงาน/SOP มาตรฐานการผลิต)
  • ราคาของสินค้า (เช่น ใบเสนอราคา ตารางราคาสินค้า)
  • ทรัพย์สินทางปัญญา (เช่น สูตรและกรรมวิธีผลิตสินค้า เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร)
  • การผลิตสินค้าตามกฎหมาย (ถ้ามี) แล้วแต่กรณี (เช่น ใบจดแจ้งการผลิตเครื่องสำอาง/อาหาร ใบขึ้นทะเบียนตำหรับยา)


สัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า (เช่น คู่สัญญา)


มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า

คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า ดังต่อไปนี้

  • อากรแสตมป์ คู่สัญญามีหน้าที่นำสัญญาที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างผลิตอาจมีหน้าที่ต้องยื่นแบบและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนให้แก่กรมสรรพากรตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่ ได้รับการยกเว้น (เช่น ผู้รับจ้างเป็นกิจการขนาดย่อมที่มีฐานภาษีไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี บริการที่อยู่ภายใต้ภาษีธุรกิจเฉพาะ)


ทำไมผู้ว่าจ้างผลิตไม่ผลิตสินค้าด้วยตนเอง

ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการ/ผู้ว่าจ้างผลิตมักเลือกใช้การว่าจ้างผลิตสินค้าแทนการดำเนินการผลิตสินค้าด้วยตนเอง เนื่องจาก

  • ลดต้นทุนในการซื้อเครื่องมือ เครื่องจักรในการผลิต รวมถึง การตั้งโรงงาน และสามารถนำเงินทุนดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ (เช่น การตลาดและประชาสัมพันธ์)
  • ลดระยะเวลาในการผลิตและได้รับสินค้ามีคุณภาพ เนื่องจากผู้รับจ้างผลิตมักมีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าชนิดนั้นๆ อยู่แล้วและมีการผลิตสินค้าเป็นประจำจึงทำให้ผู้รับจ้างผลิตอาจสามารถบริหารจัดการต้นทุนและคุณภาพสินค้าได้มีประสิทธิภาพกว่า
  • มีความคล่องตัวในการผลิตสินค้า เช่น สามารถเพิ่ม ลด หยุด หรือเปลี่ยนแปลงการผลิตได้ตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้ในสัญญา และสามารถเปลี่ยนกลยุทธ์การขายสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว


ผู้ว่าจ้างผลิตสามารถป้องกันผู้รับจ้างผลิตทำสินค้าลอกเลียนแบบได้ อย่างไร

เนื่องจากในระหว่างการว่าจ้างผลิตสินค้า คู่สัญญาอาจจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลความลับสำคัญระหว่างกัน (เช่น สูตรผลิตภัณฑ์ กระบวนการ/กรรมวิธีการผลิตสินค้า) หากผู้รับจ้างผลิตทำสินค้าลอกเลียนแบบหรือผู้ว่าจ้างผลิตไปเปิดโรงงานผลิตแข่งขัน คู่สัญญาอาจได้รับความเสียหายได้ สัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าฉบับนี้จึงประกอบไปด้วยข้อตกลงการห้ามคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายเปิดเผยข้อมูลความลับและห้ามประกอบกิจการแข่งขันไว้ในเบื้องต้น

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจจัดทำสัญญาเก็บรักษาความลับและ/หรือสัญญาการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการแข่งขันแยกเป็นสัญญาอีกฉบับโดยเฉพาะ/โดยละเอียดด้วยก็ได้

ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ข้อสัญญาหรือข้อตกลงการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการ สามารถบังคับใช้ได้หรือไม่ อย่างไร ภายใต้กฎหมายไทย


ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • สินค้าที่ว่าจ้างผลิต เช่น คุณสมบัติ/คุณลักษณะเฉพาะ บรรจุภัณฑ์ วัตถุดิบ และวัสดุ จำนวนที่ผลิต
  • กำหนดระยะเวลาสำคัญ เช่น ระยะเวลาสัญญา กรณีว่าจ้างผลิตต่อเนื่อง (ถ้ามี) กำหนดส่งมอบและตรวจรับสินค้า
  • ค่าตอบแทน เช่น อัตราค่าจ้างผลิต ค่าบริการพัฒนา/ออกแบบ กำหนดการชำระเงิน
  • กระบวนการผลิต (ถ้ามี) เช่น แผนการผลิต มาตรฐานการผลิต การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ
  • ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สูตร กรรมวิธี การออกแบบ และเครื่องหมายการค้า
  • ข้อตกลงอื่น (ถ้ามี) เช่น การทดสอบและสินค้าตัวอย่างก่อนผลิตจริง การจดแจ้ง/ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การรับประกันสินค้า


กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้ามี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม