บันทึกข้อตกลงการหย่า กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

บันทึกข้อตกลงการหย่า

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด เมื่อ 3 สัปดาห์ที่แล้ว
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด6 ถึง 10 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด เมื่อ 3 สัปดาห์ที่แล้ว

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 6 ถึง 10 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

บันทึกข้อตกลงการหย่าคืออะไร

บันทึกข้อตกลงการหย่า (Divorce Agreement) หรือสัญญาหย่าโดยความยินยอม คือ สัญญาที่คู่สมรสจัดทำขึ้นเพื่อยุติการสมรสที่ได้จดทะเบียนร่วมกันไว้ และกำหนดผลเมื่อการสมรสสิ้นสุดลง เช่น

  • การแบ่งสินสมรส เช่น ทรัพย์สิน/หนี้สินต่างๆ
  • อำนาจปกครองบุตร และหน้าที่การอุปการะเลี้ยงดูบุตร (ถ้ามี)

ทั้งนี้ บันทึกข้อตกลงการหย่าและการหย่าจะมีผลสมบูรณ์เมื่อคู่สมรสไปจดทะเบียนหย่ากับนายทะเบียน (เช่น สำนักงานเขต เทศบาล อำเภอ หรือสถานกงสุล) โดยไม่มีค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนหย่า

ในกรณีที่คู่สัญญาต้องการตกลงเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรของคู่สัญญาซึ่งไม่ใช่การตกลงกันในระหว่างกระบวนการหย่า/การจดทะเบียนหย่า (เช่น การตกลงภายหลังจากการจดทะเบียนหย่า) ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้บันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร

บันทึกข้อตกลงการหย่าฉบับนี้ถูกร่างขึ้นสำหรับการหย่าของคู่สมรสที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย (เช่น มีทะเบียนสมรส) เท่านั้น

อย่างไรก็ดี คู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสหากมีความประสงค์จะเลิกขาดจากกัน ก็อาจนำบันทึกข้อตกลงการหย่ามาเทียบเคียงกันได้ตามความเหมาะสม (เช่น การแบ่งทรัพย์สิน การแบ่ง/ร่วมกันรับผิดชอบหนี้สิน การเลี้ยงดูบุตรและค่าใช้จ่าย)

การหย่ามีกี่ประเภทและมีลักษณะใดบ้าง

โดยทั่วไป การหย่าสามารถทำได้ 2 แบบ คือ

(1) ด้วยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย โดยการทำบันทึกข้อตกลงการหย่าฉบับนี้และนำไปจดทะเบียนหย่า และ
(2) ด้วยคำพิพากษาของศาล โดยการฟ้องหย่า

การหย่าโดยการทำบันทึกข้อตกลงการหย่าและการฟ้องหย่าแตกต่างกัน อย่างไร

คู่สมรสสามารถตกลงและจัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่ากันได้เองตามที่เห็นพ้องต้องกัน และนำไปจดทะเบียนหย่าได้เลยซึ่งไม่ผ่านกระบวนการทางศาลทำให้ลดขั้นตอน ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายได้

อย่างไรก็ดี หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีความต้องการจะหย่า ไม่ยอมรับกับเงื่อนไขที่อีกฝ่ายต้องการได้ หรือไม่อยู่ในสถานะความสัมพันธ์ที่สามารถติดต่อ/เจรจากันได้แล้ว คู่สัญญาอาจจำเป็นต้องเลือกใช้การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล/ฟ้องหย่า

จำเป็นต้องทำบันทึกข้อตกลงการหย่า หรือไม่

จำเป็น คู่สมรสจะต้องจัดทำทำบันทึกข้อตกลงการหย่าเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย มีพยานอย่างน้อย 2 คน และนำบันทึกข้อตกลงการหย่าไปจดทะเบียนหย่ากับนายทะเบียน (เช่น สำนักงานเขต เทศบาล อำเภอ หรือสถานกงสุลที่มีอำนาจรับจดทะเบียนหย่า) จึงจะมีผลสมบูรณ์

สินสมรส คืออะไร

สินสมรส คือ

  • ทรัพย์สินใดๆ ที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสซึ่งไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัวหรือทรัพย์สินที่ผู้ให้ระบุเจาะจงชัดเจนว่าให้เป็นการส่วนตัวเฉพาะบุคคลนั้น
  • ทรัพย์สินที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ก่อนจดทะเบียนสมรส ให้ถือเป็นสินสมรสตามสัญญาก่อนสมรส (Prenuptial Agreement) (ถ้ามี)

จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำบันทึกข้อตกลงการหย่า

คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรปรึกษาทนายความก่อนที่จะลงนามผูกพันในบันทึกข้อตกลงการหย่า เนื่องจากด้วยอำนาจต่อรองที่ต่างกันหรือความไม่รู้ถึงสิทธิพื้นฐานของตนตามกฎหมายอาจยอมรับเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม

บันทึกข้อตกลงการหย่าเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่า ได้แก่

  • คู่สัญญา อันได้แก่ คู่สมรสที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย (เช่น สามีและภรรยา หรือบุคคล 2 ฝ่าย)
  • บุตรที่เกิดจากคู่สัญญา (ถ้ามี) ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการหย่า

บุคคลใดไม่สามารถลงนามและ/หรือเข้าทำบันทึกข้อตกลงการหย่า

คู่สมรสที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย (เช่น มีทะเบียนสมรส) เท่านั้น ที่สามารถลงนามและ/หรือเข้าทำบันทึกข้อตกลงการหย่าได้

ควรกำหนดระยะเวลาของบันทึกข้อตกลงการหย่า อย่างไร

บันทึกข้อตกลงการหย่าไม่มีการกำหนดระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ การหย่าจะมีผลบังคับใช้สมบูรณ์ก็ต่อเมื่อคู่สัญญานำบันทึกข้อตกลงการหย่านั้นไปจดทะเบียนหย่า

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงการหย่าแล้ว

คู่สัญญาต้องจัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่าเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย และต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน

เมื่อจัดทำและลงนามในบันทึกข้อตกลงการหย่าเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • แนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบันทึกข้อตกลงการหย่า
  • จดทะเบียนหย่ากับนายทะเบียนตามกฎหมาย

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบบันทึกข้อตกลงการหย่าด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบันทึกข้อตกลงการหย่า เช่น

  • รายการสินสมรสที่ตกลงแบ่งกัน
  • เอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนของสินสมรสที่ตกลงแบ่งกัน (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ตราสาร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ สมุดคู่ฝากบัญชีธนาคาร)

บันทึกข้อตกลงการหย่าจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

จำเป็น คู่สมรสจะต้องนำบันทึกข้อตกลงการหย่าไปจดทะเบียนหย่ากับนายทะเบียนตามกฎหมาย (เช่น สำนักงานเขต เทศบาล อำเภอ หรือสถานกงสุลที่มีอำนาจรับจดทะเบียนหย่า) จึงจะมีผลสมบูรณ์

ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ยอมไปจดทะเบียนการหย่าตามที่ตกลงกันไว้ในบันทึกข้อตกลงการหย่า ก็สามารถฟ้องศาลบังคับให้คู่สัญญาฝ่ายนั้นไปจดทะเบียนหย่าได้

บันทึกข้อตกลงการหย่าจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

จำเป็น บันทึกข้อตกลงการหย่าจำเป็นต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน และ

พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามบันทึกข้อตกลงการหย่า (เช่น คู่สัญญา)

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่า

คู่สัญญาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ ในการจดทะเบียนบันทึกข้อตกลงการหย่าและการจดทะเบียนหย่ากับนายทะเบียน

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในบันทึกข้อตกลงการหย่า

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในบันทึกข้อตกลงการหย่า ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • ทะเบียนสมรส เช่น เขต เลขที่ทะเบียน
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรส เช่น การแบ่งทรัพย์สิน (เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เงินสด) และหนี้สินต่างๆ (เช่น หนี้บัตรเครดิต ค่างวดบ้านที่ซื้อร่วมกัน) โดยที่ คู่สัญญาจะต้องแบ่งสินสมรสให้ทั้ง 2 ฝ่าย ได้ส่วนละเท่าๆ กัน
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับบุตร (ถ้ามี) เช่น สิทธิการเลี้ยงดู/ปกครองบุตร สิทธิการเยี่ยมเยือนบุตร ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร โดยที่ คู่สัญญาจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์และผลกระทบต่อบุตรเป็นสำคัญ
  • ข้อตกลงอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ค่าเลี้ยงดูคู่สมรส บทลงโทษกรณีผิดข้อตกลง การชดเชยค่าเสียหาย/เสื่อมเสียชื่อเสียง

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับบันทึกข้อตกลงการหย่า

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่ามี ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม