เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"
ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้
คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว
ปรับปรุงล่าสุด 14/10/2567
รูปแบบที่มีให้ Word และ PDF
ขนาด 2 หน้า
ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ
กรอกแบบฟอร์มหนังสือคำขอปรับเงินเดือน หรือหนังสือขอพิจารณาทบทวนค่าตอบแทนการทำงาน คือ หนังสือที่ลูกจ้าง/พนักงาน (เช่น บุคคลที่ทำงานให้กับนายจ้างเพื่อได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง) จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความประสงค์ต่อนายจ้าง (เช่น บุคคลที่ว่าจ้างลูกจ้างให้ทำงานให้กับตน และจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง) เพื่อขอให้นายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างที่จะเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการปรับเงินเดือน/ค่าตอบแทน (เช่น ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงาน หัวหน้างาน ผู้จัดการฝ่ายบุคคล) พิจารณาทบทวนอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทนการทำงาน (เช่น ปรับขึ้นเงินเดือน/ค่าจ้าง) ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ทักษะ ความชำนาญ ฝีมือการทำงาน การศึกษาที่สูงขึ้น หรือหน้าที่ความรับผิดชอบงานที่เพิ่มขึ้นของลูกจ้าง
ในการจัดทำหนังสือคำขอปรับเงินเดือน หรือหนังสือขอพิจารณาทบทวนค่าตอบแทนการทำงาน ผู้จัดทำควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้
ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น
เมื่อผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือครบถ้วนแล้ว ผู้จัดทำควรจัดทำหนังสือฉบับนี้เป็นลายลักษณ์อักษร และให้ลูกจ้าง/พนักงานผู้ร้องขอลงนามในหนังสือฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย โดยอาจจัดทำสำเนาไว้เพื่อการอ้างอิงในอนาคต
ผู้จัดทำควรจัดส่งหนังสือฉบับดังกล่าวให้แก่นายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้าง รวมถึงแนบเอกสาร/หลักฐานอ้างอิง (ถ้ามี) เช่น สำเนาปริญญาบัตรขั้นสูง หนังสือแสดงผลการศึกษา (Transcript) เพื่อให้นายจ้างและ/หรือตัวแทนพิจารณาทบทวนการปรับเงินเดือน/ค่าตอบแทนต่อไป
นายจ้างและลูกจ้างย่อมสามารถกำหนดตกลงอัตราค่าจ้างหรือค่าตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง (เช่น เงินเดือน สิทธิประโยชน์ต่างๆ) กันได้ตามความพึงพอใจระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง อย่างไรก็ดี อัตราค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างจะต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดในแต่ละพื้นที่และในแต่ละอาชีพ
การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าตอบแทนการทำงาน (เช่น เงินเดือน/ค่าจ้าง) ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ในกรณีที่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง (เช่น การปรับขึ้นเงินเดือน/ค่าจ้าง) นายจ้างสามารถดำเนินการได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน อย่างไรก็ดี ในกรณีที่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างหรืออาจทำให้ลูกจ้างเสียประโยชน์ (เช่น การปรับลดเงินเดือน/ค่าจ้าง) นายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเสียก่อน
คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ
ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร
คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป
ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้
คู่มือเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คุณ : การจัดส่งหนังสือ/เอกสารทางกฎหมาย
หนังสือคำขอปรับเงินเดือน - ตัวอย่างแบบฟอร์ม
ประเทศ: ประเทศไทย