หนังสือปลดหนี้ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือปลดหนี้

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 09/09/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด2 ถึง 3 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 09/09/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 2 ถึง 3 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือปลดหนี้หรือหนังสือยกหนี้ให้ลูกหนี้ คือหนังสือที่จัดทำขึ้นโดย เจ้าหนี้ (เช่น ผู้ให้กู้ยืมเงิน ผู้เสียหาย คู่สัญญาฝ่ายที่ไม่ได้ผิดสัญญา โจทก์ในคดีความ) เพียงฝ่ายเดียว เพื่อแสดงเจตนาต่อลูกหนี้ของตน (เช่น ผู้กู้ยืมเงิน ผู้ก่อความเสียหาย คู่สัญญาที่ปฏิบัติผิดสัญญา จำเลยในคดีความ) ที่จะปลดหนี้ หรือยกหนี้ที่ลูกหนี้นั้นมีต่อเจ้าหนี้หรือได้ติดค้างไว้กับเจ้าหนี้

โดยทั่วไป หนี้หรือข้อพิพาทย่อมระงับไปด้วยการชำระหนี้ เช่น

  • การชำระเงิน เช่น การชำระเงินค่าสินค้าที่ติดค้าง เงินกู้ยืมที่ติดค้าง หรือการชำระเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายที่ตนเป็นผู้ก่อขึ้น
  • การกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การส่งมอบสินค้า การให้บริการตามหน้าที่ของตนในสัญญา หรือการกระทำการเพื่อแก้ไข ชดเชย ชดใช้ หรือเยียวยาความเสียหายที่ตนเป็นผู้ก่อขึ้น

ในขณะที่การปลดหนี้ให้ลูกหนี้ก็เป็นอีกวิธีการที่ทำให้หนี้หรือข้อพิพาทดังกล่าวระงับหมดสิ้นไปด้วยได้เช่นกัน แต่ในกรณีเช่นนี้ลูกหนี้จะไม่จำเป็นต้องดำเนินการชำระหนี้ที่เจ้าหนี้ปลดให้นั้น

หนังสือปลดหนี้หรือหนังสือยกหนี้ให้ลูกหนี้ สามารถนำไปใช้ได้กับการปลดหนี้ต่างๆ ให้แก่ลูกหนี้ ไม่ว่าหนี้นั้นจะมีสาเหตุของหนี้มาจากมูลหนี้ใด และไม่ว่าจะเป็นข้อพิพาทประเภทใด ก็ตาม เช่น

  • หนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงิน เช่น การชำระคืนเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าปรับต่างๆ ตามสัญญากู้ยืมเงิน
  • หนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่จะต้องชดใช้ความเสียหายให้แก่เจ้าหนี้ เนื่องจากลูกหนี้ได้กระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ เช่น ค่าเสียหาย เงินค่าทำขวัญ ค่าเสียรายได้/โอกาส
  • หนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาต่างๆ เนื่องจากลูกหนี้ได้ปฏิบัติผิดข้อตกลงในสัญญานั้นๆ เช่น หน้าที่การส่งมอบสินค้าตามชนิด จำนวน ปริมาณ และภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือค่าปรับการส่งสินค้าล่าช้าตามสัญญาซื้อขายสินค้า ค่าปรับการชำระค่าเช่าล่าช้าตามสัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้าง
  • หนี้ในลักษณะอื่นๆ เช่น หนี้ที่เกิดจากการตกลงกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือปลดหนี้หรือหนังสือยกหนี้ให้ลูกหนี้ ผู้จัดทำ ควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • คู่สัญญา/คู่พิพาท เช่น ชื่อ ที่อยู่ ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • เหตุแห่งหนี้/ข้อพิพาท เช่น รายละเอียดเหตุการณ์การกระทำผิดสัญญา การผิดนัดชำระหนี้ การทำละเมิด การกระทำความเสียหาย การกระทำความผิดอาญาที่เป็นเหตุแห่งข้อพิพาท รวมถึงข้อมูลอ้างอิงสัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้ดังกล่าว (ถ้ามี)
  • รายละเอียดอ้างอิงคดีความในศาล ในกรณีที่หนี้/ข้อพิพาทอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาล เช่น ประเภทคดี หมายเลขคดีดำ ข้อหาหรือฐานความผิดที่ฟ้อง วันที่ฟ้อง ศาลที่รับคำฟ้อง
  • หนี้ เช่น จำนวนหนี้/เงินทั้งหมด รายละเอียดของหนี้ที่เกิดจากเหตุแห่งหนี้/ข้อพิพาทดังกล่าว
  • การปลดหนี้ เช่น เจ้าหนี้จะปลดหนี้ให้ลูกหนี้ทั้งหมด หรือแต่เพียงบางส่วน วันที่การปลดหนี้มีผลบังคับใช้ รวมถึง เหตุผลที่เจ้าหนี้ต้องการจะปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้
  • รายละเอียดอื่นๆ เช่น การคืน/ไถ่ถอนหลักประกัน (ถ้ามี)

เมื่อผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือครบถ้วนแล้ว ผู้จัดทำควรจัดทำหนังสือดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยเจ้าหนี้ หรือตัวแทนผู้มีอำนาจของเจ้าหนี้ รวมถึง พยาน (ถ้ามี) ให้เรียบร้อย โดย ลูกหนี้อาจร่วมลงนามรับทราบในหนังสือดังกล่าวด้วยหรือไม่ ก็ได้ โดยผู้จัดทำอาจจัดทำสำเนาไว้เพื่อการอ้างอิงในอนาคต

ผู้จัดทำควรจัดส่งหนังสือดังกล่าวให้แก่ลูกหนี้ และผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) เพื่อให้ลูกหนี้ไว้ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเกี่ยวกับการปลดหนี้ดังกล่าวต่อไป

ข้อพิจารณา

เนื่องจากการปลดหนี้เป็นการจำหน่าย/สละสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องสิทธิตามหนี้ที่พิพาทนั้นจากลูกหนี้ อันมีผลทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากภาระหนี้ดังกล่าว (เช่น ไม่ต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้) เจ้าหนี้อาจพิจารณาปรึกษาทนายความของตนก่อนจะจัดทำและลงนามในหนังสือปลดหนี้ฉบับนี้

โดยทั่วไปการปลดหนี้สามารถทำได้เพียงการแสดงเจตนาของเจ้าหนี้ (เช่น การบอกกล่าวทางวาจา การแสดงพฤติการณ์โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายว่าจะปลดหนี้ให้) และในกรณีที่หนี้ที่ต้องการจะปลดนั้นเป็นหนี้ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ (เช่น สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้าง สัญญาประนีประนอมยอมความ) ในกรณีเช่นนนี้ การปลดหนี้จะต้องทำเป็นหนังสือ หรือเวนคืน/ขีดฆ่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้นั้น อย่างไรก็ดี ผู้ใช้งานอาจพิจารณาจัดทำหนังสือปลดหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าในกรณีใดๆ เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้เกี่ยวกับรายละเอียดและเงื่อนไขการปลดหนี้ รวมถึงเพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในกรณีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าวอีกอนาคต (ถ้ามี)

ในกรณีที่หนี้นั้นมีหลักประกันซึ่งได้วางไว้ให้แก่เจ้าหนี้ (เช่น ทรัพย์สิน เงินสด หรือการค้ำประกัน) และเจ้าหนี้ได้ปลดหนี้ทั้งหมดให้แก่ลูกหนี้ ย่อมทำให้หลักประกันดังกล่าวนั้นหลุดพ้นจากภาระผูกพันในการเป็นหลักประกันการชำระหนี้นั้นด้วย เจ้าหนี้จึงมีหน้าที่จะต้องคืนหลักประกันดังกล่าวให้แก่ลูกหนี้หรือดำเนินการไถ่ถอนหลักประกันดังกล่าวคืนให้แก่ลูกหนี้ แล้วแต่กรณี

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม