หนังสือแต่งตั้งทนายความ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือแต่งตั้งทนายความ

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 12/10/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด3 ถึง 4 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 12/10/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 3 ถึง 4 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือแต่งตั้งทนายความดำเนินคดี หรือหนังสือแต่งตั้งทนายว่าความ คือหนังสือที่ผู้แต่งตั้งทนายความ (เช่น ผู้ที่ว่าจ้างให้ทนายว่าความ ฟ้อง หรือต่อสู้ดำเนินคดีให้) จัดทำขึ้นเพื่อแต่งตั้งและมอบอำนาจให้ทนายความ (เช่น ผู้ที่มีใบอนุญาตให้เป็นทนายความ) เป็นตัวแทนของตนในการดำเนินการว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีแทนผู้แต่งตั้งทนายความซึ่งเป็นหรือกำลังจะเป็นคู่ความในคดีนั้น ไม่ว่าจะเป็น คดีแพ่ง คดีอาญา หรือทั้ง 2 ประเภทคดี และไม่ว่าจะเป็นคดีความในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา ก็ตาม เนื่องจากผู้แต่งตั้งทนายความอาจไม่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ ทักษะ ความรอบคอบ และวิจารณญาณที่เพียงพอในด้านข้อกฎหมาย และวิธีกระบวนการพิจารณาคดีความ ซึ่งหากผู้แต่งตั้งทนายความดำเนินการเอง อาจทำให้ตนได้รับความเสียหาย หรือเสียสิทธิประโยชน์ไปโดยไม่ได้ตั้งใจอันเนื่องจากความไม่รู้ข้อกฎหมาย หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีกระบวนการพิจารณาคดีความ รวมถึง อาจไม่มีเวลามาศาลด้วยตนเองในทุกๆ กระบวนพิจารณา

ในกรณีที่ทนายความดำเนินการว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีไปในขอบเขตที่กำหนดไว้ในหนังสือฉบับดังกล่าว การดำเนินการดังกล่าวนั้นก็ย่อมผูกพันผู้แต่งตั้งทนายความทั้งสิ้น โดยที่ในการแต่งตั้งทนายความว่าความในคดี ผู้แต่งตั้งทนายความอาจเลือกแต่งตั้งได้ 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

(ก) แบบทั่วไป คือ ผู้แต่งตั้งทนายความอาจกำหนดเพียงขอบเขตและประเภทของคดีที่จะแต่งตั้งให้ทนายความเป็นผู้รับผิดชอบ โดยทนายความย่อมมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีที่อยู่ในขอบเขตที่กำหนดดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่แต่งตั้ง ซึ่งอาจมีเพียงคดีเดียว หรือหลายคดีก็ได้

(ข) แบบเฉพาะคดี คือ ผู้แต่งตั้งทนายความอาจกำหนดคดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะให้ทนายความเป็นผู้รับผิดชอบ โดยทนายความย่อมมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะคดีที่กำหนดนั้น เท่านั้น โดยหากทนายความได้ดำเนินการในคดีดังกล่าวสำเร็จลุล่วงแล้ว (เช่น คดีถึงที่สุด) การแต่งตั้งก็ย่อมสิ้นสุดลงโดยปริยาย

ในกรณีที่ ผู้แต่งตั้งทนายความต้องการแต่งตั้งบุคคลเพื่อเป็นตัวแทนของตนในคดีซึ่งบุคคลดังกล่าวไม่ใช่ทนายความ ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้ หนังสือมอบอำนาจ ซึ่งถูกร่างขึ้นสำหรับใช้ในกรณีการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นบุคคลทั่วไป ในกรณีเช่นนี้ ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่สามารถว่าความในคดีได้ด้วยตนเอง แต่อาจแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินการว่าความได้ ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้เฉพาะตัวคู่ความในคดีเอง และทนายความเท่านั้นที่มีสิทธิว่าความ

อนึ่ง หนังสือแต่งตั้งทนายความฉบับนี้ ไม่ใช่แบบพิมพ์ของศาล (เช่น แบบ 9 ใบแต่งทนายความ หรือแบบ 10 ใบมอบฉันทะ)

การนำไปใช้

ในการจัดทำ หนังสือแต่งตั้งทนายความดำเนินคดี หรือหนังสือแต่งตั้งทนายว่าความ ผู้จัดทำ (เช่น ผู้แต่งตั้งทนายความ หรือตัวแทน) ควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • ผู้แต่งตั้งทนายความ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้องและชัดเจน
  • คดีความ เช่น ประเภทคดี ข้อพิพาท หมายเลขคดี (ถ้าทราบ) ชื่อคู่พิพาท ศาลที่คดีอยู่ในการพิจารณา ในกรณีการแต่งตั้งทนายความแบบเฉพาะคดี หรือประเภทคดี ขอบเขตของคดี และระยะเวลาการแต่งตั้ง ในกรณีการแต่งตั้งทนายความแบบทั่วไป
  • ขอบเขตอำนาจ เช่น ทนายความมีขอบเขตอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาในคดี เพียงใด
  • ทนายความ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เลขที่ใบอนุญาตทนายความ รวมถึง จำนวนทนายความที่แต่งตั้ง เงื่อนไขการดำเนินการร่วมกันหรือแยกกันของทนายความเหล่านั้น ในกรณีที่แต่งตั้งทนายความหลายคน

ผู้จัดทำควรจัดทำหนังสือดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามโดยผู้แต่งตั้งทนายความหรือตัวแทนของผู้แต่งตั้งทนายความ ทนายความที่ได้รับการแต่งตั้ง และพยาน เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการจัดทำเป็นหนังสือและลงนามโดยบุคคลดังกล่าว โดยผู้จัดทำอาจจัดทำสำเนาเก็บไว้เพื่อการอ้างอิงในอนาคต

ผู้จัดทำควรจัดส่ง/ส่งมอบหนังสือดังกล่าวให้แก่ทนายความเพื่อทนายความนำไปใช้อ้างอิงประกอบเอกสารต่างๆ ตามกระบวนพิจารณาคดี (เช่น ยื่นต่อศาลเพื่อรวบรวมไว้ในสำนวนคดี)

ในกรณีที่การแต่งตั้งทนายความดำเนินการโดยผู้รับมอบอำนาจอีกทีหนึ่ง ผู้จัดทำควรแนบ หนังสือมอบอำนาจซึ่งผู้แต่งตั้งทนายความมอบอำนาจ/แต่งตั้งให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของตนในคดี ไปพร้อมกับหนังสือฉบับดังกล่าวด้วย

ข้อพิจารณา

แม้จะได้แต่งตั้งทนายความไปแล้ว แต่ในกรณีที่การดำเนินการเป็นกิจธุระหรือการเฉพาะตัวของผู้แต่งตั้งทนายความ ผู้แต่งตั้งทนายความก็อาจจำเป็นต้องดำเนินการด้วยตัวเอง เช่น การเบิกความต่อศาลในฐานะพยาน

ในการแต่งตั้งทนายความ ทนายความย่อมมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ตามสมควรเพื่อรักประโยชน์ของผู้แต่งตั้งทนายความนั้น อย่างไรก็ดี ในการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของผู้แต่งตั้งทนายความ (เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การใช้หรือสละสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือการใช้หรือสละสิทธิในการขอให้พิจารณาคดีใหม่) ทนายความจะต้องได้รับอำนาจโดยชัดแจ้ง โดยอาจระบุรวมให้ไว้ในหนังสือฉบับนี้ล่วงหน้าคราวเดียวเพื่อความสะดวกในการจัดทำเอกสาร (ในกรณีเช่นนี้ แม้ในหนังสือแต่งตั้งทนายความจะได้ให้อำนาจไว้อย่างกว้างและเป็นการล่วงหน้า ในทางปฏิบัติทนายความมักปรึกษา หารือกับผู้แต่งตั้งทนายความก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการจำหน่ายสิทธินั้นๆ) หรือจะทำเป็นหนังสืออีกฉบับแยกต่างหากตามความจำเป็นเฉพาะในแต่ละคราว ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความไว้วางใจ จริยธรรม และการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพของทนายความนั้น

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม