รายงานการประชุมนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

รายงานการประชุมนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 15/10/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด5 ถึง 8 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 15/10/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 5 ถึง 8 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

รายงานการประชุมหรือบันทึกการประชุมนิติบุคคลหมู่บ้าน/อาคารชุด คือ เอกสารที่บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเท็จจริง การดำเนินการ ความเห็น การปรึกษาหารือ และการลงมติของผู้ที่เข้าร่วมประชุมในประเด็นวาระต่างๆ ของที่ประชุมดังกล่าว โดยที่การประชุมอาจเป็นการประชุม เช่น

  • การประชุมเจ้าของร่วมอาคารชุด (คอนโดมีเนียม)
  • การประชุมใหญ่สมาชิกหมู่บ้านจัดสรร
  • การประชุมคณะกรรมการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด
  • การประชุมคณะกรรมการบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

ทั้งนี้ การจัดทำรายงานการประชุมหรือบันทึกการประชุมนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุดนั้น ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ ดังต่อไปนี้

  • เพื่อเป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษรว่าได้มีการจัดการประชุมตามรายละเอียดที่ปรากฏในรายงานการประชุมหรือบันทึกการประชุม
  • เพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น ในกรณีการประชุมใหญ่เจ้าของร่วม การประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรหรืออาคารชุด
  • เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย (เช่น เจ้าของร่วม ผู้อยู่อาศัย คณะกรรมการ ผู้เข้าร่วมประชุม ผู้มีส่วนได้เสีย) ในการประชุมดังกล่าว

การนำไปใช้

ในการจัดทำรายงานการประชุมหรือบันทึกการประชุมนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด ผู้จัดทำควรพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุ ข้อเท็จจริงการดำเนินการประชุม เช่น ประเภทการประชุม สถานที่จัดการประชุม เวลาการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม รวมถึงผู้บันทึกรายงานการประชุม และเนื้อหาของการประชุม เช่น ความเห็น ข้อปรึกษาหารือ การรายงานข้อเท็จจริงเพื่อทราบ และการลงคะแนนเสียงและลงมติ รับรอง หรืออนุมัติในเรื่องหรือวาระต่างๆ ของผู้เข้าร่วมประชุม

ผู้จัดทำควรจัดทำรายงานการประชุมหรือบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมดังกล่าวนั้น และอาจลงนามผู้ปฏิบัติหน้าที่บันทึกรายงานการประชุม (เช่น เลขาธิการ) ด้วยก็ได้ โดยอาจจัดทำสำเนาด้วยหรือไม่ก็ได้

ผู้จัดทำควรแนบเอกสารประกอบรายงานการประชุมหรือบันทึกการประชุม (ถ้ามี) ในกรณีที่รายละเอียดเกี่ยวกับการประชุมมีจำนวนมาก

ผู้จัดทำควรจัดเก็บรายงานการประชุมหรือบันทึกการประชุมไว้อ้างอิงตามระเบียบหรือข้อบังคับของหน่วยงานที่จัดการประชุมนั้น เช่น สำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรืออาคารชุดนั้น

ข้อควรพิจารณา

ผู้จัดทำรายงานการประชุมหรือบันทึกการประชุม ควรคำนึงว่า การประชุมแต่ละประเภทอาจไม่มีหรือมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดเกี่ยวกับวิธีการ รูปแบบ ระยะเวลา และการดำเนินการประชุมที่แตกต่างกันไป รวมถึง การส่งคำบอกกล่าวนัดประชุม เช่น ในกรณีการประชุมใหญ่เจ้าของร่วมอาคารชุด การประชุมคณะกรรมการอาคารชุด การประชุมใหญ่สมาชิกหมู่บ้านจัดสรร การประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร กฎหมายกำหนดให้อาคารชุด/หมู่บ้านจัดสรรจะต้องจัดให้มีการประชุมภายในระยะเวลาและ/หรือเงื่อนไขที่กำหนด

อนึ่ง ผู้จัดทำรายงานการประชุมหรือบันทึกการประชุมจะต้องบันทึกข้อความที่ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในที่ประชุม เนื่องจาก การบันทึกรายละเอียดที่คลาดเคลื่อน หรือเป็นเท็จนั้น อาจทำให้ผู้บันทึกรายงานการประชุมมีความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาด้วย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม