เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"
ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้
คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว
ปรับปรุงล่าสุด 16/08/2567
รูปแบบที่มีให้ Word และ PDF
ขนาด 2 หน้า
ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ
กรอกแบบฟอร์มหนังสือร้องเรียนเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการ หรือหนังสืออุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการ คือ หนังสือที่ผู้ร้อง (เช่น ผู้ร้องเรียน หรือผู้อุทธรณ์) จัดทำขึ้นโดยฝ่ายเดียวเพื่อแสดงเจตนาหรือแสดงความประสงค์ที่จะร้องเรียนการปฏิบัติงาน หรืออุทธรณ์คำสั่งต่างๆ ของหน่วยงานของรัฐ (เช่น หน่วยงานราชการ กระทรวง/กรม) เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐนั้นครอบครองหรือควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารของราชการนั้นอยู่ ต่อสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ควบคุม กำกับดูแลหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (เช่น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ) โดยการร้องเรียนการปฏิบัติงาน หรือการอุทธรณ์คำสั่งต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการนั้น อาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามผู้ร้องขอแต่ละราย เช่น
หนังสือร้องเรียน/อุทธรณ์เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการฉบับนี้ ถูกร่างขึ้นสำหรับการร้องเรียน หรืออุทธรณ์คำสั่งหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการต่อสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวข้างต้นโดยเฉพาะ ในกรณีที่
การนำไปใช้
ในการจัดทำหนังสือร้องเรียน/อุทธรณ์เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการฉบับนี้ ผู้จัดทำ ควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้
ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น
ผู้จัดทำควรจัดทำหนังสือดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้ร้องหรือตัวแทนของผู้ร้อง โดยอาจจัดทำสำเนาไว้เพื่อการอ้างอิงในอนาคต
ผู้จัดทำควรแนบเอกสารแสดงตัวตนของผู้ร้องที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องประกอบหนังสือดังกล่าว เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือมอบอำนาจและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน) หรือหนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)
ผู้จัดทำควรจัดส่งหนังสือดังกล่าวพร้อมแนบเอกสาร/หลักฐาน (ถ้ามี) ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการตามวิธี สถานที่ และช่องทางการติดต่อที่จัดให้มี เพื่อสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการสามารถนำไปใช้พิจารณาอ้างอิงและดำเนินการตามคำขอต่อไป (เช่น ดำเนินการพิจารณาข้อร้องเรียนหรือการอุทธรณ์คำสั่ง)
ข้อพิจารณา
โดยทั่วไปตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการให้สาธารณะชนรับทราบโดยทั่วไป ตามลำดับขั้นของข้อมูล และวิธีการ/ช่องทางที่กำหนด เช่น การประกาศและจัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารของราชการลงในราชกิจจานุเบกษา หรือจัดข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้ตามวิธีการ ช่องทาง และสถานที่ที่กำหนด
อย่างไรก็ดี ในบางกรณีหน่วยงานของรัฐอาจมีดุลพินิจไม่เปิดเผยข้อมูลบางประการได้ เช่น ข้อมูลที่เปิดเผยแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ การบังคับใช้กฎหมาย ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐ อันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด การรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร ในกรณีเช่นนี้ ผู้ใช้งานอาจจัดทำหนังสือฉบับนี้เพื่ออุทธรณ์คำสั่งการใช้ดุลพินิจดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อให้พิจารณา ทบทวนคำสั่งดังกล่าวอีกครั้ง และในบางกรณีหน่วยงานของรัฐต้องห้ามเปิดเผยข้อมูลโดยเด็ดขาด เช่น ข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ความช่วยเหลือจากทนายความ
คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ
ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร
แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร
คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป
ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้
คู่มือเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คุณ : การจัดส่งหนังสือ/เอกสารทางกฎหมาย
ประเทศ: ประเทศไทย