เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"
ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้
คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว
ปรับปรุงล่าสุด 09/10/2567
รูปแบบที่มีให้ Word และ PDF
ขนาด 1 ถึง 2 หน้า
ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ
กรอกแบบฟอร์มหนังสือยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรม หรือหนังสือให้ความยินยอมคู่สมรสทำนิติกรรม คือ หนังสือซึ่งคู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำขึ้นเพื่อแสดงว่าตนรับรู้ เห็นชอบ และยินยอมให้คู่สมรสของตนอีกฝ่ายหนึ่งดำเนินการหรือเข้าทำนิติกรรมตามขอบเขตและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสือยินยอมดังกล่าว เพื่อให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งและคู่สัญญาที่ร่วมดำเนินการหรือร่วมทำนิติกรรม มั่นใจได้ว่าการดำเนินการหรือการเข้าทำนิติกรรมดังกล่าวนั้นจะมีความสมบูรณ์และสามารถบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย
ทั้งนี้ เนื่องจากการดำเนินการหรือการเข้าทำนิติกรรมบางประเภทกฎหมายกำหนดให้คู่สมรสต้องดำเนินการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน การดำเนินการหรือการเข้าทำนิติกรรมดังกล่าวนั้นจึงจะมีผลผูกพันโดยสมบูรณ์และสามารถบังคับใช้ได้ เช่น
(1) การขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ซึ่งเป็นสินสมรส
(2) การก่อตั้งหรือกระทำให้สิ้นสุดลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสินสมรส
(3) การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสินสมรสเกิน 3 ปี
(4) การให้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นสินสมรส
(5) การให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรส โดยเสน่หา เว้นแต่ การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) การประนีประนอมยอมความ
(7) การมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) การนำทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
(9) การดำเนินการหรือการเข้าทำนิติกรรมใดเกี่ยวกับสินสมรสที่สัญญาก่อนสมรสกำหนดให้คู่สมรสต้องดำเนินการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน (ในกรณีที่มีการจัดทำสัญญาก่อนสมรส)
(10) การรับบุตรบุญธรรมมาอุปการะเลี้ยงดู
(11) การที่คู่สมรสจะเป็นบุตรบุญธรรมและอยู่ในการอุปการะเลี้ยงดูของบุคคลอื่น
การนำไปใช้
ในการจัดทำหนังสือยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรม หรือหนังสือให้ความยินยอมคู่สมรสทำนิติกรรม ผู้จัดทำควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้
ผู้จัดทำ (เช่น คู่สมรสผู้ให้ความยินยอม) ควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญของหนังสือให้ความยินยอม โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น
เมื่อ คู่สมรสผู้ให้ความยินยอมจัดทำหนังสือให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามในหนังสือดังกล่าวแล้ว ควรจัดส่งให้แก่ผู้เกี่ยวข้องที่ร้องขอหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว โดยอาจจัดทำหนังสือให้ความยินยอมอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อใช้ประกอบการดำเนินการหรือการเข้าทำนิติกรรมนั้น และใช้สำหรับเก็บไว้อ้างอิงเป็นหลักฐานกับตนเองอย่างน้อย 1 ฉบับ
ข้อควรพิจารณา
ในการดำเนินการหรือการเข้าทำนิติกรรมบางประเภท โดยเฉพาะนิติกรรมที่เป็นการก่อหนี้ (เช่น การกู้ยืมเงิน การค้ำประกัน) แม้กฎหมายไม่ได้กำหนดให้การดำเนินการหรือการเข้าทำนิติกรรมนั้น คู่สมรสต้องดำเนินการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน แต่ผู้เป็นเจ้าหนี้มักกำหนดให้คู่สมรสของลูกหนี้นั้นต้องจัดทำหนังสือยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรมนั้นด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากการที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งยินยอมให้คู่สมรสของตนอีกฝ่ายหนึ่งเข้าทำนิติกรรมใดนิติกรรมหนึ่งเป็นการเฉพาะ แม้ว่าหนี้ที่เกิดจากนิติกรรมนั้นจะเป็นประโยชน์แก่คู่สมรสเพียงฝ่ายเดียวหรือเป็นหนี้ที่ก่อขึ้นโดยคู่สมรสเพียงเดียว ย่อมถือว่าการยินยอมดังกล่าวนั้นเป็นการที่คู่สมรสให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวนั้นด้วย ซึ่งกฎหมายกำหนดให้หนี้ดังกล่าวนั้นเป็นหนี้ที่สามีและภรรยาต้องรับผิดชอบร่วมกัน (เช่น ถูกบังคับชำระหนี้จากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ความช่วยเหลือจากทนายความ
คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ
ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร
แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร
คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป
ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้
หนังสือยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรม - ตัวอย่างแบบฟอร์ม
ประเทศ: ประเทศไทย