หนังสือชี้ชวนให้ซื้อหุ้น กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือชี้ชวนให้ซื้อหุ้น

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 18/09/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด9 ถึง 14 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 18/09/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 9 ถึง 14 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือชี้ชวนให้ซื้อหุ้นของบริษัท หรือหนังสือชวนให้ซื้อหุ้นของบริษัท คือ หนังสือที่จัดทำขึ้นโดยผู้เสนอขายหุ้น (เช่น บริษัทจำกัด หรือผู้เริ่มก่อการของบริษัทจำกัด) เพื่อเป็นการเปิดเผย เผยแพร่ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลสำคัญทางธุรกิจ ข้อมูลทางการเงินของบริษัท และข้อมูลของหุ้นที่บริษัทต้องการจะเสนอขาย รวมถึงเงื่อนไขและข้อกำหนดต่างๆ ในการเสนอขายหุ้นและการจองซื้อหุ้นนั้น แก่บุคคลผู้สนใจที่จะซื้อหุ้นของบริษัทดังกล่าวนั้น (เช่น ผู้ลงทุน) ทั้งนี้ เพื่อบริษัทสามารถระดมเงินลงทุนจากการเสนอขายหุ้นไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง เช่น

  • การนำเงินไปใช้ในการลงทุนเพื่อตั้งต้นในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจของกิจการ
  • การนำเงินไปใช้ในการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจของกิจการ
  • การนำเงินไปใช้ในการชำระหนี้ที่ใกล้จะครบกำหนดชำระ
  • การนำเงินไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัท
  • การเพิ่มและ/หรือเปลี่ยนผู้ลงทุนใหม่ในบริษัท

การเสนอขายหุ้นตามหนังสือชี้ชวนให้ซื้อหุ้นของบริษัทฉบับนี้ อาจสามารถนำไปใช้ได้ในกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • การเสนอขายหุ้นของบริษัทซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ (เช่น บริษัทเสนอขายหุ้นของบริษัทเป็นครั้งแรก) ในกรณีเช่นนี้ บริษัทยังไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งและมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ผู้เริ่มก่อการจะเป็นผู้เสนอขายหุ้นในนามของบริษัท
  • การเสนอขายหุ้นของบริษัทซึ่งจัดตั้งและจดทะเบียนอยู่แล้ว เช่น บริษัทเสนอขายหุ้นของบริษัทที่ออกใหม่ (เช่น หุ้นเพิ่มทุน) หรือบริษัทเสนอขายหุ้นเดิมของบริษัท (เช่น หุ้นที่บริษัทซื้อคืนจากผู้ถือหุ้นเดิม หุ้นที่เหลือจากการจัดสรรในการเสนอขายหุ้นคราวก่อน) ในกรณีเช่นนี้ บริษัทได้จดทะเบียนจัดตั้งและมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแล้ว บริษัทอาจเป็นผู้เสนอขายหุ้นได้เอง โดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท และ/หรือโดยมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น

อนึ่ง ในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจำกัด ตามกฎหมายหุ้นส่วนและบริษัท กำหนดห้ามไม่ให้บริษัทจำกัดชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้น ดังนั้น บริษัทจำกัดจึงสามารถเปิดเผยข้อมูลและเสนอขายหุ้นแก่ผู้ลงทุนที่สนใจในลักษณะเฉพาะเจาะจงใน​วง​จํากัด หรือในลักษณะส่วนบุคคล (Private Offerings) เท่านั้น ในกรณีที่ บริษัทจำกัดต้องการชี้ชวนและเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน ไม่ว่าการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering) หรือการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนหมู่มาก (‎Equity Crowdfunding) บริษัทจำกัดจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ด้วย

หนังสือชี้ชวนให้ซื้อหุ้นของบริษัทฉบับนี้ถูกร่างขึ้นสำหรับการเสนอขายหุ้นของ บริษัทจำกัด เท่านั้น โดย ไม่รวมถึงการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering) ของบริษัท จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือการจองซื้อหุ้นของนิติบุคคลในรูปแบบอื่นๆ (เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด)

การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือชี้ชวนให้ซื้อหุ้นของบริษัท หรือหนังสือชวนให้ซื้อหุ้นของบริษัท ผู้จัดทำควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • บริษัทผู้เสนอขายหุ้น เช่น ชื่อ ที่อยู่ เลขที่ทะเบียนนิติบุคคลของบริษัท จำนวนทุนจดทะเบียน จำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท ข้อมูลสำคัญของบริษัท (เช่น โครงสร้างและรูปแบบการประกอบธุรกิจ แผนธุรกิจ รายงานทางการเงิน คณะผู้บริหารและบุคลากร)
  • หุ้นที่เสนอขาย เช่น ประเภทหุ้น กลุ่มหุ้นที่เสนอขาย จำนวนหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย ราคาที่เสนอขาย จำนวนหุ้นขั้นต่ำในการจองซื้อ (ถ้ามี) สิทธิประโยชน์และ/หรือข้อจำกัดของหุ้นที่เสนอขาย (ถ้ามี)
  • กำหนดระยะเวลาการเสนอขายหุ้น เช่น วันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดการเสนอขาย การเพิ่ม/ลดระยะเวลาการเสนอขายหุ้น
  • วิธีการจองซื้อหุ้น เช่น แบบหนังสือจองซื้อหุ้น รูปแบบ และช่องทางการจองซื้อหุ้น
  • การชำระเงินค่าหุ้น เช่น รูปแบบการชำระค่าหุ้น กำหนดระยะเวลา และวิธีการชำระค่าหุ้น
  • ข้อตกลงอื่น เช่น ระยะปลอดพันธะ (Cooling-off Period) หรือระยะเวลาที่ผู้จองซื้อหุ้นมีสิทธิเปลี่ยนใจยกเลิกการจองซื้อหุ้นได้ นโยบายการจัดสรรหุ้นในกรณีที่มีผู้จองซื้อเกินจำนวนที่เสนอขาย การดำเนินการในกรณีที่ผู้จองซื้อหุ้นไม่ได้รับจัดสรรหุ้นที่จองซื้อ (เช่น การระดมทุนไม่สำเร็จ มีผู้จองซื้อมากเกินจำนวนหุ้นที่เสนอขาย ไม่สามารถจัดตั้งบริษัทได้ภายหลัง) การเก็บรักษาความลับ (ถ้ามี) การยกเลิกการเสนอขายหุ้นโดยบริษัท

เมื่อผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือครบถ้วนแล้ว ผู้จัดทำควรจัดทำหนังสือชี้ชวนให้ซื้อหุ้นของบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร และให้กรรมการบริษัทหรือผู้เริ่มก่อการ แล้วแต่กรณี ลงนามในหนังสือชี้ชวนให้ซื้อหุ้นของบริษัทฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย โดยอาจจัดทำสำเนาไว้เพื่อการอ้างอิงในอนาคต และในกรณีที่บริษัทมีกระดาษหัวจดหมายตราสัญลักษณ์ของบริษัท ผู้จัดทำอาจจัดทำหนังสือชี้ชวนให้ซื้อหุ้นของบริษัทลงบนกระดาษดังกล่าว เพื่อเพิ่มความเป็นทางการและความน่าเชื่อถือให้กับหนังสือชี้ชวนให้ซื้อหุ้นของบริษัท

ผู้จัดทำควรจัดส่งหนังสือดังกล่าวให้แก่บุคคลผู้สนใจที่จะซื้อหุ้นของบริษัท/ผู้ลงทุน โดยวิธีการเฉพาะเจาะจงและส่วนบุคคล เพื่อบุคคล/ผู้ลงทุนดังกล่าวนั้นนำไปใช้ศึกษาและพิจารณาถึงรายละเอียดสิทธิประโยชน์ เงื่อนไข ความเสี่ยง และข้อจำกัดสิทธิของหุ้นที่เสนอขาย และใช้ตัดสินใจในการจองซื้อหุ้นของบริษัทต่อไป

ข้อพิจารณา

ในกรณีที่ภายหลังปรากฏบุคคลผู้สนใจที่จะซื้อหุ้นของบริษัท/ผู้ลงทุนได้ศึกษาและพิจารณาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้ซื้อหุ้นของบริษัทแล้วมีความต้องการจะจองซื้อหุ้นของบริษัทที่เสนอขายตามหนังสือฉบับนี้ บุคคล/ผู้ลงทุนดังกล่าวนั้นอาจพิจารณาเลือกใช้และจัดทำแบบหนังสือจองซื้อหุ้นบริษัทบนเว็บไซต์ของเรา

เมื่อกระบวนการเสนอขาย จองซื้อ ชำระค่าหุ้น และการจัดสรรหุ้นเรียบร้อยแล้ว บริษัทย่อมมีหน้าที่ออกใบหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อที่ได้รับการจัดสรรหุ้น หรือผู้ถือหุ้นใหม่ และบริษัทยังมีหน้าที่ต้องดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท (เช่น การเพิ่มผู้ถือหุ้น) และดำเนินการแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นต่อนายทะเบียน สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายในระยะเวลาที่กำหนด

การจองซื้อหุ้นของบริษัทซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ที่เสนอขายหุ้นของบริษัทเป็นครั้งแรก ในขณะการเสนอขายหุ้นและการจองซื้อหุ้น บริษัทอาจยังไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งและมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายหุ้นส่วนและบริษัท อย่างไรก็ดี หากบริษัทสามารถเสนอขายหุ้นและได้รับชำระค่าหุ้นจากผู้จองซื้อหุ้นได้สำเร็จตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนให้ซื้อหุ้นของบริษัท บริษัทก็อาจเรียกผู้จองซื้อหุ้นที่ได้รับการจัดสรรเพื่อประชุมจัดตั้งบริษัทและพิจารณากิจการต่างๆ ที่จำเป็นตามที่กฎหมายกำหนดในการจัดตั้งบริษัทต่อไป ในกรณี้เช่นนี้ ผู้ใช้งานอาจจัดทำรายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท เพื่อเป็นหลักฐานในการประชุมจัดตั้งบริษัท และเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบในการดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการจัดตั้งบริษัทจำกัดได้ที่คู่มือทางกฎหมาย: เริ่มต้นธุรกิจด้วยการจัดตั้งบริษัทจำกัดบนเว็บไซต์ของเรา

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม