หนังสือแจ้งร้องเรียนการหลอกลวงเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือแจ้งร้องเรียนการหลอกลวงเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 05/09/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด3 ถึง 4 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 05/09/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 3 ถึง 4 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือแจ้งร้องเรียนการหลอกลวงเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล หรือหนังสือแจ้งการหลอกลวงเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี คือ หนังสือที่ผู้เสียหาย (เช่น ผู้ถือคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล เจ้าของบัญชี/Wallet) จัดทำขึ้นโดยฝ่ายเดียวเพื่อที่จะขอให้ผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกี่ยวข้อง (เช่น ศูนย์ซื้อขาย/Exchange ผู้ให้บริการรับฝาก/Wallet Custodian) พิจารณา/ดำเนินการเกี่ยวกับธุรกรรมที่ผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพหลอกลวง (เช่น การอายัดธุรกรรมและบัญชี/Wallet ที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวง และส่งมอบข้อมูลสำคัญเพื่อใช้ในการติดตามและดำเนินคดีความต่อไป) ไม่ว่าการหลอกลวงจะมาในรูปแบบและช่องทางใดๆ ซึ่งทรัพย์สินที่ถูกหลอกลวง/ได้รับความเสียหายนั้นเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่บนพื้นฐานของการเงินแบบไม่รวมศูนย์/
Decentralized Finance (DeFi) (เช่น ระบบ Blockchain) ซึ่งอาจมีความซับซ้อนและมีความจำเป็นต้องใช้วิธีการเฉพาะเจาะจงในการติดตามทรัพย์สินคืนจากมิจฉาชีพ เช่น

  • คริปโทเคอร์เรนซี เช่น เหรียญ Cryptocurrency สกุลต่างๆ
  • โทเคนดิจิทัล เช่น Digital Token ต่างๆ ที่ผู้ถือจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน โทเคน NFT

การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือแจ้งร้องเรียนการหลอกลวงเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล หรือหนังสือแจ้งการหลอกลวงเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีฉบับนี้ ผู้จัดทำ ควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • ผู้เสียหาย เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิง
  • การหลอกลวง เช่น รูปแบบ ลักษณะ และช่องทางการหลอกลวง กลโกงที่มิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวง
  • สินทรัพย์ดิจิทัลถูกหลอกลวง/ได้รับความเสียหาย เช่น ลักษณะ ประเภท ผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัล บัญชี/Wallet ID
  • ความเสียหาย เช่น มูลค่าที่ตีเป็นเงิน และรายละเอียดของจำนวนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกหลอกลวง
  • ธุรกรรมที่ถูกหลอกลวงซึ่งต้องการอายัด/ขอข้อมูลสำคัญ เช่น เลขที่อ้างอิงธุรกรรม เวลา/วันที่ทำรายการ ช่องทางการทำรายการ บัญชี/Wallet ID ผู้รับโอน

ผู้จัดทำอาจแนบหลักฐาน/เอกสารเกี่ยวกับการหลอกลวง/ความเสียหาย (ถ้ามี) เช่น รายการ/เลขที่ธุรกรรมที่ถูกหลอกลวง/Transaction ID

ผู้จัดทำควรจัดทำหนังสือดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้เสียหายหรือตัวแทน โดยอาจจัดทำสำเนาไว้เพื่อการอ้างอิงในอนาคต

ผู้จัดทำควรจัดส่งหนังสือดังกล่าวให้แก่ผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลหรือตัวแทน โดยไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือตามวิธี สถานที่ และช่องทางการติดต่ออื่นๆ ที่ผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างลูกค้า เพื่อผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถนำไปใช้พิจารณาตรวจสอบอ้างอิงในการพิจารณา/ดำเนินการตามคำขอของผู้เสียหายต่อไป

ในขณะเดียวกัน ผู้เสียหายควรดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์/แจ้งความดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานตำรวจโดยเร่งด่วน ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น สถานีตำรวจในท้องที่ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) และ/หรือผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์กรณีคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม