พินัยกรรม กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

พินัยกรรม

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 04/11/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด8 ถึง 11 หน้า
4.7 - 63 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 04/11/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 8 ถึง 11 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.7 - 63 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

พินัยกรรมคืออะไร

พินัยกรรม เป็นนิติกรรมที่จัดทำโดยผู้ทำพินัยกรรมเพื่อแสดงเจตจำนงสุดท้ายของผู้ทำพินัยกรรม โดยกำหนดความต้องการ/ความประสงค์เกี่ยวกับการจัดการในเรื่องต่างๆ เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย เช่น

  • การจัดการศพ/พิธีศพ
  • การจัดการทรัพย์สิน/มรดก
  • การเลี้ยงดูบุตร

พินัยกรรมมีกี่ประเภทและมีลักษณะใดบ้าง

พินัยกรรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทตามกฎหมาย ซึ่งมีวิธีการและเงื่อนไขในการทำพินัยกรรมที่แตกกัน ดังต่อไปนี้

  • พินัยกรรมแบบธรรมดา ต้องทำเป็นหนังสือ ลงวันที่ทำพินัยกรรม ลงชื่อผู้ทำพินัยกรรม และต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน
  • พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ต้องทำเป็นหนังสือซึ่งผู้ทำพินัยกรรมเขียนข้อความด้วยลายมือเองทั้งหมด ลงวันที่ทำพินัยกรรม และลงชื่อผู้ทำพินัยกรรม
  • พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ต้องไปแจ้งข้อความในพินัยกรรมต่อผู้อำนวยการเขต/นายอำเภอ และพยานอีกอย่างน้อย 2 คน เพื่อให้เจ้าหน้าที่จดบันทึกข้อความและดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด
  • พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมและนำพินัยกรรมใส่ซองแล้วปิดผนึก และลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้นอีกครั้ง และนำซองนั้นไปแสดงต่อผู้อำนวยการเขต/นายอำเภอ พร้อมกับพยานอีกอย่างน้อย 2 คน
  • พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา ต้องแสดงความประสงค์ต่อหน้าพยาน 2 คนพร้อมกัน โดยจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมอยู่ในสถานการณ์พิเศษตามที่กฎหมายกำหนด เท่านั้น (เช่น อยู่ในอันตรายใกล้ตาย มีโรคระบาด สงคราม)

พินัยกรรมที่ให้บริการฉบับนี้เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา เท่านั้น อย่างไรก็ดี พินัยกรรมแบบธรรมดาอาจนำไปใช้ประกอบการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง และพินัยกรรมแบบเอกสารลับในลำดับต่อไปได้ ทั้งนี้ ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด (เช่น แจ้งความประสงค์และบันทึกข้อความต่อผู้อำนวยการเขต/นายอำเภอ)


พินัยกรรมประเภทที่นิยมใช้

พินัยกรรมแบบธรรมดามักเป็นที่นิยมในการนำมาใช้ เนื่องจาก

  • สามารถจัดทำพินัยกรรมได้ด้วยตนเอง จึงมีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ในทันทีที่ประสงค์จะทำพินัยกรรม
  • สามารถจัดทำพินัยกรรมได้ด้วยการพิมพ์เอกสารจากคอมพิวเตอร์ (Print) ได้ซึ่งมีความชัดเจนและสะดวกกว่าพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับที่ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับลายมือของผู้ทำพินัยกรรม (เช่น การอ่านลายมือไม่ออก การเขียนข้อความไม่ชัดเจน การเขียนข้อความจำนวนมากด้วยลายมือ)
  • ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับสถานการณ์/เหตุการพิเศษในการจัดทำพินัยกรรม (เช่น อยู่ในอันตรายใกล้ตาย มีโรคระบาด สงคราม) จึงสามารถจัดทำได้ในทันทีที่ประสงค์จะทำพินัยกรรม

พินัยกรรมและพินัยกรรมชีวิต (Living Will) แตกต่างกัน อย่างไร

เอกสารทั้ง 2 ฉบับมีความแตกต่างกัน โดยที่

พินัยกรรมเป็นหนังสือที่แสดงเจตนา/กำหนดความต้องการของผู้ทำพินัยกรรมในเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์หลังจากผู้ทำพินัยกรรมตายเอาไว้ล่วงหน้า เช่น

  • การจัดการทรัพย์สิน/มรดก
  • การจัดการศพ/พิธีศพ

พินัยกรรมชีวิต (Living Will) เป็นหนังสือที่แสดงเจตนา/กำหนดความต้องการของผู้ทำพินัยกรรมเกี่ยวการรับการรักษา/บริการสาธารณสุขในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่เอาไว้ล่วงหน้า เพื่อให้แพทย์ผู้ทำการรักษาทราบถึงความประสงค์/ความต้องการในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมเจ็บป่วยจนไม่ได้สติ ไม่สามารถตอบสนอง/สื่อสารได้ เช่น

  • การปฏิเสธการรักษาเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต
  • การปฏิเสธการรักษาเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย

จำเป็นต้องทำพินัยกรรม หรือไม่

จำเป็น ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมต้องการจัดการทรัพย์สินมรดก (เช่น การแบ่งทรัพย์สิน) และเรื่องอื่นๆ (เช่น การจัดการศพ การตั้งผู้ปกครองบุตรที่ยังเป็นผู้เยาว์) หลังความตายให้เป็นไปตามความประสงค์/ความต้องการของผู้ทำพินัยกรรมโดยเฉพาะซึ่งแตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนด

ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทายาทจะจัดการทรัพย์สินมรดกและเรื่องอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด (เช่น การแบ่งมรดกให้ทายาทโดยธรรมตามลำดับและสัดส่วน) หรือตามที่ทายาทเห็นสมควรในกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนด (เช่น การจัดการศพตามพิธีกรรมทางศาสนา)


มรดกคืออะไร

มรดกของผู้ทำพินัยกรรม คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หนี้สินต่างๆ ของผู้ทำพินัยกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ณ ขณะที่ทำพินัยกรรมหรือที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น

  • ทรัพย์สิน เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เงินสด เงินในบัญชีธนาคาร ตราสารหนี้/ตราสารทุนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ทำพินัยกรรม
  • สิทธิ เช่น สิทธิในหนี้เงินกู้ในฐานะเจ้าหนี้ สิทธิในค่าสินไหมทดแทน สิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายและ/หรือตามสัญญา
  • หน้าที่/ความรับผิด เช่น หนี้สิน

ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดที่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ทำพินัยกรรมโดยแท้ซึ่งจะสิ้นสุดลงเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย (เช่น สิทธิการเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการได้รับบรรจุเข้าทำงานกับนายจ้างเอกชน/ราชการ)

จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำพินัยกรรม

ก่อนการจัดทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีคุณสมบัติและความสามารถในการทำพินัยกรรมตามกฎหมาย ในขณะที่ทำพินัยกรรม เช่น

  • ต้องมีอายุอย่างน้อย 15 ปี บริบูรณ์
  • ต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
  • ต้องไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนซึ่งไร้ความสามารถ
  • ต้องมีสติสัมปชัญญะดี
  • อยู่ในสภาวะที่มีความสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระและมีวิจารณญาณในการกำหนดข้อความในพินัยกรรม (เช่น ไม่ได้ถูกข่มขู่/หลอกลวงให้ทำพินัยกรรม)

พินัยกรรมเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำพินัยกรรม ได้แก่

ผู้ทำพินัยกรรม ซึ่งเป็นบุคคลที่จัดทำและลงนามในพินัยกรรม และต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติและความสามารถในการทำพินัยกรรมตามกฎหมาย ในขณะที่ทำพินัยกรรม

ผู้รับพินัยกรรม คือ บุคคลที่ได้รับทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์ใดๆ ที่ระบุไว้ในพินัยกรรม โดยที่ผู้รับพินัยกรรมอาจมีลักษณะ เช่น

  • อาจเป็นบุคคลธรรมดา (เช่น บุตร ญาติ) หรือนิติบุคคลก็ได้ (เช่น ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือมูลนิธิ)
  • ต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับพยาน
  • ต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับผู้เขียน/ผู้พิมพ์พินัยกรรม (ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้เขียน/พิมพ์พินัยกรรมเอง)

ผู้จัดการมรดก คือ บุคคลที่ผู้ทำพินัยกรรมกำหนดให้มีหน้าที่บริหารจัดการมรดกตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม โดยที่ ผู้จัดการมรดกต้องมีลักษณะ เช่น

  • ต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ
  • ต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
  • ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

ผู้จัดการมรดกจะต้องไม่กระทำการใดๆ หรือทำนิติกรรมใดๆ ในนามของกองมรดกของผู้ทำพินัยกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ หรือมีส่วนได้เสียกับตัวผู้จัดการมรดกเอง (Conflict of Interest) เว้นแต่ ในพินัยกรรมระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าให้ผู้จัดการมรดกจัดการมรดกไปในลักษณะดังกล่าว


บุคคลใดไม่สามารถลงนามและ/หรือเข้าทำพินัยกรรม

บุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติและความสามารถในการทำพินัยกรรมตามที่กฎหมายกำหนดย่อมไม่สามารถลงนามและ/หรือทำพินัยกรรมได้ เช่น

  • ต้องมีอายุอย่างน้อย 15 ปี บริบูรณ์
  • ต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
  • ต้องไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนซึ่งไร้ความสามารถ
  • ต้องมีสติสัมปชัญญะดี
  • อยู่ในสภาวะที่มีความสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระและมีวิจารณญาณในการกำหนดข้อความในพินัยกรรม (เช่น ไม่ได้ถูกข่มขู่/หลอกลวงให้ทำพินัยกรรม)

ควรกำหนดระยะเวลาของพินัยกรรม อย่างไร

พินัยกรรมไม่มีการกำหนดระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ โดยพินัยกรรมจะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในพินัยกรรมแล้ว

ผู้ทำพินัยกรรมควรจัดทำพินัยกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามในพินัยกรรมดังกล่าวให้เรียบร้อย รวมถึงให้พยานอย่างน้อย 2 คน ลงนามด้วย

เมื่อจัดทำและลงนามในพินัยกรรมเรียบร้อยแล้ว ผู้ทำพินัยกรรมอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ขอเอกสารแสดงตัวตนของพยานที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบพินัยกรรม (เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง สำเนาทะเบียนบ้าน)
  • อาจจัดทำคู่ฉบับของพินัยกรรมหลายฉบับให้ผู้เกี่ยวข้องเก็บรักษาเพื่อการอ้างอิงร่วมกัน
  • แนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพินัยกรรม

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบพินัยกรรมด้วย หรือไม่

ผู้ทำพินัยกรรมอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพินัยกรรม เช่น

  • เอกสารแสดงตัวตนของพยานที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง (เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง สำเนาทะเบียนบ้าน)
  • รายการทรัพย์สินมรดกที่อ้างอิงถึงในพินัยกรรม
  • เอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนของทรัพย์สินที่อ้างอิงถึงในพินัยกรรม (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ตราสาร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ สมุดคู่ฝากบัญชีธนาคาร)

พินัยกรรมจำเป็นจะต้องได้การรับรองลายมือชื่อหรือรับรองเอกสารจากหน่วยงานของรัฐหรือทนายความที่ขึ้นทะเบียน (Notary Public) หรือไม่

ไม่จำเป็น พินัยกรรมแบบธรรมดาไม่จำเป็นจะต้องได้การรับรองลายมือชื่อหรือรับรองเอกสารจากหน่วยงานของรัฐหรือทนายความที่ขึ้นทะเบียน (Notary Public)

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมต้องการให้พินัยกรรมมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นและเพื่อป้องกันข้อโต้แย้ง/ข้อพิพาทเกี่ยวกับพินัยกรรม (เช่น การกล่าวอ้างพินัยกรรมปลอม การปลอมแปลงข้อความในพินัยกรรม) ผู้ทำพินัยกรรมอาจพิจารณา

  • นำพินัยกรรมไปดำเนินการรับรองเอกสารกับทนายความที่ขึ้นทะเบียน (Notary Public)
  • นำพินัยกรรมไปใช้ประกอบการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง และพินัยกรรมแบบเอกสารลับซึ่งจะได้รับการรับรองเอกสารจากหน่วยงานของรัฐ (เช่น ผู้อำนวยการเขต/นายอำเภอ)

พินัยกรรมจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

ไม่จำเป็น พินัยกรรมแบบธรรมดาไม่จำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมจะนำพินัยกรรมแบบธรรมดาไปใช้ประกอบการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง และพินัยกรรมแบบเอกสารลับในลำดับต่อไป ผู้ทำพินัยกรรมจำเป็นต้องไปดำเนินการกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนด (เช่น แจ้งความประสงค์และบันทึกข้อความต่อผู้อำนวยการเขต/นายอำเภอ)

พินัยกรรมจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

จำเป็น ในการทำพินัยกรรมแบบธรรมดาจำเป็นต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน และพยานจะต้องมีคุณสมบัติ/ลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ห้ามเป็นผู้รับพินัยกรรม/ผู้รับมรดกในพินัยกรรม
  • ต้องบรรลุนิติภาวะ ณ วันที่ลงนามเป็นพยาน
  • ต้องไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนซึ่งไร้ความสามารถ
  • ต้องไม่เป็นคนหูหนวก เป็นใบ้ หรือตาบอดทั้ง 2 ข้าง

ข้อสำคัญ: พยานเป็นสาระสำคัญของการทำพินัยกรรมแบบธรรมดา ในกรณีที่ไม่มีพยานลงนามอาจทำให้พินัยกรรมไม่สมบูรณ์และไม่สามารถบังคับใช้ได้


ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในพินัยกรรม

ผู้ทำพินัยกรรมควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในพินัยกรรม ดังต่อไปนี้

  • ผู้ทำพินัยกรรม เช่น ชื่อ ที่อยู่ อายุเพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • พยาน (อย่างน้อย 2 คน) เช่น ชื่อ ที่อยู่
  • วันที่ทำพินัยกรรม
  • การจัดการทรัพย์สินมรดก เช่น ผู้จัดการมรดก วิธีการจัดการมรดก การแบ่งทรัพย์สิน การปลดหนี้
  • ความประสงค์ในเรื่องอื่นๆ เช่น การจัดการศพ การตั้งผู้ปกครองบุตร การจัดตั้งมูลนิธิ

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับพินัยกรรม

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำพินัยกรรมมี ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม