ข้อตกลงการเข้าพัก กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

ข้อตกลงการเข้าพัก

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 04/09/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด16 ถึง 24 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 04/09/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 16 ถึง 24 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

ข้อตกลงการเข้าพักหรือข้อตกลงการเข้าพำนัก เป็นสัญญาระหว่างผู้อนุญาตให้เข้าพักฝ่ายหนึ่งซึ่งอาจเป็นผู้ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่เข้าพักนั้น (เช่น เจ้าของโรงแรมหรือรีสอร์ท) หรืออาจเป็นผู้ได้รับสิทธิหรือได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการงานสถานที่เข้าพักนั้น (เช่น ผู้จัดการโรงแรมหรือรีสอร์ท) กับผู้เข้าพักหรือผู้เข้าพำนักเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งก็คือบุคคลที่จะเข้าพักอาศัยหรือเข้าใช้สถานที่ดังกล่าวตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกัน

ข้อตกลงการเข้าพักหรือข้อตกลงการเข้าพำนักเหมาะสำหรับการพักอาศัยที่มีระยะเวลาการพักอาศัยที่น้อยกว่า 1 เดือน เช่น รีสอร์ทหรือโรงแรม เนื่องจากมีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าพักอาศัยอย่างละเอียด ข้อห้าม ข้อจำกัดการเข้าพักในแต่ละกรณีโดยเฉพาะ ซึ่งในกรณีที่มีระยะเวลาการพักอาศัยที่เกินกว่า 1 เดือน ผู้จัดทำควรเลือกใช้สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัยซึ่งมีข้อสัญญาข้อกำหนดที่เหมาะสมกับการพักอาศัยระยะยาวมากกว่า

การทำข้อตกลงการเข้าพักหรือข้อตกลงการเข้าพำนักนั้นจะเป็นประโยชน์แก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย เช่น ทำให้ผู้เข้าพักหรือผู้เข้าพำนักสามารถได้รับทราบถึงสิทธิ ข้อจำกัด เงื่อนไขการใช้สถานที่พักอย่างถูกต้องและครบถ้วน ทำให้ใช้ประโยชน์จากการเข้าพักได้อย่างเต็มที่ และหลีกเลี่ยงการใช้สถานที่พักที่อาจขัดต่อข้อตกลงดังกล่าว โดยในขณะเดียวกันผู้อนุญาตให้เข้าพัก ก็ลดความเสี่ยงที่ผู้เข้าพักจะกระทำการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถานที่พักหรือต่อตัวผู้อนุญาตให้เข้าพักเองด้วย นอกจากนี้ ในกรณีที่มีข้อพิพาทกันระหว่างคู่สัญญา ข้อตกลงดังกล่าวก็ยังสามารถใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิงหน้าที่และความรับผิดของคู่สัญญาฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบได้อีกด้วย

 

การนำไปใช้

ในการจัดทำข้อตกลงการเข้าพักหรือข้อตกลงการเข้าพำนักนั้น ผู้จัดทำควรพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • กำหนด รายละเอียดขอบเขตของสถานที่พักให้ชัดเจน เช่น ประเภทและลักษณะของที่พัก สถานที่ตั้ง อาคาร ชั้นใด ขนาดพื้นที่ใช้สอย
  • กำหนด รายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการเข้าพัก เช่น การเพิ่มและ/หรือลดวัน-เวลาเข้าพักและวัน-เวลาที่คืนสถานที่พักนั้น รวมถึงการไม่เข้าพักตามวันที่กำหนด (No-Show) และการยกเลิกการเข้าพัก (Cancellation)
  • ระบุ รายละเอียดของผู้เข้าพักและผู้ติดตาม เช่น ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ ที่อยู่ (ในกรณีที่จัดทำข้อตกลงการเข้าพักแบบเฉพาะเจาะจงซึ่งระบุตัวตนผู้เข้าพัก)
  • กำหนด ลักษณะการใช้รวมถึงข้อจำกัดและ/หรือข้อห้ามการใช้สถานที่พักดังกล่าว เช่น การนำสัตว์เลี้ยงเข้าสถานที่พัก การสูบบุหรี่ การก่อเสียงรบกวน การประกอบอาหาร
  • กำหนด อัตราค่าที่พัก กำหนดระยะเวลาการชำระค่าที่พัก วิธีการชำระค่าที่พัก การวางหลักประกันต่างๆ (ถ้ามี)
  • ระบุ รายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการที่ผู้อนุญาตให้เข้าพักจัดไว้ให้แก่ผู้เข้าพัก รวมถึงอัตราค่าบริการนั้นด้วย ในกรณีที่มีการคิดค่าบริการนั้นๆ เช่น ค่าใช้สาธารณูปโภค การรับฝากสัมภาระและของมีค่า บริการที่จอดรถ อาหารและเครื่องดื่ม บริการซักรีด บริการนวดสปา การนำเที่ยว รถ-เรือรับส่ง
  • กำหนดอัตราค่าปรับในกรณีต่างๆ เช่น การคืนสถานที่พักล่าช้า การทำทรัพย์สินภายในและ/หรือสถานที่พักเสียหาย การปฏิบัติฝ่าฝืนข้อกำหนด/นโยบายการใช้สถานที่พัก
  • ข้อตกลงอื่นๆ เช่น การเข้าถึงที่พักของผู้อนุญาตให้เข้าพัก การแจ้งปัญหาสถานที่พัก การทำประกันภัยในสถานที่พักและทรัพย์สินภายในสถานที่พักนั้น เป็นต้น
  • จัดทำข้อตกลงการเข้าพัก โดยอาจเลือกจัดทำข้อตกลงการเข้าพักได้ 2 รูปแบบ คือ

(ก) แบบทั่วไป ซึ่งไม่ระบุตัวตนผู้เข้าพัก โดยอาจใช้สำหรับการจัดไว้เผยแพร่ในบริเวณสถานที่พักดังกล่าวที่สามารถมองเห็นได้ทั่วไปและ/หรือจัดเผยแพร่ให้เข้าถึงได้ที่หน้าเว็บไซต์ของผู้อนุญาตให้เข้าพัก (เช่น หน้ายืนยันการจองที่พัก) เพื่อให้ผู้เข้าพักได้ศึกษารายละเอียด รับทราบ และยอมรับกับข้อตกลงการเข้าพักดังกล่าวทั้งก่อนและในขณะเข้าพัก

(ข) แบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งระบุตัวตนผู้เข้าพัก โดยจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร และจัดให้ผู้เข้าพักลงนามตกลงและรับทราบข้อตกลงการเข้าพักดังกล่าวก่อนการเข้าพัก ซึ่งคู่สัญญาอาจจัดทำข้อตกลงเป็นสองฉบับหรือมากกว่า เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายยึดถือไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งฉบับ อนึ่ง ผู้อนุญาตให้เข้าพักอาจลงนามด้วยก็ได้

  • ผู้อนุญาตให้เข้าพักควรขอเอกสารที่ระบุตัวตนของผู้เข้าพักทุกคนเก็บไว้เพื่อให้อ้างอิงด้วย เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ในกรณีที่สถานที่พักดังกล่าวเป็น "โรงแรม" ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติโรงแรมและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติโรงแรม กฎกระทรวง และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้อนุญาตให้เข้าพักจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบอื่นๆ เพิ่มเติมทั้งต่อผู้เข้าพักและต่อหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบตามที่กำหนดในกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวด้วย เช่น ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม การจัดทำทะเบียนผู้เข้าพัก เป็นต้น และ
  • กฎหมายการฝากทรัพย์สำหรับโรงแรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

 

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม