หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทาง กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทาง

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 26/11/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด3 ถึง 4 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 26/11/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 3 ถึง 4 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางคืออะไร

หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์/เด็กเดินทาง คือ หนังสือซึ่งออกโดยผู้ปกครองของผู้เยาว์เพื่อแสดงความยินยอม/รับทราบให้ผู้เยาว์เดินทางไปกับบุคคลอื่น หรือเดินทางเพียงลำพัง

โดยอาจเป็นลักษณะการเดินทาง ดังต่อไปนี้

  • ภายในประเทศ (Domestic) เช่น การไปทัศนศึกษากับโรงเรียน ไปเยี่ยม/พักกับญาติต่างจังหวัด
  • ระหว่างประเทศ (International) เช่น การไปศึกษา/ท่องเที่ยวต่างประเทศช่วงปิดเทอม การไปเยี่ยมเยือนญาติ

จำเป็นต้องทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทาง หรือไม่

จำเป็น ด่านตรวจคนเข้า-ออกเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ หรือเจ้าหน้าที่สายการบินอาจเรียกขอตรวจดูหนังสือยินยอมในกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเดินทาง/ความปลอดภัยของผู้เยาว์ เช่น

  • ผู้เยาว์เดินทางไปกับผู้ปกครองคนหนึ่งเพียงคนเดียว
  • ผู้เยาว์เดินทางไปกับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ปกครอง (เช่น ญาติ ครูประจำชั้น)
  • ผู้เยาว์จำเป็นต้องเดินทางเพียงลำพัง

หนังสือยินยอมเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือยินยอม ได้แก่

  • ผู้เยาว์ที่จะเดินทาง (เช่น เด็กที่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) ทั้งนี้ ผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (เช่น อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อายุไม่ครบ 20 ปีแต่ได้สมรสตามกฎหมาย) ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองในการเดินทาง
  • ผู้ปกครองของผู้เยาว์ตามกฎหมายซึ่งเป็นผู้มีสิทธิให้ความยินยอมเกี่ยวกับผู้เยาว์ และเป็นผู้จัดทำ/ลงนามหนังสือเพื่อให้ความยินยอม เช่น

บิดาและมารดาโดยสายเลือดของผู้เยาว์ร่วมกันปกครอง ในกรณีทั่วไป

มารดาเพียงคนเดียว ในกรณีที่บิดายังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดา ดำเนินการรับรองบุตร หรือมีคำสั่งศาลรับรอง บิดาไม่อยู่ในสภาวะที่สามารถดูแลปกครองบุตรของตนได้ (เช่น เสียชีวิต อาจหายสาบสูญ ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้-เสมือนไร้ความสามารถ ต้องเข้ารักษาตัวเพราะมีจิตฟั่นเฟือง ศาลมีคำสั่งถอนอำนาจปกครองบิดา)

บิดาเพียงคนเดียว ในกรณีที่มารดาไม่อยู่ในสภาวะที่สามารถดูแลปกครองบุตรของตนได้ (เช่น เสียชีวิต อาจหายสาบสูญ ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้-เสมือนไร้ความสามารถ ต้องเข้ารักษาตัวเพราะมีจิตฟั่นเฟือง ศาลมีคำสั่งถอนอำนาจปกครองมารดา)

บุคคลอื่นๆ เช่น ผู้ปกครองซึ่งศาลแต่งตั้ง พ่อ/แม่บุญธรรมในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม พ่อเลี้ยง/แม่เลี้ยงในกรณีที่บิดาหรือมารดาได้จดทะเบียนสมรสใหม่

  • ในกรณีที่ผู้เยาว์ร่วมเดินทางไปกับบุคคลอื่น (เช่น ญาติ ครู/อาจารย์ ผู้ใหญ่ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้เยาว์ขณะเดินทาง) อาจให้บุคคลดังกล่าวร่วมลงนามในหนังสือยินยอมด้วย

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในหนังสือยินยอมแล้ว

ผู้ปกครองควรจัดทำหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนาม โดยผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้เยาว์ขณะเดินทาง (ถ้ามี) และพยาน (ถ้ามี) ให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในหนังสือยินยอมเรียบร้อยแล้ว ผู้ปกครองอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • จัดทำจำนวนคู่ฉบับที่สอดคล้องกับจำนวนผู้เยาว์และผู้ใหญ่ที่ร่วมเดินทาง
  • แนบเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง
  • ให้ผู้เยาว์และผู้ใหญ่ที่ร่วมเดินทางไปกับผู้เยาว์ยึดถือหนังสือยินยอมไว้เพื่อใช้อ้างอิงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น ด่านตรวจคนเข้า-ออกเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่สายการบิน)
  • ในกรณีการเดินทางระหว่างประเทศ ผู้ปกครองควรตรวจสอบหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับหนังสือยินยอม และเอกสารที่จำเป็นอื่นๆ กับสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศปลายทางและสายการบินซึ่งอาจมีความแตกต่างกัน

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบหนังสือยินยอมด้วย หรือไม่

ผู้ปกครองควรแนบเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่น

  • บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้ปกครอง
  • สูติบัตรของผู้เยาว์
  • เอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆ แล้วแต่กรณี (ถ้ามี) เช่น ใบสำคัญการหย่าและบันทึกข้อตกลงการหย่า คำสั่งศาลถอน/แต่งตั้งผู้ปกครอง ใบมรณะบัตรของบิดา/มารดา หนังสือรับรองการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

ผู้ปกครองอาจตรวจสอบเอกสารที่จำเป็นอื่นๆ กับสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศปลายทางและสายการบินที่ผู้เยาว์จะเดินทาง


จำเป็นจะต้องได้การรับรองลายมือชื่อหรือรับรองเอกสารจากหน่วยงานของรัฐหรือทนายความที่ขึ้นทะเบียน (Notary Public) หรือไม่

อาจจำเป็น ในกรณีการเดินทางระหว่างประเทศ เนื่องจากแต่ละประเทศและแต่ละสายการบินอาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับหนังสือยินยอมซึ่งอาจรวมถึงการรับรองลายมือชื่อหรือรับรองเอกสารจากหน่วยงานของรัฐหรือทนายความ เช่น

ผู้ปกครองอาจตรวจสอบหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับหนังสือยินยอม และเอกสารที่จำเป็นอื่นๆ กับสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศปลายทางและสายการบินที่ผู้เยาว์จะเดินทาง


จำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น หนังสือยินยอมไม่จำเป็นต้องมีพยานลงนาม

อย่างไรก็ดี ผู้ปกครองอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในหนังสือยินยอมตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่ลงนามจัดทำหนังสือยินยอม (เช่น ผู้ปกครอง)

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้อง

ในกรณีที่หนังสือยินยอมจำเป็นจะต้องได้การรับรองลายมือชื่อหรือรับรองเอกสารจากหน่วยงานของรัฐหรือทนายความที่ขึ้นทะเบียน (Notary Public) ตามข้อกำหนดของประเทศปลายทางและ/หรือสายการบิน ผู้ปกครองอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมซึ่งอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหน่วยงาน/ผู้ให้บริการ เช่น

  • ค่าธรรมเนียมการรับรองลายมือชื่อและ/หรือเอกสาร โดยกรมการกงสุล (เช่น การรับรองเอกสารแบบปกติ 200 บาท/แผ่นปะนิติกรณ์ การรับรองเอกสารแบบด่วน 400 บาท/แผ่นปะนิติกรณ์ คำแปลเอกสารศาล 400 บาท/หน้า)
  • ค่าธรรมเนียมการรับรองลายมือชื่อและ/หรือเอกสาร และค่าบริการวิชาชีพ (ถ้ามี) โดยทนายความที่ขึ้นทะเบียนผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารกับสภาทนายความ (Notary Public) อาจขึ้นอยู่กับทนายความผู้ให้บริการแต่ละราย

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในหนังสือยินยอม

ผู้ปกครองควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือยินยอม ดังต่อไปนี้

  • ผู้ปกครอง เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชนหรือเลขที่หนังสือเดินทาง (Passport)
  • ผู้เยาว์ เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชนหรือเลขที่หนังสือเดินทาง (Passport)
  • การเดินทาง เช่น จุดประสงค์ของการเดินทาง สถานที่หรือประเทศปลายทาง ระยะเวลาการเดินทาง ผู้ใหญ่ที่ร่วมเดินทางและได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้เยาว์ (ถ้ามี)
  • ข้อมูลทางการแพทย์ เช่น การแพ้อาหาร การแพ้ยา โรคประจำตัว
  • ข้อมูลการติดต่อในกรณีฉุกเฉิน เช่น หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครอง

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับหนังสือยินยอม

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางมี ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม