หนังสือชี้แจงข้อกล่าวหา กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือชี้แจงข้อกล่าวหา

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 09/10/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด2 ถึง 3 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 09/10/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 2 ถึง 3 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือชี้แจงข้อกล่าวหา หรือหนังสือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คือ หนังสือที่ผู้ถูกกล่าวหาจัดทำขึ้นโดยฝ่ายเดียวเพื่อที่จะชี้แจง อธิบาย เกี่ยวกับความผิดที่ตนถูกกล่าวหานั้นๆ ซึ่งเป็นการตอบกลับหนังสือการแจ้งข้อกล่าวหา หรือบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา

โดยผู้ถูกกล่าวหาอาจจัดทำหนังสือดังกล่าวต่อผู้กล่าวหา หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่สอบสวน/ไต่สวนเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาดังกล่าวนั้น ไม่ว่าจะเป็นการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อ

หนังสือชี้แจงข้อกล่าวหาอาจนำไปใช้ได้ในลักษณะการชี้แจงข้อกล่าวหาในกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธหรือโต้แต้งทุกข้อกล่าวหา เช่น ผู้ถูกกล่าวหาต้องการอธิบาย/ชี้แจงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายซึ่งแสดงให้เห็นว่าตนไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหานั้น
  • ผู้ถูกกล่าวหายอมรับสารภาพทุกข้อกล่าวหา เช่น ผู้ถูกกล่าวหาต้องการอธิบาย/ชี้แจงข้อเท็จจริงซึ่งเป็นการยอมรับว่าตนได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหานั้นจริง รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการสอบสวน/ไต่สวนในความผิดดังกล่าวนั้น โดยอาจอธิบายถึงเหตุผลและความจำเป็นที่กระทำการดังกล่าวนั้นด้วย ทั้งนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการได้รับการลดหย่อนโทษจากหนักเป็นเบา
  • ผู้ถูกกล่าวหายอมรับข้อกล่าวหาบางส่วนและปฏิเสธข้อกล่าวหาบางส่วน เช่น ผู้ถูกกล่าวหาต้องการอธิบาย/ชี้แจงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายซึ่งแสดงให้เห็นว่าตนไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหานั้นในบางส่วน และในขณะเดียวกันผู้ถูกกล่าวหาก็ต้องการอธิบาย/ชี้แจงข้อเท็จจริงซึ่งเป็นการยอมรับว่าตนก็ได้กระทำการบางอย่างตามที่ถูกกล่าวหานั้นจริง

การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือชี้แจงข้อกล่าวหาฉบับนี้ ผู้จัดทำ ควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • ผู้ถูกกล่าวหา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิง
  • หน่วยงาน/บุคคลผู้สอบสวน/ไต่สวนความผิด เช่น ชื่อของหน่วยงาน/บุคคลที่มีหน้าที่สอบสวน/ไต่สวนความผิดที่กล่าวหาที่ผู้ถูกกล่าวหาต้องการจะให้คำชี้แจงต่อหน่วยงาน/บุคคลนั้น
  • รายละเอียดการชี้แจงข้อกล่าวหา เช่น รายละเอียดข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมายที่ผู้ถูกกล่าวหาต้องการชี้แจง โต้แย้ง ปฏิเสธข้อกล่าวหา หรือยอมรับ/รับสารภาพตามข้อกล่าวหา แล้วแต่กรณี
  • เอกสาร/หลักฐาน (ถ้ามี) เช่น รายละเอียดอ้างอิงบันทึกข้อความ คำสั่ง ข้อมูล หรือเอกสารที่สนับสนุนการชี้แจงข้อกล่าวหาของผู้ถูกกล่าวหา

ผู้จัดทำควรจัดทำหนังสือดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้ถูกกล่าวหาหรือตัวแทนของผู้ถูกกล่าวหา โดยอาจจัดทำสำเนาไว้เพื่อการอ้างอิงในอนาคต

ผู้จัดทำควรแนบเอกสารแสดงตัวตนของผู้ถูกกล่าวหาที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องประกอบหนังสือดังกล่าว เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือมอบอำนาจและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน) หรือหนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)

ผู้จัดทำควรจัดส่งหนังสือดังกล่าวพร้อมแนบเอกสาร/หลักฐาน (ถ้ามี) ให้แก่หน่วยงาน/บุคคลผู้สอบสวน/ไต่สวนความผิดตามวิธี สถานที่ และช่องทางการติดต่อที่จัดให้มี เพื่อหน่วยงาน/บุคคลผู้สอบสวน/ไต่สวนความผิดสามารถนำไปใช้พิจารณาอ้างอิงในกระบวนการสอบสวน/ไต่สวนต่อไป

ข้อพิจารณา

หนังสือชี้แจงข้อกล่าวหามีความสำคัญมากต่อผลการตัดสินความผิดที่ถูกกล่าวหา รวมถึงการลงโทษตามความผิดนั้นๆ ด้วย ดังนั้น ผู้ถูกกล่าวหาควรแน่ใจว่าการชี้แจงข้อกล่าวหานั้น ไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธหรือยอมรับข้อกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหาได้พิจารณาถึงข้อพิจารณาต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ข้อเท็จจริง ความร้ายแรง และพฤติการณ์ต่างๆ ของผู้ถูกกล่าวหา
  • องค์ประกอบความผิดและโทษของความผิดที่ถูกกล่าวหา
  • เอกสาร พยาน และหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา
  • การชี้แจงข้อกล่าวหาโดยระบุข้อความอย่างชัดเจน ตรงประเด็น เข้าใจง่าย และโต้แย้งตามองค์ประกอบของความผิดที่ถูกกล่าวหา
  • ในกรณีที่ ผู้ถูกกล่าวหาไม่แน่ใจเกี่ยวกับองค์ประกอบความผิดที่ถูกกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหาอาจพิจารณาปรึกษาทนายความเพื่อช่วยเหลือในการจัดทำหนังสือชี้แจงข้อกล่าวหาและกำหนดกลยุทธ์การโต้แย้ง/ปฏิเสธข้อกล่าวหา

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม