สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด เดือนนี้
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด20 ถึง 30 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด เดือนนี้

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 20 ถึง 30 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์คืออะไร

สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ (เช่น บ้าน/อาคารพาณิชย์ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) คือ สัญญาที่ผู้จะขายตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้จะซื้อ และผู้จะซื้อตกลงจะชำระราคาค่าอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้จะขายตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนด


สัญญาจะซื้อจะขายมีกี่ประเภทบ้าง

สัญญาจะซื้อจะขายอาจแบ่งตามประเภทของอสังหาริมทรัพย์ได้ ดังต่อไปนี้

  • สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เช่น คอนโดมิเนียม
  • สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน เช่น ที่ดินว่างเปล่า
  • สัญญาจะซื้อจะขายสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน อาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน คลังสินค้า โรงงาน โดยไม่รวมที่ดิน
  • สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน/อาคารพร้อมที่ดิน


สัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาเช่าซื้อแตกต่างกัน อย่างไร

แม้ สัญญาทั้ง 2 ฉบับจะมีวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

  • ในสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ผู้เช่าซื้อจะเช่าอสังหาริมทรัพย์จากผู้ให้เช่าซื้อ/เจ้าของ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น
  • ในสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาจะซื้อขาย/โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์กันเด็ดขาด โดยไม่มีการเช่าใดๆ

ในกรณีที่คู่สัญญาต้องการจะเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์


จำเป็นต้องทำสัญญา หรือไม่

จำเป็น เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อคู่สัญญา หรือได้วางมัดจำ/ชำระหนี้ไว้บางส่วนแล้ว จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในกรณีผิดสัญญา (เช่น ไม่ยอมชำระเงินส่วนที่เหลือ ไม่ยอมไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์)


การรังวัดที่ดินคืออะไร

การรังวัดที่ดิน คือ การที่เจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินหรือตัวแทนที่มีอำนาจ ดำเนินการตรวจสอบหลักหมุด และกำหนดแนวเขตของที่ดินเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของขนาดและแนวเขตของที่ดิน ณ ปัจจุบันว่าตรงกับขนาดและแนวเขตที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดิน หรือไม่ เนื่องจากอาจมีการขยับ/เปลี่ยนแปลงหลักหมุด/แนวเขตของที่ดินโดยธรรมชาติอันทำให้มีขนาดพื้นที่และ/หรือแนวเขตที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง และอาจทำให้คู่สัญญาได้รับความเสียหายได้

คู่สัญญาอาจตกลงให้มีการรังวัดที่ดินใหม่ก่อนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์


จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำสัญญา

คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการใดๆ ก่อนตามกฎหมายในการจัดทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์

อย่างไรก็ดี ก่อนการจัดทำสัญญา ผู้จะซื้อควรตรวจสอบ/มีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • ผู้จะขายเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในอสังหาริมทรัพย์
  • อสังหาริมทรัพย์ตกอยู่ภายใต้ภาระผูกพันตามสัญญาและ/หรือตามกฎหมาย หรือไม่ อย่างไร (เช่น มีผู้เช่า/ครอบครองอยู่ ติดจำนอง มีภาระจำยอม)
  • ในกรณีสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน หรือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คู่สัญญาอาจตกลงให้มีการรังวัดที่ดินใหม่เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของหลักหมุดและแนวเขตของที่ดิน

คู่สัญญาสามารถตรวจสอบกรรมสิทธิ์/ภาระผูกพันได้จากเอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียน (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด)


สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญา ได้แก่

  • ผู้จะขาย (เช่น เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้พัฒนาโครงการหมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้จะขาย (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมาย (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายขาย) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในฐานะผู้จะขาย
  • ผู้จะซื้อ (เช่น ผู้ที่ต้องการจะซื้ออสังหาริมทรัพย์) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้จะซื้อ (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมาย (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อที่ดิน/อาคาร) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในฐานะผู้จะซื้อ
  • นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) ในกรณีคู่สัญญาแต่งตั้ง/ว่าจ้างนายหน้าในการจัดหา/ขายอสังหาริมทรัพย์

ในกรณีคู่สัญญาแต่งตั้ง/ว่าจ้างนายหน้าในการจัดหา/ขายอสังหาริมทรัพย์ คู่สัญญาฝ่ายนั้นอาจจัดทำสัญญานายหน้าอสังหาริมทรัพย์กับนายหน้าของตน


จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์แล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์เป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทน รวมถึง พยาน (ถ้ามี) ลงนามให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • อาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • ขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • แนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญา
  • ส่งมอบ ตรวจรับ และรับมอบซึ่งสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์ซื้อขาย
  • จดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์กับสำนักงานที่ดิน

คู่สัญญาควรจัดทำบันทึกการตรวจรับสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายในวันที่ตรวจรับ-รับมอบเพื่อเป็นหลักฐาน


จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกัน เช่น

  • เอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนที่กรมที่ดินออกให้ (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด)
  • อสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อขาย (เช่น ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร แผนผังอาคาร/โครงการ แบบบ้าน รายการวัสดุ/Bill of Quantity: BoQ)
  • การชำระราคาอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) (เช่น ตารางการผ่อนชำระ)


สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์จำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

จำเป็น กฎหมายกำหนดให้การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และนิติกรรมการซื้อขายกับพนักงานเจ้าหน้าที่ (เช่น สำนักงานที่ดิน) จึงจะมีผลสมบูรณ์


สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์จำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์จำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญา (เช่น คู่สัญญา)


มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์

คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และนิติกรรมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เช่น

  • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน
  • อากรแสตมป์ หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ แล้วแต่กรณี
  • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของผู้ขาย


ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญา ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • อสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อขาย เช่น ประเภท ลักษณะ ขนาดพื้นที่ แบบบ้าน ชื่อโครงการ สถานที่ตั้ง
  • การดำเนินการทางทะเบียน เช่น วันที่จะไปจดทะเบียน
  • ค่าตอบแทน เช่น ราคาค่าอสังหาริมทรัพย์ กำหนดชำระ วิธีการชำระเงิน และเงินมัดจำ (ถ้ามี)
  • การส่งมอบ เช่น กำหนดส่งมอบ การตรวจรับ-รับมอบ
  • ข้อตกลงอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น การรังวัดที่ดิน การรับประกันความชำรุดบกพร่อง ภาระผูกพันตามสัญญาและ/หรือตามกฎหมาย


กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์มี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม