สัญญาเข้าหุ้นส่วน กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาเข้าหุ้นส่วน

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 20/09/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด14 ถึง 22 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 20/09/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 14 ถึง 22 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาเข้าหุ้นส่วนคืออะไร

สัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน (Partnership Agreement) คือ สัญญาที่มีบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้าทำสัญญากันเพื่อจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นและกำหนดวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วนที่มีวัตถุประสงค์ในการหาผลกำไร (เช่น การประกอบธุรกิจ กิจการ ร้านค้า) รวมถึง กำหนดความสัมพันธ์และหน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนด้วยกัน

สัญญาเข้าหุ้นส่วนมีกี่ประเภท

สัญญาเข้าหุ้นส่วนอาจแบ่งได้ตามประเภทของห้างหุ้นส่วนที่จัดตั้งขึ้นได้ 3 ประเภท ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบกับความรับผิดใดๆ ที่ห้างหุ้นส่วนก่อขึ้น (เช่น หนี้สิน)
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อัตราภาษีก้าวหน้า)

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • มีการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • เป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล (อัตราภาษีที่คงที่)
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดต่อหน้าที่ความรับผิดที่ห้างหุ้นส่วนก่อขึ้นทั้งหมดทุกคนโดยไม่มีการจำกัดความรับผิดหรือแยกความรับผิด

ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • มีการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • เป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล (อัตราภาษีที่คงที่)
  • มีผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดจะมีการแบ่งแยกความรับผิดระหว่างทรัพย์สินส่วนตัวกับทรัพย์สินที่นำมาเข้าหุ้นในกิจการ และ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้เท่านั้นที่สามารถเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนได้

ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: เริ่มต้นธุรกิจด้วยการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด


ควรเลือกใช้สัญญาเข้าหุ้นส่วนประเภทใด

คู่สัญญาอาจเลือกจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนประเภทที่สอดคล้องและตรงกับความต้องการของคู่สัญญาซึ่งเป็นหุ้นส่วนทุกๆ คน โดยอาจมีปัจจัยในการพิจารณา เช่น

  • สถานะการเป็นนิติบุคคล
  • การจำกัดความรับผิด/การแบ่งแยกความรับผิด
  • อัตราภาษี
  • ภาระหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายหุ้นส่วนและบริษัท (เช่น การจัดทำและสอบบัญชี)

ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: เริ่มต้นธุรกิจด้วยการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด


ห้างหุ้นส่วนและองค์กรธุรกิจรูปแบบอื่น (เช่น ร้านค้าบุคคลธรรมดา บริษัทจำกัด) แตกต่างกัน อย่างไร

ห้างหุ้นส่วน คือ รูปแบบองค์กรธุรกิจหนึ่งซึ่งมีลักษณะที่มีความซับซ้อนน้อยกว่าบริษัทจำกัดแต่ในขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อนมากกว่ากิจการที่มีเจ้าของรายเดียว (เช่น ร้านค้าบุคคลธรรมดา) โดยแต่ละรูปแบบองค์กรก็มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันไป โดยห้างหุ้นส่วนจะมีลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • บุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันเข้าเป็นหุ้นส่วน
  • ตกลงเข้าหุ้นกันทำกิจการหรือธุรกิจร่วมกัน (เช่น การประกอบธุรกิจ กิจการ ร้านค้า)
  • มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันผลกำไรจากการดำเนินกิจการหรือธุรกิจนั้น
  • ในการเข้าหุ้นนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำสินทรัพย์ของตนมาเข้าหุ้นเพื่อลงทุนและใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น เช่น เงิน ทรัพย์สิน (เช่น อาคาร ที่ดิน อุปกรณ์) หรือแรงงาน (เช่น การที่หุ้นส่วนรับทำงานให้กับกิจการของห้างหุ้นส่วน)

ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: รูปแบบองค์กรธุรกิจแบบใดที่เหมาะสมกับลักษณะกิจการของท่านที่สุด (เช่น บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน บริษัท)


จำเป็นต้องทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน หรือไม่

อาจจำเป็น ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด คู่สัญญาอาจจำเป็นต้องจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนเพื่อใช้ประกอบในการดำเนินการจดทะเบียนกับนายทะเบียน (เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

ในกรณีบางกรณี ห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมสามารถเกิดขึ้นได้โดยปริยายตามกฎหมาย (เช่น บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมกันดำเนินกิจการหรือธุรกิจโดยมีเจตนาเพื่อแบ่งปันผลกำไรกัน) แม้ไม่ได้มีการจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันเอาไว้อย่างชัดเจน

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าคู่สัญญาจะตกลงกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนประเภทใด คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยคู่สัญญาทุกๆ ฝ่าย เนื่องจากในการดำเนินธุรกิจย่อมมีรายละเอียดและข้อตกลงสำคัญที่คู่สัญญาอาจจำเป็นต้องกำหนดและตกลงร่วมกัน เพื่อรักษาผลประโยชน์และความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญาทุกๆ ฝ่าย และเพื่อให้การให้ดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนเป็นไปตามความประสงค์ของคู่สัญญา

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาเข้าหุ้นส่วน

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ของผู้ที่จะเข้าเป็นหุ้นส่วน เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • ห้างหุ้นส่วน เช่น ชื่อและที่อยู่ของห้างหุ้นส่วน วัตถุประสงค์
  • การเข้าหุ้น เช่น สัดส่วนการลงทุน ประเภทการเข้าหุ้น (เช่น เงินสด ทรัพย์สิน แรงงาน) และการแบ่งผลกำไร/ขาดทุน
  • การบริหารจัดการห้างหุ้นส่วน เช่น วิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วน ความสัมพันธ์และหน้าที่ระหว่างหุ้นส่วน (เช่น การบริหารจัดการ การประชุม การออกเสียงหรือลงมติ)
  • ข้อตกลงอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น การเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วน การห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนค้าแข่ง และการเลิกห้างหุ้นส่วน

สัญญาเข้าหุ้นส่วนเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ได้แก่

  • คู่สัญญาผู้เป็นหุ้นส่วน (เช่น บุคคลธรรมดาที่ต้องการเข้าร่วมลงทุน/ลงแรงในการประกอบกิจการ/ธุรกิจของห้างหุ้นส่วน) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาเข้าหุ้นส่วนและผูกพันในฐานะหุ้นส่วน

บุคคลใดไม่สามารถลงนามและ/หรือเข้าทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน

บุคคลที่จะเข้าทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนและเป็นคู่สัญญา/หุ้นส่วนในสัญญาเข้าหุ้นส่วนจะต้องเป็นบุคคลธรรมดา เท่านั้น (เช่น ต้องไม่เป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนอื่น)

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาเข้าหุ้นส่วนแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาเข้าหุ้นส่วนเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนหุ้นส่วน เพื่อให้เพื่อให้หุ้นส่วนแต่ละคนเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาคนอื่นๆ ที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง
  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเข้าหุ้นส่วน (ถ้ามี)
  • คู่สัญญานำสัญญาเข้าหุ้นส่วนที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากสัญญาเข้าหุ้นส่วนและคู่ฉบับเป็นสัญญาที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์
  • คู่สัญญาไปดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนกับนายทะเบียน (เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ตามที่กฎหมายกำหนด ในกรณีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด ทั้งนี้ เพื่อให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาเข้าหุ้นส่วนด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเข้าหุ้นส่วน (ถ้ามี) เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญา เช่น

  • เอกสาร/หลักฐานการลงทุนในห้างหุ้นส่วน (เช่น ใบสำคัญรับเงิน หลักฐานการโอนเงินของธนาคาร รายการทรัพย์สินที่หุ้นส่วนแต่ละรายนำมาลงทุนในห้างหุ้นส่วน)
  • เอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนที่นำมาลงทุนในห้างหุ้นส่วน (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด)
  • เอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วน (เช่น กฎ/ระเบียบการประชุม คู่มือการดำเนินธุรกิจ ดวงตราสำคัญ/ตราประทับของห้างหุ้นส่วน)

สัญญาเข้าหุ้นส่วนจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

จำเป็น ในกรณีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด คู่สัญญาจำเป็นต้องไปดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนกับนายทะเบียน (เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ เพื่อให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย

สัญญาเข้าหุ้นส่วนจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาเข้าหุ้นส่วนจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาเข้าหุ้นส่วนตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาเข้าหุ้นส่วน (เช่น คู่สัญญา)

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน

คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังต่อไปนี้

  • อากรแสตมป์ เนื่องจากสัญญาเข้าหุ้นส่วนและคู่ฉบับเป็นสัญญาที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์ คู่สัญญาจึงมีหน้าที่นำสัญญาที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ในกรณีที่ไม่ชำระอากร ศาลจะไม่รับฟังสัญญาที่ไม่ได้ชำระอากรโดยสมบูรณ์เป็นพยานหลักฐาน อีกทั้ง ยังมีค่าปรับการไม่ชำระอากรแสตมป์ และอาจมีโทษทางอาญาอีกด้วย
  • ในกรณีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด คู่สัญญาจำเป็นต้องไปดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนกับนายทะเบียน (เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ตามที่กฎหมายกำหนด โดยในการดำเนินการจดทะเบียน คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียม (เช่น ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ค่าธรรมเนียมใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน)

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเข้าหุ้นส่วน

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนมี ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม